LATEST ARTICLES

กรณีผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษามีหลักการอย่างไร

0

กรณีผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ มาตรา ๒๗๑  ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๘๐ ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น ถ้าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น มาตรา ๒๒๖  บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๔  ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้ (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดำเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้ ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกำหนดให้ชำระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นอาจบังคับให้ชำระได้ ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นการให้ชำระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีอำนาจบังคับคดีตามความในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป มาตรา ๒๗๑   ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา ๒๗๖ และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัต ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) และ (๓) ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี...

เงินประกันชีวิต  ไม่ใช่มรดก จึงไม่ตกทอดไปสู่ทายาท  ?

0

เงินประกันชีวิต  ไม่ใช่มรดก จึงไม่ตกทอดไปสู่ทายาท  ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๙๗   ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่า เมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ ถ้าได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ มาตรา ๑๕๙๙  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท วรรคสอง ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๑๖๐๐   ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา ดังต่อไปนี้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๑/๒๕๕๔ ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยระบุภริยาเป็นผู้รับประโยชน์ ปรากฎว่าภริยาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินระบุชื่อภริยาผู้ตายเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย ส่วนภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต สิทธิของภริยาผู้ตายที่จะได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่เกิดขึ้น เงินตามตั๋วแลกเงินจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของภริยาผู้ตาย แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๗๑๔/๒๕๔๒ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ...

กรณีการจัดการทำศพ สามีนอกกฎหมาย

0

กรณีการจัดการทำศพ สามีนอกกฎหมาย ? บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔๙ ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดังว่านั้น วรรคสอง ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น       คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา ดังต่อไปนี้ คือ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๔๘ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 นับได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือจึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2561 ข้อเท็จจริงได้ความว่า เงินในบัญชีเป็นเงินบริจาคที่ได้มาจากการทำศพของผู้ตาย จึงต้องพิจารณาว่า โจทก์เป็นผู้มีอำนาจจัดการศพของผู้ตายหรือไม่ ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์จำเลยว่า ผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกและไม่ได้ตั้งผู้จัดการศพ ทายาทไม่ได้มอบหมายตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการศพ อีกทั้งไม่มีผู้ได้รับทรัพย์มรดกด้วย เพราะผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดก จึงเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ต้องวินิจฉัยโดยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา...

นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง

0

นายจ้างต้องร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของนายจ้างในกรณีใดบ้าง ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง ความรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง มาตรา ๔๒๕ “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่ง ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น” เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของ ลูกจ้าง มี ๔ ประการ คือ ๑. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะเลือกลูกจ้างไม่ดี จึงมีการก่อให้เกิดความ เสียหายขึ้น ๒. นายจ้างมีส่วนผิดเพราะควบคุมดูแลลูกจ้างไม่ดี ปล่อยให้เขาไป ทำละเมิดขึ้น ไม่ดูแลให้ดี ไม่ว่ากล่าวให้ดี ๓. นายจ้างได้รับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง เมื่อได้รับ ประโยชน์ก็ต้องได้รับผลเสียอันเกิดจากการกระทำของลูกจ้างด้วย ๔. ลูกจ้างเป็นผู้ทำการงานนั้น ก็เสมือนหนึ่งนายจ้างเป็นผู้ทำเอง เปรียบเทียบได้ว่าลูกจ้างเป็นแขนขาให้นายจ้างเมื่อไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้า มีผล เท่ากับตัวนายจ้างเป็นผู้กระทำการงานนั้นเอง เพราะฉะนั้นนายจ้างจึงสมควรที่ จะต้องร่วมรับผิดด้วย (ฎ.๔๘๐๗/๒๕๕๘) เมื่อลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้วเป็นละเมิด นายจ้างจึง ต้องรับผลนั้นด้วย โดยต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างตามมาตรา ๒๙๑ แต่นายจ้างก็ มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างได้ในภายหลังตาม มาตรา ๒๙๖ และ ๔๒๖ ผู้เสียหายที่ จะฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างรับผิดตามมาตรา ๔๒๕ จะต้องกล่าวว่า ผู้ทำ ละเมิดเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จะ อาศัยคำให้การของจำเลยที่รับว่าผู้ทำละเมิดเป็นลูกจ้างไม่ได้   iber.me/tanai-athip สำนักงานทนายฟ้องประกัน มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

ความหมาย กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ที่ศาลฎีกาวางหลักไว้มีว่าอย่างไร

