สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา “เมาแล้วขับ”ศาลจะพิจารณาลงโทษอย่างไร เชิญอ่านได้เลยครับ

สืบเนื่องจากบทความเรื่อง… “เมาแล้วขับ”บริษัทประกันจะคุ้มครองหรือไม่อย่างไร…โดยผู้ขับขี่ทั่วไป ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนผู้ขับขี่ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวทั้งผู้ดื่มและขับขี่, ผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่ประเภทอื่น ๆ ที่ใช้แทนกันไม่ได้ และผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่หรือถูกระหว่างพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ถ้าเป่าแล้วมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน

สำหรับค่าปรับเมาแล้วขับ สามารถแบ่งตามข้อหาได้ดังนี้

เมาแล้วขับมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ และสามารถยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน

เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่

เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่

เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งเพิกถอนใบขับขี่

ในคดีเมาแล้วขับเป็นคดีอาญาอย่างหนึ่งนั้น เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดแล้ว เมื่อศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่างๆของจำเลย ศาลอาจจะไม่ลงโทษจำคุกจำเลยก็ได้ โดยศาลอาจมีคำสั่งรอการลงโทษไว้(รอลงอาญา)หรือจะมีคำสั่งรอกำหนดโทษก็ได้ เช่นกัน

การรอการลงโทษนั้น หมายถึงกรณีที่ศาลกำหนดโทษที่จะลงโทษกับจำเลยไว้ (เช่น จำคุก 2 ปี ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี) แล้วปล่อยตัวจำเลยไปเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยหากภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษนั้น จำเลยกลับกระทำความผิดซ้ำอีก และถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษ ศาลก็จะนำโทษที่ได้กำหนดไว้  มารวมกับโทษที่เคยมีคำสั่งรอการลงโทษไว้ได้

การรอการลงโทษ มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56โดยศาลจะคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา อบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม สภาพความผิด การรู้สึกผิด และการพยายามเยียวยา บรรเทาผลร้ายที่ได้กระทำลงไป และเหตุอื่นอันควรปรานีแล้วหากเห็นว่าน่าจะให้โอกาสจำเลยกลับตัวกลับใจ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลก็อาจเลือกให้ รอการลงโทษ คือมีการกำหนดโทษไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ลงโทษ แล้วทำการปล่อยตัวจำเลยไปแต่หากศาลพิจารณาแล้วว่า การให้โอกาสจำเลยนั้นไม่เกิดประโยชน์ โดยคำนึงจากปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วตอนต้น ศาลก็อาจเลือกไม่ให้รอการลงโทษ หรือ “ไม่รอลงอาญา”

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935