Home คดีแพ่ง เมื่อมีรถมาชนแล้วฝ่ายผู้ขับขี่เสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ประมาท ผู้รับประกันภัย จะต้องรับผิดอย่างไร หรือไม่

เมื่อมีรถมาชนแล้วฝ่ายผู้ขับขี่เสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ประมาท ผู้รับประกันภัย จะต้องรับผิดอย่างไร หรือไม่

680
0

เมื่อมีรถมาชนแล้วฝ่ายผู้ขับขี่เสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ประมาท ผู้รับประกันภัย จะต้องรับผิดอย่างไร หรือไม่

 

ประเด็นดังกล่าวนี้มีบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  ๘๖๑  อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ พ..๒๕๓๕

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ พ..๒๕๔๐ ออกตามความใน พระราชบัญญัติผู้ประกันภัยจากรถ พ..๒๕๓๕ ข้อ ๓

จากกรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๕๑๘/๒๕๕๕

 

 

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2540) ที่ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก

รถ พ.ศ.2535 ข้อ 3 มีข้อความว่า ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และผู้ขับขี่ที่ประสบภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด

ตามกฎหมาย หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย จํานวนเงินเอาประกันภัยให้ลดลงเป็น

จํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ

2.3 มีข้อความว่า กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยและเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ

หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน

ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น… ข้อความในกฎกระทรวงและในกรมธรรม์ดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้

ขับขี่และผู้ประสบภัยนั้นเองเป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหรือไม่มีฝ่ายใดต้องรับผิดตาม

กฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า ผู้ตายซึ่งเป็นผู้ประสบภัยและเป็นผู้ขับขี่มิได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดและมีผู้

ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามกฎหมายแล้ว เพียงแต่เจ้าพนักงานตํารวจยังไม่สามารถติดตามผู้ที่ต้องรับผิดมา

ดําเนินคดีตามกฎหมายได้เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่มีฝ่ายใดที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย ทั้งไม่อาจ

ตีความข้อความตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ดังกล่าวให้หมายความรวมถึงกรณียังไม่อาจติดตามผู้ต้องรับผิดมาได้

เนื่องจากข้อความดังกล่าวมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าจะต้องไม่มีผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมายเท่านั้น จําเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจํานวนที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีเสียชีวิต

ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

 

________________________________

 

ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้

รับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ทั้งห้าเป็นทายาทของนายบัว ผู้ตาย ผู้ตายเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์หมายเลข

ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 3 ฟ – 4725 ผู้ตายเอาประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์ดังกล่าว

ไว้กับจําเลย ระยะเวลาประกัน 1 ปีนับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ตาม

กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา ผู้ตายขับ

รถจักรยานยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจําเลยมาตามถนนกรุงเทพฯ – นนทบุรีแล้วเกิดอุบัติเหตุถูกรถโดยสาร

ประจําทางและรถยนต์แท็กซี่เฉี่ยวชนเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา โดยเหตุ

ดังกล่าวเกิดจากความประมาทของผู้ขับรถโดยสารประจําทางและผู้ขับรถยนต์แท็กซี่ ภายหลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1

ขอรับค่าสินไหมทดแทนจากจําเลยตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก

รถ กรณีเสียชีวิตจํานวน 80,000 บาท แต่จําเลยอ้างว่า จําเลยต้องจ่ายเพียงค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน

ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่ารักษาพยาบาลจํานวน 6,994 บาท กับกรณีเสียชีวิตจํานวน 15,000 บาท เท่านั้น

 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยว่า จําเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

ทั้งห้าตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือไม่ โดยจําเลยอ้างว่า

กรณีของผู้ตายเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ข้อ 3 และเงื่อนไขตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 2.3 เนื่องจาก

ผู้ตายเป็นผู้ประสบภัยและผู้ขับขี่ ซึ่งกําหนดให้จําเลยจ่ายเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น

เท่านั้น เห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2540) ข้อ 3. มีข้อความว่า ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และผู้

ขับขี่ที่ประสบภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย

จํานวนเงินเอาประกันภัยตามข้อ 2 ให้ลดลงเป็นจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่ง

ออกตามความในมาตรา 20 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และ

กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 2.3 มีข้อความว่า กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย

และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น… ดังนี้จะเห็นได้ว่า ทั้งกฎกระทรวงและเงื่อนไขในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่จําเลยอ้างถึงนั้น เป็นกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่ และผู้ประสบภัยนั้นเองเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หรือไม่มีฝ่ายใดที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัยแต่กรณีของผู้ตาย ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่า ผู้ตายมิได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด และมีผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ตายคือ ผู้ขับรถโดยสารประจําทางกับผู้ขับรถยนต์แท็กซี่ เพียงแต่เจ้าพนักงานตํารวจยังไม่สามารถติดตามผู้ที่ต้องรับผิดดังกล่าวมาดําเนินคดีตามกฎหมายได้เท่านั้น หาใช่เป็นกรณีไม่มีฝ่ายใดที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัยดังที่จําเลยอ้างไม่ ทั้งไม่อาจตีความข้อความตอนท้ายของเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าวให้หมายรวมไปถึงกรณียังไม่อาจติดตามผู้ต้องรับผิดมาได้เนื่องจากข้อความดังกล่าวมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าจะต้องไม่มีผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมายเท่านั้น จําเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจํานวนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีเสียชีวิตเป็นเงิน

80,000 บาท แก่โจทก์ทั้งห้า ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 2.1.3

 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

 

 

 

            ดังนั้นพอสรุปได้ว่า ทั้งกฎกระทรวงและเงื่อนไขในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่จําเลยอ้างถึงนั้น เป็นกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่ และผู้ประสบภัยนั้นเองเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หรือไม่มีฝ่ายใดที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย  ผู้ตายมิได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด และมีผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ตาย  ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจํานวนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีเสียชีวิต