Home คดีอาญา นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง

นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง

236
0

นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง

ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง

ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง มาตรา ๔๒๕ “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่ง ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”

เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของ ลูกจ้าง มี ๔ ประการ คือ

๑. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะเลือกลูกจ้างไม่ดี จึงมีการก่อให้เกิดความ เสียหายขึ้น

๒. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะควบคุมดูแลลูกจ้างไม่ดี ปล่อยให้เขาไป ทำละเมิดขึ้น ไม่ดูแลให้ดี ไม่ว่ากล่าวให้ดี

๓. นายจ้างได้รับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง เมื่อได้รับ ประโยชน์ก็ต้องได้รับผลเสียอันเกิดจากการกระทำของลูกจ้างด้วย

๔. ลูกจ้างเป็นผู้ทำการงานนั้น ก็เสมือนหนึ่งนายจ้างเป็นผู้ทำเอง เปรียบเทียบได้ว่าลูกจ้างเป็นแขนขาให้นายจ้างเมื่อไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้า มีผล เท่ากับตัวนายจ้างเป็นผู้กระทำการงานนั้นเอง เพราะฉะนั้นนายจ้างจึงสมควรที่ จะต้องร่วมรับผิดด้วย

(ฎ.๔๘๐๗/๒๕๕๘) เมื่อลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้วเป็นละเมิด นายจ้างจึง ต้องรับผลนั้นด้วย โดยต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างตามมาตรา ๒๙๑ แต่นายจ้างก็ มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างได้ในภายหลังตาม มาตรา ๒๙๖ และ ๔๒๖ ผู้เสียหายที่ จะฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างรับผิดตามมาตรา ๔๒๕ จะต้องกล่าวว่า ผู้ทำ ละเมิดเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จะ อาศัยคำให้การของจำเลยที่รับว่าผู้ทำละเมิดเป็นลูกจ้างไม่ได้

 

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935