Home Authors Posts by admin

admin

350 POSTS 0 COMMENTS

ผู้ตายมีส่วนประมาท สามารถยกขึ้นอ้างเพื่อหลุดพ้นความรับผิดได้หรือไม่

0
ผู้ตายมีส่วนประมาท สามารถยกขึ้นอ้างเพื่อหลุดพ้นความรับผิดได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2546 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๔) และ ๑๕๗ จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒...

ชดใช้ค่าเสียหายและออกค่ารักษาพยาบาล เป็นเหตุบรรเทาโทษหรือไม่

0
ชดใช้ค่าเสียหายและออกค่ารักษษพยาบาล เป็นเหตุบรรเทาโทษหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2540 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90, 291, 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4), 157 จำเลยให้การปฏิเสธแล้วถอนคำให้การเดิมให้การใหม่รับสารภาพ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นนายเทียนหอม บิดาของเด็กหญิงแตงโม ผู้ตาย นางการะเกด มารดาของเด็กหญิงลั่นทม ผู้เสียหาย และนางแดง ปิยะพันธ์ุยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา...

ค่าทำกายภาพบำบัด ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

0
ค่าทำกายภาพบำบัด ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองของเด็กชายดาวเรือง จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ประกอบกิจการสระว่ายน้ำดำรงศิลป์ ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 2กรกฎาคม 2537 เด็กชายดาวเรือง์ได้ไปใช้บริการที่สระว่ายน้ำของจำเลยและจมน้ำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่จัดเครื่องอุปกรณ์และพนักงานรักษาความปลอดภัยไว้ประจำสระเป็นเหตุให้เด็กชายดาวเรือง์ขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน ทำให้สมองพิการไม่สามารถทำการงานและช่วยเหลือตนเองได้ ต้องอยู่ในความดูแลของผู้อื่น โจทก์ได้ทำการรักษาพยาบาลตลอดมาแต่อาการยังไม่ดีขึ้น สิ้นค่ารักษาพยาบาลไป 233,258 บาท เด็กชายดาวเรือง์ต้องสูญเสียความสามารถในการประกอบการงานโดยสิ้นเชิง โจทก์ขอคิดค่าเสียหายส่วนนี้เป็นเงิน 2,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,233,258...

ศาลฎีกาวางหลักในคดีเรื่องฝ่ายไหนจะต้องรับผิดเพียงใดไว้อย่างไรบ้างในคดีละเมิด

0
ศาลฎีกาวางหลักในคดีเรื่องฝ่ายไหนจะต้องรับผิดเพียงใดไว้อย่างไรบ้างในคดีละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2524 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากละเมิดแก่โจทก์ เนื่องจากบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะขับขี่รถชนกันกับรถของจำเลย   จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสองมิได้ประมาท เป็นความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว ค่าเสียหายไม่มากดังฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้องและขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย   โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า รถของจำเลยมิได้เสียหาย ขอให้ยกฟ้องแย้ง   ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ฝ่ายโจทก์และจำเลยมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกัน พิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง   โจทก์อุทธรณ์   ศาลอุทธรณ์เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีส่วนประมาทพอกัน แต่โจทก์ได้รับความเสียหายมากกว่า พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์   จำเลยทั้งสองฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าทั้งสองฝ่ายมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน และวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ในข้อที่ว่าฝ่ายไหนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442...

ชนแล้วยังเเล่นต่อไปอีกไกล ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่

0
ชนแล้วยังเเล่นต่อไปอีกไกล ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2544 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองขับรถด้วยความประมาทผ่านทางร่วมทางแยกไปด้วยความเร็ว เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันอย่างแรงในบริเวณสี่แยกจนพลิกคว่ำและชนเสาสัญญาณไฟจราจรของทางราชการเสียหาย จำเลยที่ 2 และเด็กชายน้ำตาลได้รับอันตรายสาหัส ภายหลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองหลบหนีไปโดยไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรทั้งไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160   จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จก่อนสืบพยานจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1...

ขับรถมาด้วยความเร็วสูงแล้วเสียหลักขวางถนน ถือว่าประมาทหรือไม่

0
ขับรถมาด้วยความเร็วสูงแล้วเสียหลักขวางถนน ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2544 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์รับประกันภัยรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ หมายเลขทะเบียน พ-4659 สงขลา จากนายดอกบัวบิลล่าเต๊ะ มีอายุสัญญา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 ถึง 1 ตุลาคม 2537และโจทก์ยังรับประกันภัยรถคันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จำเลยที่ 1...

ขับรถผ่านหมู่บ้านด้วยความเร็วสูง เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

0
ขับรถผ่านหมู่บ้านด้วยความเร็วสูง เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160และคืนรถของกลางให้แก่เจ้าของ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 43, 78,157,...

ไม่ปฏิบัติตามป้ายจราจร และขับรถชนรถไฟ ถือว่าประมาทหรือไม่

0
ไม่ปฏิบัติตามป้ายจราจร และขับรถชนรถไฟ ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2534 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ซึ่งเอาประกันภัยค้ำจุน ไว้กับบริษัทจำเลยที่ 3 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาท ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ใกล้ถึงทางตัดผ่านทางรถไฟบริเวณที่หยุดรถ จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่กำหนดไว้ให้จำเลยต้องระวังและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเพื่อดูว่ามีรถไฟผ่านหรือไม่ก่อนทั้ง ๆ ที่มีรถยนต์คันอื่นหยุดรถรออยู่ก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 กลับคืนรถยนต์แซงรถยนต์คันที่จอดรอ...

จอดรถในกลางคืน แต่เปิดไฟหน้าท้ายและไฟฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

0
จอดรถในกลางคืน แต่เปิดไฟหน้าท้ายและไฟฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2529 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๐๐, ๓๙๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๑๕๗ จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๐, ๓๙๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๑๕๗ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๐...

เปิดไฟ หรือแสงสว่างน้อย เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

0
เปิดไฟ หรือแสงสว่างน้อย เกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2530 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารปรับอากาศ หมายเลขทะเบียน อ.ท. ๐๓๖๙๓ จำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ ๓ และจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ภ.ก. ๐๑๘๑๓ ส่วนจำเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๒ ที่...