ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอร์ขณะขับรถมีความผิดอะไรบ้าง

0

ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอร์ขณะขับรถมีความผิดอะไรบ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2565 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291, 368 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 142, 157, 160 ตรี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291, 368 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) (4), 142 (2) วรรคสี่ (ที่ถูก 142 วรรคสอง, 154 (3)), 157, 160 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 40,000 บาท ฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น จำคุก 2...

ขับรถชนท้ายผู้ตาย ภริยาผู้ตายสามารถฟ้องเรียกค่าปลงศพได้หรือไม่

0

ขับรถชนท้ายผู้ตาย ภริยาผู้ตายสามารถฟ้องเรียกค่าปลงศพได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2565 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 402,795.40 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 304,562.40 บาท ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ 23,847 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมควร ผู้ตาย จำเลยที่ 2 รับประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ในส่วนของประกันภัยภาคบังคับ จำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน...

ดอกเบี้ยค่าขาดไร้อุปการะมีได้หรือไม่ ศาลกำหนดให้ได้ตั้งแต่วันใด

0

ดอกเบี้ยค่าขาดไร้อุปการะมีได้หรือไม่ ศาลกำหนดให้ได้ตั้งแต่วันใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยที่ 1 ขอให้หมายเรียกนาย ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การขอให้ยกคำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 654,631 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 55,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและระยะเวลาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นมารดานางสาวณัฐรัตน์ ผู้ตาย เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งหมด จำเลยที่ 1...

การเก็บตัวอย่างเลือดผู้ต้องหาต้องได้รับความยินยอม หรือไม่

0

การเก็บตัวอย่างเลือดผู้ต้องหาต้องได้รับความยินยอม หรือไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157, 160 ตรี จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 157 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี และปรับ 20,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนด 1 ปี และให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่จำเลยและพนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30...

การแบ่งความรับผิดของจำเลยร่วม ในคดีละเมิด

0

การแบ่งความรับผิดของจำเลยร่วม ในคดีละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยที่ 1 ขอให้หมายเรียกนาย ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การขอให้ยกคำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 654,631 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 55,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและระยะเวลาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นมารดานางสาวณัฐรัตน์ ผู้ตาย เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งหมด จำเลยที่ 1...

ค่าสินไหมทดแทนต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ค่าสินไหมทดแทนต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2565 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามขอให้เรียกบริษัท ท. และบริษัท ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต โดยให้เรียกว่าจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ต่อมาโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยร่วมทั้งสองอ้างว่า จำเลยร่วมทั้งสองได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ครบจำนวนตามกรมธรรม์ประกันภัยทั้งสามฉบับแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยร่วมทั้งสองออกจากสารบบความ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,220,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายมนัส ผู้ตาย...

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถ ศาลวินิจฉัยว่าใครประมาท

0

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถ ศาลวินิจฉัยว่าใครประมาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 รวม 1 กระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก จำคุก 2 เดือนและปรับ 2,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือนและปรับ1,000 บาท รอการลงโทษจำคุก 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้เรียงกระทงลงโทษและไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160อีกกระทงหนึ่งจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 เดือนสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา...

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องร่วมกับผิดกรณีผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วยหรือไม่

0

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องร่วมกับผิดกรณีผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์และอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาได้ขับรถยนต์จิ๊ปของจำเลยที่ 4 ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์กระบะแล้วเสียหลักชนกับรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายและเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันดังกล่าวได้ซ่อมแซมเสียค่าใช้จ่ายไปจำนวน 150,000 บาท จำเลยที่ 2และที่ 3 ในฐานะบิดามารดาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์จิ๊ปต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินจำนวน 154,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสี่ให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเหตุแห่งการละเมิดทั้งหมดเกิดจากความประมาทของนายนิพนธ์บุญจันทร์ผู้ขับรถยนต์กระบะ จนเป็นเหตุให้เกิดการเฉี่ยวชนกันจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์ด้วยความประมาทและไม่ได้อยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ใช้ความระมัดระวังดีแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นคนบอกให้จำเลยที่ 3นำกุญแจรถจิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 4 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำละเมิดด้วยจึงไม่ต้องรับผิด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องสูงเกินสมควรหากเสียหายก็ไม่เกิน 30,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาท...

รถยนต์เบรคแตก ขับรถไปซ่อมโดยนายจ้างไม่ได้ใช้ ต้องรับผิดหรือไม่

0

รถยนต์เบรคแตก ขับรถไปซ่อมโดยนายจ้างไม่ได้ใช้ ต้องรับผิดหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2508 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารประจำทางและเป็นนายจ้างจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ขับรถของจำเลยที่ 1 ในทางการจ้างด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ต้องเสียค่าซ่อมเป็นเงิน 5,165 บาท และค่าเสื่อมราคาเป็นเงิน 10,000 บาท ขอให้ศาลบังคับ จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติงานในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณา ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคารถ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าซ่อมรถและค่าเสื่อมราคาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 รับคนโดยสารซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างแล้วจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันนั้นออกไปนอกเส้นทางสัมปทาน โดยไม่มีผู้โดยสารหรือคนเก็บเงินค่าโดยสารไปในรถด้วย เพราะรถของจำเลยที่ 1 เบรคแตก จำเลยที่ 2 ได้ขับรถไปซ่อมเบรคจึงเกิดชนกับรถโจทก์ จำเลยที่ 2 เอารถไปซ่อมเบรคนั้น เป็นกิจการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในทางการจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่...

ลูกจ้างขับรถออกนอกเส้นทาง เกิดเหตุชนกัน นายจ้างต้องรับผิดหรือไม่

0

ลูกจ้างขับรถออกนอกเส้นทาง เกิดเหตุชนกัน นายจ้างต้องรับผิดหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879 - 880/2514 โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขับรถจี๊ปเล็กของกรมชลประทานจำเลยที่ 2 โดยประมาท ชนรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 เสียหายและโจทก์ที่ 2, 3 และ 4 ได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ขับรถไปโดยพลการ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้าง ขอให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาท ชนรถโจทก์เสียหายจริงดังฟ้อง แต่ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่คน จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถของกรมชลประทานจำเลยที่ 2 จำเลยที่...