Home Authors Posts by Athip Schumjinda

Athip Schumjinda

420 POSTS 0 COMMENTS

รถเกิดอุบัติเหตุนอกราชอาณาจักร บริษัทประกัน ต้องรับผิดชอบหรือไม่

0
รถเกิดเหตุนอกราชอาณาจักร บ.ประกันภัย ต้องรับผิดชอบหรือไม่? โดยปกติ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะคุ้มครองการใช้รถในราชอาณาจักรเท่านั้น โดยมีข้อยกเว้นในสัญญาประกันภัย หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อที่7.1 และหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ข้อ 8 ระบุไว้ว่า การประกันภัยตามหมวดนี้ไม่คุ้มครองอันเกิดจาก การใช้รถยนต์นอกเขตคุ้มครอง (คือนอกเขตประเทศไทย) กล่าวคือ หากนำรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้ไปใช้นอกอาณาเขตคุ้มครองหรือนอกอาณาเขตประเทศไทยแล้วเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สินและตัวรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้ บริษัทประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น (ต้องจ่ายเองแม้มีประกันภัย) แต่ผู้เอาประกันภัยอาจจะซื้อความคุ้มครองการใช้รถนอกราชอาณาจักรไทยได้ เช่น...

ด่าผัว เล็ก ห่วย ล้าน เตี้ย ฟ้องหย่าได้หรือไม่

0
ด่าผัว เล็ก ห่วย ล้าน เตี้ย....ฟ้องหย่าได้หรือไม่? มาดูคำพิพากษาฎีกานี้ครับ ฎีกาที่ 8803/2559 ...จำเลยใช้ถ้อยคำพูดกับโจทก์ว่า "กูเบื่อผู้ชายแก่ ๆ ควยเล็ก เซ็กส์ห่วย หัวล้าน ตัวเตี้ย ๆ หน้าเหี้ยใจยังเหี้ย หัวขโมยแบบมึงเต็มที" และ "กูมีความพร้อมทุกอย่าง สาวสวยเหมาะสมกับหนุ่ม ๆ แข็งแรงฟิตเปรี๊ยะ พร้อมเริ่มต้นใหม่ ไม่มีอะไรยาก ...กูแต่งงานกับมึงเพื่อประชด อ. เจ็บ...

กรณีลูกจ้างยื่นคำร้องต่อ จพง.ตรวจแรงงาน ขณะเดียวกันจะยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานได้อีกหรือไม่ อย่างไร?

0
กรณีลูกจ้างยื่นคำร้องต่อ จพง.ตรวจแรงงาน ขณะเดียวกันจะยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานได้อีกหรือไม่ อย่างไร? มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2561 แม้จะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าเมื่อลูกจ้างได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานอีก แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึง มาตรา 125 เป็นกระบวนการทางเลือกซึ่งเมื่อลูกจ้างเลือกดำเนินการโดยยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วจะต้องดำเนินการไปจนเสร็จสิ้น บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว ดังนั้น เมื่อโจทก์ในฐานะลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่ง โจทก์ต้องนำคดีไปสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน แต่โจทก์ยื่นฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแม้จะอ้างคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาด้วย แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามากกว่าที่ได้รับตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน แสดงว่าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน คำฟ้องโจทก์จึงมิใช่การฟ้องเพื่อขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน...

ขับรถชนรถที่ตัดหน้ากระทันหัน ต้องรับผิดหรือไม่

0
ขับรถชนรถที่ตัดหน้ากระทันหันต้องรับผิดหรือไม่ มาดูแนวคำพิพากษาฎีกานี้ครับ ฎีกาที่ 4883/2553 #ย่อสั้น แม้จำเลยจะขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูง แต่จำเลยขับรถในทางเดินรถของตนโดยถูกต้อง ส่วน ส. มิได้จอดรถเพื่อรถกลับรถในช่องกลับรถอย่างในภาวะปกติธรรมดา หากแต่เป็นเพราะรถที่ ส. ขับเกิดเสียการทรางตัวแล้วหมุนเข้าไปในทางเดินรถของจำเลยและขวางรถที่จำเลยขับในระยะกระชั้นชิด #ในภาวะเช่นนั้นไม่ว่าจำเลยจะขับมาในลักษณะเช่นใดจำเลยย่อมไม่อาจจะหลบหลีกเพื่อมิให้ชนกับรถที่ ส. ขับได้ ดังนั้น การที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูงและไม่ขับให้อยู่ในช่องเดินรถด้านซ้าย   #จึงมิใช่เป็นผลโดยตรง ที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย #ย่อยาว โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 #จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นายพฤตินัยบุตรของนายสังคมกับนางสมพิศผู้ตายและนางพรทิพย์มารดาของเด็กชายธนูดมผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา...

