Home Authors Posts by admin

admin

70 POSTS 0 COMMENTS

กรณีผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษามีหลักการอย่างไร

0
กรณีผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ มาตรา ๒๗๑  ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๘๐ ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น ถ้าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น มาตรา ๒๒๖  บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๔  ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้ (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้...

เงินประกันชีวิต  ไม่ใช่มรดก จึงไม่ตกทอดไปสู่ทายาท  ?

0
เงินประกันชีวิต  ไม่ใช่มรดก จึงไม่ตกทอดไปสู่ทายาท  ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๙๗   ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่า เมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ ถ้าได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ มาตรา ๑๕๙๙  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท วรรคสอง ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๑๖๐๐   ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา ดังต่อไปนี้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่...

กรณีการจัดการทำศพ สามีนอกกฎหมาย

0
กรณีการจัดการทำศพ สามีนอกกฎหมาย ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔๙ ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดังว่านั้น วรรคสอง ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น       คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา ดังต่อไปนี้ คือ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๔๘ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่...

นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง

0
นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง มาตรา ๔๒๕ “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่ง ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น” เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของ ลูกจ้าง มี ๔ ประการ คือ ๑. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะเลือกลูกจ้างไม่ดี จึงมีการก่อให้เกิดความ เสียหายขึ้น ๒. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะควบคุมดูแลลูกจ้างไม่ดี ปล่อยให้เขาไป ทำละเมิดขึ้น ไม่ดูแลให้ดี ไม่ว่ากล่าวให้ดี ๓. นายจ้างได้รับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง เมื่อได้รับ ประโยชน์ก็ต้องได้รับผลเสียอันเกิดจากการกระทำของลูกจ้างด้วย ๔. ลูกจ้างเป็นผู้ทำการงานนั้น ก็เสมือนหนึ่งนายจ้างเป็นผู้ทำเอง เปรียบเทียบได้ว่าลูกจ้างเป็นแขนขาให้นายจ้างเมื่อไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้า...

ความหมาย กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ที่ศาลฎีกาวางหลักไว้มีว่าอย่างไร

0
ความหมาย กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ที่ศาลฎีกาวางหลักไว้มีว่าอย่างไร กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ได้แก่ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่ผู้กระทำได้ กระทำโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร คือ เป็นการกระทำที่อยู่ในลักษณะที่ บุคคลผู้มีความระมัดระวังไม่กระทำด้วย เพราะฉะนั้นการที่เขาทำไป ถือว่าเป็น การกระทำที่ขาดความระมัดระวัง เรียกว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แล้ว เมื่อเปรียบกับคำว่า “ประมาท” ตามที่ ปอ.มาตรา ๕๙ วรรคสี่ ว่า “กระทำ โดยประมาท...

ลงบันทึกประจำวันตกลงจบค่าเสียหายเรื่องรถชน นายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่

0
ลงบันทึกประจำวันตกลงจบค่าเสียหายเรื่องรถชน นายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ มีบ่อย ๆ คือเรื่องขับรถประมาททำให้เขาเสียหาย เมื่อไปถึงสถานีตำรวจมี การลงบันทึกรายงานประจำวันไว้ว่า คนขับยอมรับว่าขับรถโดยประมาท ยอมใช้ ค่าเสียหายเป็นเงินเท่าไร แล้วคู่กรณีทั้งสองฝ่ายลงชื่อไว้ ต่อมาไปทวงคนขับรถก็ ไม่ยอมชำระ หากฟ้องศาลก็ไม่มีหลักทรัพย์อะไรที่จะบังคับคดี แถมถูกนายจ้างไล่ ออกจากงาน คู่กรณีจึงฟ้องนายจ้างให้รับผิดตามมาตรา ๔๒๕ ในกรณีที่นายจ้าง ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง หนี้ละเมิดต้องมีอยู่ หากหนี้ละเมิดระงับแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด บันทึกรายงานประจำวันที่ทั้งสอง ฝ่ายลงชื่อด้วยกัน...

ดอกเบี้ยในค่าเสียหายมีได้หรือไม่ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0
ดอกเบี้ยในค่าเสียหายมีได้หรือไม่ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตาม มาตรา ๔๓ ๔ และมาตราต่อ ๆ มาแล้ว หากเป็นตัวเงินจำเลยก็ต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ ๓๗.๕ ต่อปี ตามมาตรา ๒๐๖, ๒๒๔ ทีนี้ก็มีปัญหาว่า ดอกเบี้ยนับแต่วันไหน คือนับแต่วันละเมิดอันเป็นวันผิดนัด หรือนับแต่วันฟ้อง หรือนับแต่วันพิพากษา เดิมศาลฎีกาให้นับแต่วันฟ้อง (ฎ.๕๐๑๔/๒๕๕nn) ก็มี...

วิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง

0
วิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง วิธีกำหนดค่าสินไหมทดแทน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ มาตรา ๔๓๘ กำหนดให้ใช้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด บางครั้งถ้าหากผู้เสียหายมีส่วนผิดศาลก็อาจจะแบ่งส่วนรับผิดได้ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๔๔๒ หรือว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของคนหลายคนที่ ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดตามมาตรา ๔๓๒ ศาลก็อาจจะกำหนดว่าให้คนไหนรับผิด เท่าไรได้ ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๓๔ นี้ ในมาตรา ๔๓๔ แยกพิจารณาได้ดังนี้ โดยสถานใด หมายถึงให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนวิธีไหน ขึ้นอยู่กับการทำ ละเมิดของจำเลย และความเสียหายที่โจทก์ได้รับ...

ความรู้เกี่ยวกับประเภทค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย

0
ประเภทค่าสินไหมทดแทน ในมาตรา ๔๓๔ นี้ มีอยู่สองคำที่ต้องทำ ความเข้าใจคือ คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” กับคำว่า “ค่าเสียหาย” ทั้งสองคำนี้มี บัญญัติไว้ในเรื่องนิติกรรมสัญญาด้วย โดยในมาตรา ๒๒๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่น ที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น” คำว่า “ค่าเสียหาย” และ “ค่า สินไหมทดแทน”...

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาคำนวณจากอะไรบ้าง

0
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาคำนวณจากอะไรบ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2560 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 17 มีนาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6...