กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532

โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.

กล่าวโดยสรุป

กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่แบบแห่งสัญญาประกันภัย เป็นเพียงหลักฐานที่เป็นหนังสืออันจะสามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น“ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน”สามารถใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716