สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา “เมาแล้วขับ”ประกันคุ้มครองอย่างไร เชิญอ่านได้เลยครับ

“เมาแล้วขับ” เป็นสาเหตุหลักๆ ของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งมีอัตราสูงในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ และ สงกรานต์ ที่มักจะมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์นั้นมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้สติสัมปชัญญะลดลง ความสามารถในการควบคุมและขับขี่รถยนต์ก็ลดลงเช่นกัน แล้วแบบไหนหล่ะที่เรียกว่าเมา โดยทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าหาก ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมา ยิ่งถ้ายังฝืนมาขับรถด้วยแล้ว จะถือว่าทำผิดฐานเมาแล้วขับ ต้องรับโทษและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว เราต้องมาดูกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วถ้าเกิดจากการดื่มสุรา เมาแล้วขับ บ.ประกันภัยยังจะได้รับความคุ้มครองจากประกันรถภาคสมัครใจ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯหรือไม่

ผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยภาคสมัครใจที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แล้วเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ทั้งในส่วนความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย และในส่วนของความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ทั้งนี้ในส่วนความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน และไปเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายไปจากผู้ขับขี่ในภายหลัง

ส่วนของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ยังคงให้ความคุ้มครอง ไม่ว่าคุณจะเมาแล้วขับ ไม่มีใบขับขี่ หรือ ทำผิดกฎจารจรอื่นๆ ก็ตาม และก่อนขับรถทุกทุกครั้ง คุณต้องเช็คให้ดีว่า พ.ร.บ. รถของคุณได้ต่ออายุการใช้งานแล้ว

อีกทั้ง หากคุณดื่มสุรา หรือของมึนเมา ไม่ว่าจะดื่มน้อย หรือมาก ก็ไม่ควรใช้รถ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวเองแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนให้คนที่ใช้รถ ใช้ถนน ร่วมกับคุณอีกด้วย

การดื่มเหล้าปริมาณ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับเท่าไรหรือสังเกตได้หรือไม่ โดยค่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ที่เกิดขึ้นจากการดื่ม เทียบเคียงได้ดังนี้

แค่ดื่มเบียร์ 1 กระป๋อง = แอลกอฮอล์ประมาณ 330 มิลลิกรัม แล้ว

ซึ่งตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ได้ระบุห้าม มิให้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือของมึนเมาอื่นๆ และมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้น กับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2550 ในส่วนของอัตราโทษมีตั้งแต่ปรับหรือจำคุก โดยข้อกล่าวหามีดังนี้

เมาแล้วขับ(อาจจะยังไม่มีผู้อื่นได้รับอันตราย)

เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ

เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ท้ายที่สุดเมาไม่ขับ ดีที่สุด ครับ…

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935