เสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถจะอ้างว่าไม่เคยกระทำความผิดและมีภาระเลี้ยงดูครอบครัวเพื่อให้ศาลรอลงโทษได้หรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2560 การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถขับรถบรรทุกสิบล้อ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นที่ใช้เส้นทางเดินรถร่วมกับจำเลยได้ทุกขณะเพราะอาการมึนเมาเมทแอมเฟตามีนย่อมทำให้ขาดสติไม่สามารถใช้ความระมัดระวังในการขับรถได้อย่างเต็มที่ดังเช่นในภาวะที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวหรือมีเหตุอื่นก็ตาม ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย กล่าวโดยสรุป การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถและอ้างว่าไม่เคยกระทำความผิดและมีภาระเลี้ยงดูครอบครัวเพือให้ศาลรอลงโทษก็ตาม ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

ขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาท พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับคดีจะจบหรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา (2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว (3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2540 จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเพื่อให้ความผิดทั้งหมดเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37ได้ แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2),160 วรรคสาม ตามฟ้องได้ กล่าวโดยสรุป การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาท แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับ คดีก็ยังไม่เลิกกัน ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้วชนคนตายจะถือว่าจำเลยประมาทหรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2540 จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 80 ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อขับรถมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีรถแล่นอยู่ข้างหน้าเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ตัดข้ามถนนจำเลยใช้สัญญาณแตรเตือน 2 ครั้งก่อนหักหลบไปทางขวาแต่ผู้ตายตกใจเร่งเครื่องยนต์พุ่งออกมาอีกจำเลยห้ามล้อรถยนต์แล้วแต่ไม่สามารถหยุดรถได้ทันทีเมื่อปรากฏว่าเส้นทางเดินรถของจำเลยเป็นทางเอกซึ่งผู้ตายจะต้องหยุดรอให้รถของจำเลยผ่านไปก่อนประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนการที่ผู้ตายเห็นแสงไฟรถของจำเลยยังขับข้ามถนนจนเกิดชนกันขึ้นเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะหลีกเลี่ยงได้จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลยต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้วแม้รอยห้ามล้อรถจำเลยจะยาวประมาณ 22 เมตรก็ไม่อาจบ่งชี้ว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของรถที่แล่นสวนมาเมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยกระทำโดยประมาทจึงฟังลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้ กล่าวโดยสรุป ตามฎีกานี้แม้การที่จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 80 ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้วชนคนตาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท (ผู้ตายขับตัดหน้าในเวลากลางคืนในระยะกระชั้นชิด) ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรรมธรรม์จะตกเป็นของใคร

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11711/2554 เงินเบี้ยประกันชีวิตที่ ม. ผู้เอาประกันภัยส่งแก่ผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 รับไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 4 โดยชอบแล้ว ผู้คัดค้านที่ 4 จึงไม่อาจยกเอาความสำคัญผิดแหล่งที่มาเกี่ยวกับเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับชำระจาก ม. มาเป็นข้ออ้างอันจะเป็นเหตุให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างผู้คัดค้านที่ 4 กับ ม. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย...

จำเลยกลับรถในขณะที่มีรถคันอื่นตามมาในระยะ 100 เมตรจะถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 35 รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง แล้วแต่กรณี มาตรา 52 ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถหรือเลี้ยวรถทางขวาในเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมาในระยะน้อยกว่าหนึ่งร้อยเมตร เว้นแต่เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2542 จำเลยกลับรถในขณะที่มีรถอื่นตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร จึงเป็นการขับรถยนต์โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ ถือได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยความประมาท ส่วนที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ 2 ไม่ขับในช่องเดินรถซ้ายสุดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯ มาตรา 35 วรรคสอง ก็ดี หรือขับรถจักรยานยนต์ ด้วยความเร็วเกินสมควรหรือไม่ก็ดี ไม่ว่าการกระทำของ โจทก์ร่วมที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่ ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาท กลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่ กล่าวโดยสรุป จำเลยกลับรถในขณะที่มีรถคันอื่นตามมาในระยะ 100 เมตร ถือว่าเป็นกลับรถในระยะกระชั้นชิด ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาท ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่...

รถจักรยานยนต์ไม่มีไฟหน้ารถเมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนจะอ้างว่าไม่ได้ประมาทได้หรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2548 จำเลยขับรถจักรยานยนต์ที่ไม่มีไฟหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงโดยประมาทไม่ลดความเร็ว เมื่อเข้าใกล้ทางโค้งเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่จนเป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับจนถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท กล่าวโดยสรุป การที่ขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟหน้ารถเมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนจะอ้างว่าไม่ได้ประมาทไม่ได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

“รถขายโรตี” อยู่ในความหมายของยานพาหนะตามพ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 หรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อตำรวจ*ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543 พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง กับตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" และ "พาหนะ" ไว้ โดยคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไป พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า"ขับ" คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย...

ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ได้หรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2534 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43, 45, 157 และ ป.อ. มาตรา 300 สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตพอแปลความหมายได้ว่าอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 300 ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป กล่าวโดยสรุป ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ไม่ได้ เพราะความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหาย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

บริษัทประกันเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันแล้ว ดังนี้ผู้เอาประกันจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนอีกได้หรือไม่

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2561 ค. ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีผู้บริโภค เรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ทำให้ ค. ได้รับอันตรายสาหัส และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำละเมิดต่อ ค. โดยจำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ค. ซึ่งค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องรับผิดต่อ ค. นั้นได้รวมค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ค. และรับช่วงสิทธิของ ค. มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีนี้แล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน ค. กับจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งเจ็ดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์อีกเพราะจะมีผลให้จำเลยทั้งเจ็ดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซ้ำซ้อน หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้เอาประกันภัยต่อไป กล่าวโดยสรุป บริษัทประกันได้เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันแล้ว ดังนี้ผู้เอาประกันจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดอีกไม่ได้ เพราะจะทำให้ผู้ทำละเมิดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ซ้ำซ้อน ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ มีกำหนดอายุความกี่ปี

0

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสองปีนับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2547 ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 2 ปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด ดังนั้น แม้ลูกหนี้และกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันได้มีหนังสือรับสภาพหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยและขอผ่อนชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เลย เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงล่วงเลยกำหนดเวลา 2 ปีแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกับผู้ร้องขอที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยระบุชื่อเจ้าหนี้รายนี้เป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งในจำนวนเจ้าหนี้หลายรายทั้งลูกหนี้ได้มีหนังสือถึงเจ้าหนี้ให้ตรวจสอบและยืนยันยอดตามที่ปรากฏในบัญชีของลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้รับสภาพความรับผิดต่อเจ้าหนี้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดตามมาตรา 193/35 ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กล่าวโดยสรุป สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ มีกำหนดอายุความ 2 ปี ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716