MOST POPULAR
กินยาฆ่าตัวตายภายในหนึ่งปีแต่มาตายภายหลังหนึ่งปีแล้ว ดังนี้ประกันจะคุ้มครองหรือไม่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 895 เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทำสัญญาหรือ
(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
ในกรณีที่ 2 นี้ ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2536
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895(1) บัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยเนื่องมาจากผู้เอาประกันภัยกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญานั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ผู้ทำสัญญาประกันชีวิตทำอัตวินิบาตกรรมอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อต้องการให้ผู้รับประโยชน์ได้รับเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้น ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้รับประกันภัย ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยลงมือกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา...
พนักงานสอบสวนเป็นผู้เสียหายและสอบสวนคดีเองได้หรือไม่
หากผู้เสียหายเป็นผู้มีอำนาจในการสอบสวนเอง แล้วผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนหรือไม่ เนื่องจากหากทำการสอบสวนเองได้แล้วจะเป็นการขัดต่อหลักการขัดกันของตำแหน่งหน้าที่หรือไม่ เพราะตนเข้าไปเป็นผู้เสียหายเองเสียแล้ว
เรื่องนี้เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 292/2482 วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียได้โดยให้เหตุผลว่า....
" .... ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย คดีนี้จึงถือได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนตามกฎหมายแล้ว ที่ศาลชั้นต้นยกเอากฎหมายว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเสีย ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่"
คำวินิจฉัยดังกล่าวน่าจะมีข้อโต้แย้งได้เนื่องจากเมื่อผู้เสียหายเป็นพนักงานสอบสวนเสียเองแล้ว ก็จะต้องให้การเป็นพยานกับตนเอง ย่อมจะเกิดความไม่เป็นธรรมและไม่เป็นกลาง ซึ่งในคดีนี้ศาลล่างเคยเห็นว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้เสียหายเอง หามีอำนาจที่จะทำการสอบสวนในส่วนที่ตนมีส่วนได้เสียหรือไม่ จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โดยศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า
"..... ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(6)(7)(11) พนักงานสอบสวนเป็นผู้เสียหายเอง หามีอำนาจที่จะทำการสอบสวนในส่วนที่ตนมีส่วนได้เสียหรือไม่...
ขอยืมรถของผู้อื่นแล้วนำไปจำนำมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 8644/2561
พฤติการณ์ที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจาก ช. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อนั้นการที่ ช. อนุญาตให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปส่ง ส. จึงเป็นการส่งมอบการครอบครองรถจักรยานยนต์ให้จำเลยชั่วคราว ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์ที่ขอยืมไป มาคืน ช. เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจำนำแก่บุคคลภายนอก จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริตขณะที่จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 352...
LATEST ARTICLES
ศาลฎีกาตีความการรับผิดข้อตกลงรับผิดเฉพาะรายตามกรมธรรม์ไว้อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12896/2557
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 5,727 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 5,297 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา จำเลยสละประเด็นตามข้อต่อสู้อื่น คงติดใจให้ศาลวินิจฉัยเพียงในประเด็นว่า จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 84 - 5917 นครราชสีมา ภาคสมัครใจ ประเภท 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า เห็นควรพิจารณาคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตามคำร้อง
ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 1 ฮ - 0815 กรุงเทพมหานคร ไว้จากจ่าสิบเอกสัญญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ...
บิดา มารดา ต้องไปเฝ้าขณะที่ดูแลตัวเองไม่ได้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นข้าราชการตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน 3อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 70-0466 นครศรีธรรมราช และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคันดังกล่าวตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 และในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1โดยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 เวลากลางวัน จำเลยที่ 2ขับรถคันดังกล่าวไปตามถนนเพชรเกษม ขณะที่โจทก์ขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน พัทลุง ข-3838 แล่นอยู่ข้างหน้ารถคันที่จำเลยที่ 2 ขับและโจทก์กำลังเลี้ยวไปทางขวามือจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทชนรถจักรยานยนต์คันที่โจทก์ขับล้มลง ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บสาหัส และรถจักรยานยนต์คันที่โจทก์ขับเสียหาย โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่ารักษาพยาบาลรวมเป็นเงิน 80,000 บาท ค่าเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตเป็นเงิน...
สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาประกันภัย บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลภายนอกได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348-10350/2557
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน
สำนวนแรก โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 179,687 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ร่วมกันชำระเงิน 228,500 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 144,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 ร่วมกันชำระเงิน 1,248,338 บาท แก่โจทก์ที่ 4 และร่วมกันชำระเงิน 360,000 บาท แก่โจทก์ที่ 5 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งห้า
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 4 แก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา...
เขียนคำร้องอย่างประชาชนที่ไม่เข้าใจกฎหมายอย่างท่องแท้ ศาลรับฟังหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2560
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 276, 283 ทวิ, 310, 318
จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นางสาว น. ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 283 ทวิ, 310 ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต
ผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ ค่าเสียหายต่อความเสื่อมเสียเสรีภาพ และค่าเสียหายต่อชื่อเสียง เป็นเงิน 70,000 บาท
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก, 283 ทวิ...
การฟ้องเรียกค่าเสียหายเกินวงเงินประกัน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 5,727 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 5,297 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา จำเลยสละประเด็นตามข้อต่อสู้อื่น คงติดใจให้ศาลวินิจฉัยเพียงในประเด็นว่า จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 84 - 5917 นครราชสีมา ภาคสมัครใจ ประเภท 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า เห็นควรพิจารณาคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตามคำร้อง ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า...
ยังไม่บรรรลุนิติภาวะ สามารถยื่นคำร้องขอชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2559
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 283 ทวิ และ 317
จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้เรียกผู้เสียหายที่ 1 ว่า โจทก์ร่วมที่ 1 เรียกผู้เสียหายที่ 2 ว่า โจทก์ร่วมที่ 2
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเงิน 100,000 บาท ค่าเสียหายที่ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ 100,000 บาท ค่าเสียหายต่อเสรีภาพ 100,000 บาท ค่าเสียหายที่ได้รับความทุกข์ทรมาน 200,000 บาท รวมค่าเสียหายทั้งสิ้น 500,000 บาท
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า...
หลักการตีความสัญญาประกันภัย ศาลฎีกาตีความอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและครอบครองรถยนต์กระบะคันหมายเลขทะเบียน 8ท - 9068 กรุงเทพมหานคร โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แก่จำเลย นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2537 เป็นการประกันภัยแบบชดใช้ค่าเสียหายโดยสิ้นเชิง ต่อมาโจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์แก่นางมะพร้าว ภริยา โดยโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2537 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา นายยมหิน ลูกจ้างของโจทก์ได้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อที่บริเวณสะพานข้ามคลองประปา เป็นเหตุให้นายยมหินถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุและรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเสียหายทั้งคัน จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินจำนวน 250,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเมื่อวันที่...
ค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกาย สามารถแบ่งเฉลี่ยกันตามความเสียหายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อ ชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 3 ซึ่งมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ขับขี่และมีนางลั่นทมนั่งซ้อนท้าย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์เสียหาย โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ และนางลั่นทมถึงแก่ความตาย ขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ร่วมกันรับผิดในค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์และค่าสินไหมทดแทนต่อชีวิตร่างกายแก่โจทก์จำนวนรวม 347,605 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ให้การว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของโจทก์ที่ 2 ฝ่ายเดียว...
การแบ่งเฉลี่ยตามส่วนความเสียหาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อ ชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 3 ซึ่งมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ขับขี่และมีนางลั่นทมนั่งซ้อนท้าย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์เสียหาย โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ และนางลั่นทมถึงแก่ความตาย ขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ร่วมกันรับผิดในค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์และค่าสินไหมทดแทนต่อชีวิตร่างกายแก่โจทก์จำนวนรวม 347,605 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ให้การว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของโจทก์ที่ 2 ฝ่ายเดียว...
บันทึกตกลงไม่ติดใจ ค่าเสียหายทางแพ่ง ฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9396/2555
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันใช้เงินค่าเสียหายรวม 968,087.67 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 619,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 31,200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ทั้งสองชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลยทั้งสองกับให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า บันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง มีผลผูกพันให้จำเลยทั้งสองที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหรือไม่ เห็นว่า ตามบันทึกการตกลงค่าเสียหายทางแพ่ง ซึ่งทำขึ้นก่อนบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของทั้งสองฝ่าย...