จอดรถท้างด้านขวาของทางเดินรถ เป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรหรือไม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร" คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2943/2562 แม้ถนนที่เกิดเหตุจะอยู่ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีอันเป็นสถานที่ราชการ แต่โดยลักษณะงานของสถานีตำรวจย่อมเป็นสถานที่สำหรับประชาชนไปติดต่อราชการโดยงานหลักคือ การรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ ดังนั้น สภาพทางในสถานีตำรวจที่เกิดเหตุจึงมีไว้สำหรับประชาชนใช้สัญจร ทางที่เกิดเหตุจึงเป็นทางตามความหมายของทางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (2) ซึ่งบัญญัติความหมายของคำว่า "ทาง" หมายถึง ทางเดินรถ ช่องเดินรถที่ประชาชนใช้ในการจราจร เมื่อจำเลยจอดรถบนทางดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม...

กรณีลูกจ้างยื่นคำร้องต่อ จพง.ตรวจแรงงาน ขณะเดียวกันจะยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานได้อีกหรือไม่ อย่างไร?

กรณีลูกจ้างยื่นคำร้องต่อ จพง.ตรวจแรงงาน ขณะเดียวกันจะยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานได้อีกหรือไม่ อย่างไร? มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2561 แม้จะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าเมื่อลูกจ้างได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานอีก แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึง มาตรา 125 เป็นกระบวนการทางเลือกซึ่งเมื่อลูกจ้างเลือกดำเนินการโดยยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วจะต้องดำเนินการไปจนเสร็จสิ้น บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว ดังนั้น เมื่อโจทก์ในฐานะลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่ง โจทก์ต้องนำคดีไปสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน แต่โจทก์ยื่นฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแม้จะอ้างคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาด้วย แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามากกว่าที่ได้รับตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน แสดงว่าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน คำฟ้องโจทก์จึงมิใช่การฟ้องเพื่อขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน...

รถยนต์เสียหายสิ้นเชิง คืออะไร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา รถยนต์เสียหายสิ้นเชิง คืออะไร เชิญอ่านได้เลยครับ รถยนต์เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss) หมายถึง รถยนต์ได้รับความเสียหายจนไม่อาจซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ หรือเสียหายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่ารถยนต์ในขณะเกิดความเสียหาย ในกรณีที่เอาประกันภัยไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ารถยนต์ในขณะที่เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์แล้วแต่กรณี ต้องโอนสิทธิ์รถยนต์ให้แก่บริษัททันที โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท และให้ถือว่าการคุ้มครองรถยนต์นั้นเป็นอันสิ้นสุด แต่ในทางกลับกันหากมีการประเมินแล้วพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ถึง 70%...

ผู้มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ผู้มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 224,416.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 11...

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหาย รวมเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง 1,074,794.52 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 1,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสี่จะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การทำนองเดียวกันขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 174,000 บาท...

ค่าเสียหายเบื้องต้นในความรับผิดตามพรบ. ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ค่าเสียหายเบื้องต้นในความรับผิดตามพรบ. ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 265,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นสามีชอบด้วยกฎหมายของนางทิพวรรณ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเฉพาะการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535...

สำคัญผิดเรื่องกรมธรรม์ประกันชีวิต เพราะตัวแทนให้ข้อมูลไม่ตรง มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนหรือไม่

0
สำคัญผิดเรื่องกรมธรรม์ปรกันชีวิต เพราะตัวแทนให้ข้อมูลไม่ตรง มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7666/2559 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม...

ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วได้หรือไม่  ?

ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วได้หรือไม่  ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๙๖  ถ้ามรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยหาอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะในอันจะได้ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น การเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีมรณภัยเกิด เพราะความรับผิดของบุคคลภายนอก ทายาทของผู้ประกันชีวิตมีสิทธิเรียกร้องได้ ๒ ทาง  ดังนี้ ๑.ผู้กระทำละเมิด ๒.ผู้รับประกันภัย   ผู้รับประกันเมื่อใช้เงินแก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์แล้ว ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิไปไล่เบี้ยจากผู้กระทำละเมิด ทายาทจะเรียกร้องจากผู้รับประกันภัย ก่อน หรือหลัง ก็ได้

ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2559 พนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง โจทก์ นายพ. ผู้ร้อง นายว.กับพวก จำเลย บริษัท ว.ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับพวกจำเลยร่วม ข้อกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 291, 301 ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ...

STAY CONNECTED

22,316FansLike
2,504FollowersFollow
14,700SubscribersSubscribe

FEATURED

MOST POPULAR

ใครบ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ

0
ใครบ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ ค่าปลงศพ หมายถึงการจัดการศพตามประเพณีของลัทธิศาสนา เช่น ค่าปลงศพ พอตายแล้วจะต้องมีหีบศพ ห่อศพ ฉีดยาป้องกันศพเน่า แต่งตัว ให้ศพ แต่งชุดพิเศษหรือชุดที่ชอบ จ้างช่างตัดผมหรือหวีผมให้ หรือว่ากรณี ร่างกายถูกรถชนจนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่า เป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง ค่าพิธีการรดน้ำศพ สวดศพ ทำบุญอันจำเป็นตาม ประเพณี ค่าเช่าเมรุเผาศพ เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นค่าปลงศพ ค่าปลงศพนี้ แยกอธิบายได้อีกว่า ใครมีสิทธิเรียกค่าปลงศพ...

LATEST REVIEWS

มีสิทธิรับมรดกแต่ไม่ได้รับค่าอุปการะ ?

0
มีสิทธิรับมรดกแต่ไม่ได้รับค่าอุปการะ ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย ....................... ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้  ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ มีสิทธิรับมรดกแต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเพราะไม่มีหน้าที่ดูแล บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย  ย่อมเสียสิทธิในการได้รับค่าขาดไร้การอุปการะเลี้ยงดูเมื่อมีบุคคลอื่นทำให้บิดาตาย  เพราะเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9210/2556 .........ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม  กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น  แต่โจทก์ร่วมเป็นบุุตรของผู้ตายกับ ป. ซึ่ง ป. ให้การชั้นสอบสวนว่าผู้ตายกับ ป....

ในการฟ้องร้อง/ต่อสู้คดีประกันภัย หากไม่มีในคำฟ้อง/สู้ในคำให้การในศาลชั้นต้น สามารถยกขึ้นสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า ในการฟ้องร้อง/ต่อสู้คดีประกันภัยหากไม่มีในคำฟ้อง/สู้ในคำให้การในศาลชั้นต้นสามารถยกขึ้นสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2561 โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 450,000 บาท และ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่...

LATEST ARTICLES