ลูกจ้างขับรถบรรทุกดินเข้าในถนนซอยของหมู่บ้าน น้ำหนักรถทำให้ท่อน้ำใต้ถนนแตก บ.ประกัน จะรับผิดชอบค่าท่อน้ำแตกหรือไม่

0
ลูกจ้างขับรถบรรทุกดินเข้าในถนนซอยของหมู่บ้าน น้ำหนักรถทำให้ท่อน้ำใต้ถนนแตก บ.ประกัน จะรับผิดชอบค่าท่อน้ำแตกหรือไม่ ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายและความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตาราง และความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง (ข) เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนามหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าว อันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์ หรือน้ำหนักบรรทุกของรถ ดังนั้น ท่อน้ำในหมู่บ้านแตกเพราะรถบรรทุกขับผ่าน บ.ประกันภัย ไม่คุ้มครองความเสียหายท่อน้ำ แต่คนขับ หรือเจ้าของรถที่เป็นนายจ้าง...

รถยนต์ถูกยักยอกโดยลูกจ้างของบริษัทผู้รับจำนำ บ.ประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนรถหายหรือไม่

0
รถยนต์ถูกยักยอกโดยลูกจ้างของบริษัทผู้รับจำนำ บ.ประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนรถหายหรือไม่ ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์หมวดคุ้มครองรถสูญหายนั้น มีหลักว่าบริษัทประกันต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีรถยนต์ที่เอาประกันสูญหาย โดยการถูก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ แต่มีข้ออยกเว้นไม่คุ้มครอง คือ หากรถยนต์ที่เอาประกันหายไปโดย ถูกยักยอกไปโดยผู้รับจำนำตามสัญญาจำนำ บริษัทประกันภัยไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ปัญหามีว่าการเอารถยนต์ไปจำนำกับบริษัทรับจำนำ ถือว่า ได้จำนำกับนิติบุคคล การจะยักยอกรถไป ต้องเป็นการกระทำการยักยอกโดยตัวกรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลกระทำการแทนนิติบุคคลนั้น บริษัทประกันจึงไม่ต้องจ่ายกรณีรถถูกยักยอกไป แต่ตามปัญหารถยนต์ถูกยักยอกไป โดยคนในบริษัทรับจำนำ ไม่ใช่เป็นตัวกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของนิติบุคคลนั้น ดังนั้นเมื่อเป็นคนอื่นยักยอกรถยนต์ไป บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันที่นำรถไปจำนำนั้นเต็มจำนวนทุนเอาประกัน สรุป จำนำกับใคร คนๆนั้นต้องเป็นผู้ยักยอก บริษัทประกันภัยถึงจะไม่จ่ายค่าสินไหม หากคนอื่นยักยอก...

เมื่อรถยนต์ถูกลักหายไป บ.ประกันภัย จ่ายค่าสินไหมเต็มวงเงินรถหายที่ทำประกันภัยไว้แก่เจ้าของรถ แล้ว บ.ประกันภัย จะเข้าเป็นผู้เสียหายในคดีลักทรัพย์เรียกค่าเสียหายคืนจากจำเลยในคดีอาญาได้หรือไม่

0
เมื่อรถยนต์ถูกลักหายไป บ.ประกันภัย จ่ายค่าสินไหมเต็มวงเงินรถหายที่ทำประกันภัยไว้แก่เจ้าของรถ แล้ว บ.ประกันภัย จะเข้าเป็นผู้เสียหายในคดีลักทรัพย์เรียกค่าเสียหายคืนจากจำเลยในคดีอาญาได้หรือไม่ มาดูแนวคำพิพากษาฎีกานี้ครับ ฎีกาที่ 880/2555 ผู้ร้อง(บ.ประกัน) มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เพียงแต่อ้างสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่ถูกจำเลยลักไปซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยและมาใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเท่านั้น ความเสียหายของผู้ร้อง(บ.ประกันภัย)ที่อ้างว่าได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปนั้นจึงเกิดขึ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เกิดจากการ กระทำผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย สิทธิเรียกร้องความเสียหายของผู้ร้องจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเช่นเดียวกันกับผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาที่ผู้ร้องได้ชดใช้ไปตามสัญญาประกันภัยได้ ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า...