0

ความหมาย กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ที่ศาลฎีกาวางหลักไว้มีว่าอย่างไร กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ได้แก่ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่ผู้กระทำได้ กระทำโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร คือ เป็นการกระทำที่อยู่ในลักษณะที่ บุคคลผู้มีความระมัดระวังไม่กระทำด้วย เพราะฉะนั้นการที่เขาทำไป ถือว่าเป็น การกระทำที่ขาดความระมัดระวัง เรียกว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แล้ว เมื่อเปรียบกับคำว่า “ประมาท” ตามที่ ปอ.มาตรา ๕๙ วรรคสี่ ว่า “กระทำ โดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ มีปัญหาว่าประมาทเลินเล่อในทางแพ่งกับประมาทในทางอาญา เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร ได้ อธิบายว่า “ความจริงประมาทในทางอาญากับประมาทเลินเล่อในทางแพ่งนั้น ว่า ตามทฤษฎีระดับไม่เท่ากัน กล่าวคือประมาทเลินเล่อในทางแพ่งนั้นเพ่งอยู่ที่การ ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ระมัดระวังตามที่คนธรรมดาควรจะระวังเท่านั้น ส่วนประมาทในทางอาญานั้นเพ่งถึงการไม่ระมัดระวังถึงขนาดที่จะเป็นภัยแก่ ชุมชน กฎหมายทางอาญาจึงหาทางป้องกันโดยกำหนดโทษไว้ ฉะนั้นประมาท เลินเล่อในทางแห่งอาจจะไม่ถึงขนาดที่จะเป็นความผิดทางอาญาก็ได้ แต่ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ มีความเห็นต่างไปโดยอธิบายว่า “แต่ ในทางแพ่งอาจมีความระวังที่ต้องใช้หลายขนาดแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ที่ กฎหมายบัญญัติไว้ให้ใช้ความระวังขนาดใด อาจต้องรับผิดในอุบัติเหตุ หรือต้องระมัดระวังอย่างวิญญชน  หรือ ระมัดระวังอย่างที่เคยประพฤติในกิจการของตนเองหรืออย่างวิญญูชนใน พฤติการณ์เช่นเดียวกัน รวมทั้งการใช้ฝีมือพิเศษในพฤติการณ์เช่นเดียวกัน หรือในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างเดียวกันนั้น iber.me/tanai-athip สำนักงานทนายฟ้องประกัน มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร...

ลงบันทึกประจำวันตกลงจบค่าเสียหายเรื่องรถชน นายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่

0

ลงบันทึกประจำวันตกลงจบค่าเสียหายเรื่องรถชน นายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ มีบ่อย ๆ คือเรื่องขับรถประมาททำให้เขาเสียหาย เมื่อไปถึงสถานีตำรวจมี การลงบันทึกรายงานประจำวันไว้ว่า คนขับยอมรับว่าขับรถโดยประมาท ยอมใช้ ค่าเสียหายเป็นเงินเท่าไร แล้วคู่กรณีทั้งสองฝ่ายลงชื่อไว้ ต่อมาไปทวงคนขับรถก็ ไม่ยอมชำระ หากฟ้องศาลก็ไม่มีหลักทรัพย์อะไรที่จะบังคับคดี แถมถูกนายจ้างไล่ ออกจากงาน คู่กรณีจึงฟ้องนายจ้างให้รับผิดตามมาตรา ๔๒๕ ในกรณีที่นายจ้าง ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง หนี้ละเมิดต้องมีอยู่ หากหนี้ละเมิดระงับแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด บันทึกรายงานประจำวันที่ทั้งสอง ฝ่ายลงชื่อด้วยกัน ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ละเมิดก็ระงับ เพราะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ กลายเป็นหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นายจ้างก็หลุดทันที หนี้ตามสัญญาฟ้องคนขับได้เพียงคนเดียว ฎ.๑๓ ๙๙/๒๕๒๖ “จำเลยที่ ๑ ขับรถชนรถของ ป. เสียหายจึงทำ ข้อตกลงค่าเสียหายในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีความว่า ป. เรียกร้องให้ จำเลยที่ ๑ นำรถของ ป. ไปซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี จำเลยที่ ๑ ตกลงตามที่ ป. เรียกร้อง คู่กรณีตกลงกันได้ ไม่ประสงค์จะฟ้องร้องกันในทางแพ่งและทาง อาญาต่อกันอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลให้มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ ๑ ทำระงับสิ้นไป ดังนั้นจำเลยที่ ๒...

ดอกเบี้ยในค่าเสียหายมีได้หรือไม่ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ดอกเบี้ยในค่าเสียหายมีได้หรือไม่ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตาม มาตรา ๔๓ ๔ และมาตราต่อ ๆ มาแล้ว หากเป็นตัวเงินจำเลยก็ต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ ๓๗.๕ ต่อปี ตามมาตรา ๒๐๖, ๒๒๔ ทีนี้ก็มีปัญหาว่า ดอกเบี้ยนับแต่วันไหน คือนับแต่วันละเมิดอันเป็นวันผิดนัด หรือนับแต่วันฟ้อง หรือนับแต่วันพิพากษา เดิมศาลฎีกาให้นับแต่วันฟ้อง (ฎ.๕๐๑๔/๒๕๕nn) ก็มี ให้นับแต่วันพิพากษา (ฎ.๑๖๔๔/๒๕๐๙) ก็มี ซึ่งไม่สอดคล้องกับสองมาตรานี้ มาตรา ๒๐๖ “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด มาแต่เวลาที่ทำละเมิด” มาตรา ๒๒๔ “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุ อย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยร้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้” ทั้งสองมาตราอ่านแล้วรวมความได้ว่าในกรณีทำละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่า ผิดนัดแต่วันทำละเมิด เมื่อเป็นหนี้เงินก็ต้องใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดก็คือวันทำละเมิดไม่ใช่วันฟ้อง และไม่ใช่วันพิพากษา ฎ.๒๓๖๑/๒๕๑๕ (ป) “ศาลฎีกา เห็นว่า การที่ศาลกำหนดจำนวนเงิน ค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วัน พิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่ วันทำละเมิด และกฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิด จึง ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด...

วิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง

0

วิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง วิธีกำหนดค่าสินไหมทดแทน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ มาตรา ๔๓๘ กำหนดให้ใช้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด บางครั้งถ้าหากผู้เสียหายมีส่วนผิดศาลก็อาจจะแบ่งส่วนรับผิดได้ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๔๔๒ หรือว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของคนหลายคนที่ ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดตามมาตรา ๔๓๒ ศาลก็อาจจะกำหนดว่าให้คนไหนรับผิด เท่าไรได้ ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๓๔ นี้ ในมาตรา ๔๓๔ แยกพิจารณาได้ดังนี้ โดยสถานใด หมายถึงให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนวิธีไหน ขึ้นอยู่กับการทำ ละเมิดของจำเลย และความเสียหายที่โจทก์ได้รับ จะให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ ราคาทรัพย์ หรือว่าจะให้ใช้ค่าเสียหาย หรือว่าจะให้โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์ ให้จำเลยออกจากที่พิพาท ให้จำเลยหยุดการกระทำต่อไปซึ่งละเมิด หรือให้เพิก ถอนการโอนทรัพย์ (ฎ.๒๔/๒๔๙๕) ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (ฎ. ๔๘๑/๒๕๕๕) เพียงใด จะให้ใช้เป็นจำนวนเงินเท่าไร กฎหมายกำหนดให้ศาลใช้ ดุลพินิจตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็น ถึงความเสียหายที่ได้รับ เป็นจำนวนเท่าไร หากสืบให้ศาลเห็นไม่ได้ ศาลอาจ กำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เคยมีคดีที่ศาลฎีกาไม่กำหนดค่าเสียหายให้ เพราะโจทก์ไม่สืบค่าเสียหาย ศาลพิพากษาห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท โดยไม่กำหนดค่าเสียหายให้ (ฎ.๒๕๔๙/๒๕๒๐) ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง ศาลต้อง ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้โดยการประมาณเอา (ฎ.๓๑๐๑/๒๕๒๔, ที่ ๑๔๑๘/๒๕๓๔, และที่ ๖๑๗๑/๒๕๔๑) ในกรณีเสียหายแก่ชื่อเสียง...

ความรู้เกี่ยวกับประเภทค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย

0

ประเภทค่าสินไหมทดแทน ในมาตรา ๔๓๔ นี้ มีอยู่สองคำที่ต้องทำ ความเข้าใจคือ คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” กับคำว่า “ค่าเสียหาย” ทั้งสองคำนี้มี บัญญัติไว้ในเรื่องนิติกรรมสัญญาด้วย โดยในมาตรา ๒๒๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่น ที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น” คำว่า “ค่าเสียหาย” และ “ค่า สินไหมทดแทน” ตามมาตรา ๒๒๒ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่คำว่า “ค่า สินไหมทดแทน” ตามมาตรา ๔๓๔ เป็นคำกว้าง เป็นการชดใช้ความเสียหายอัน เกิดจากการทำละเมิด ได้แก่ ๑. การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์นั้น ๒. การใช้ค่าเสียหาย แต่การใช้ค่าสินไหมทดแทนหามีเพียงการคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคา ทรัพย์และการใช้ค่าเสียหายเท่านั้นไม่ กรณีทำให้เขาเสียหายแก่ชื่อเสียง แล้ว ศาลสั่งให้จัดการเพื่อให้ชื่อเสียงคืนดีตามมาตรา ๔๔๗ ก็เป็นการใช้ค่าสินไหม ทดแทนอย่างหนึ่ง เพราะอยู่ในหมวด ๒ เรื่องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เหมือนกัน การให้หยุดการทำละเมิดต่อเนื่องแม้ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทน แต่ก็ อาจฟ้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เช่น การอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด แล้วไม่ยอมออก ต้องอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ตามมาตรา ๑๓.๓๖ หรือสิทธิ...

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาคำนวณจากอะไรบ้าง

0

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาคำนวณจากอะไรบ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2560 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 17 มีนาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 9 ให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,275,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 17 มีนาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 4 ฉบับลงวันที่...