รถหายขณะนำไปจอดซื้อไอศกรีมในห้างสรรพสินค้า ห้างฯต้องรับผิดหรือไม่

0
ขับรถไปจอดบริเวณลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าแล้วเข้าไปซื้อไอศครีม แม้ไอศครีมที่เข้าไปซื้อจะไม่ใช่ของห้างสรรพสินค้า แต่ร้านไอศครีมอยู่ในบริเวณห้างสรรพสินค้าและได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ของห้าง ฯ เช่นนี้เมื่อรถสูญหาย ห้างสรรพสินค้าต้องรับผิด มาดูแนวคำพิพากษาล่าสุด ปี2561 ครับ คำพิพากษาฎีกาที่ 5280/2561 ม.ขับรถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยเข้าไปจอดบริเวณลานจอดรถของจำเลยแล้วได้เข้าไปซื้อไอศครีมที่ร้านไอศกรีม แม้จะไม่ได้ซื้อสินค้าของห้างสรรพสินค้าจำเลยโดยตรง ก็ตาม แต่ร้านไอศครีมดังกล่าวได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ใช้พื้นที่อยู่ในอาคารห้างสรรพสินค้าของจำเลยจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า ของผู้ประกอบการที่จำเลยอนุญาตให้มาใช้พื้นที่ในอาคารห้างสรรพสินค้าของจำเลยรวมทั้งรถกระบะที่ ม.ขับไปจอดบริเวณลานจอดรถของจำเลย ด้วยการที่จำเลยติดตั้งกล้องวงจรปิดที่บริเวณทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าของจำเลยนั้น จำเลยก็อ้างว่าเป็นการทำการตลาดลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อจะได้จัดเตรียมสินค้าให้มีปริมาณเพียงพอเท่านั้น จึงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการหรือมีมาตรการใดอันเป็นการเพียงพอในการที่จะดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ลูกค้าของจำเลยการที่จำเลยงดเว้นการให้การดูแลรักษาความปลอดภัยจึงเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถกระบะที่ ม. ขับมาจอดไว้ที่บริเวณที่จอดรถสูญหายไป จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายดังกล่าว การที่จำเลยจะทำป้ายประกาศและประชาสัมพันธ์ว่าจะไม่รับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายใดของลูกค้าที่นำรถเข้ามาจอดก็เป็นข้อกำหนดของจำเลยฝ่ายเดียว จึงไม่มีผลยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลย สรุป การที่รถหาย ขณะนำรถไปจอดบริเวณลานจอดรถในห้างเพื่อซื้อไอศกรีม...

รถหายในตลาดนัด ตลาดต้องรับผิดชอบหรือไม่

0
  คำพิพากษาฎีกาใหม่ที่น่าสนใจ หากขับรถไปจอดที่ห้างสรรพสินค้าแล้วรถเกิดสูญหายกรณีนี้ห้างสรรพสินค้าและบริษัทรักษาความปลอดภัยต้องร่วมกันรับผิด แต่ถ้าขับรถไปซื้อของที่ตลาด นัดหรือตลาด ซื้อขายสินค้าทั่วๆไป แม้จะมีบริษัทรักษาความปลอดภัยแต่เจ้าของตลาดและบริษัทดังกล่าวไม่ต้องรับผิด หากรถของเราเกิดสูญหายนะครับ น่าสนใจมาก ฎีกานี้ครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่5508/2560 ตลาดไทมีพื้นที่ 500 ไร่ มีการแบ่งตลาดย่อย ๆ ตามประเภทสินค้าหลายตลาด ลักษณะเป็นการค้าส่งสินค้าเกษตรและมีการซื้อขายสินค้า อาคารพาณิชย์และที่จอดรถหลายจุด ทั้งลักษณะกิจการของตลาดไทเป็นศูนย์กลางซื้อขายสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทำให้มีรถยนต์เข้าออกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ปรากฏว่าการเข้าออกตลาดไทซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่นั้น รถยนต์ของผู้ที่มาใช้บริการสามารถเข้าออกตลาดย่อยต่าง ๆ และลานจอดรถได้ตามความสะดวกไม่ต้องขออนุญาตหรือแลกบัตรในการผ่านเข้าออก เว้นแต่รถยนต์ที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายต้องเสียค่าธรรมเนียมที่ป้อมยาม ส่วนรถยนต์อื่น ๆ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าจอดรถและไม่ได้มีบริการรับฝากรถ...

ปลอมกรมธรรม์ประกันภัย

0
#ปลอมกรมธรรม์ประกันภัย #ปลอมเอกสารสิทธิ หรือ #เอกสารราชการ ม.265 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จำเลยนำ #กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับไปแสดงแก่ผู้เสียหายเพื่อขอรับเงินเบี้ยประกัน ถือได้ว่ามีเจตนาให้ผู้เสียหายจ่ายเงินตามเบี้ยประกัน ตามกรมธรรม์ซึ่งเป็นเอกสารปลอมแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวน แม้จำเลยจะกระทำในครั้งเดียวกันก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน #หมายเหตุ กรมธรรม์ประกันภัยเทียบเคียงได้กับกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งถือเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิ์ เป็นเอกสารสิทธิ์ตามมาตรา 1(9) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 3986/2535 วินิจฉัยว่าจำเลยกับพวก ใช้หลักฐานปลอมหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยอ้างว่า ว.ขอเอาประกันชีวิตต่อบริษัทโจทก์ร่วม ซึ่งความจริง ว.ตัวจริงได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึง #ออกกรมธรรม์ประกันชีวิต อันเป็นเอกสารสิทธิ์ให้ การกระทำของจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ติดต่อทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายพีท...