ถูกฟ้องคดีอาญาได้รับหมายศาลต้องทำอย่างไร

0

๑.หมายนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองโดยว่าจ้างทนายความยื่นฟ้องคดีโดยตรงต่อศาล มิได้ดำเนินการผ่านตำรวจหรือพนักงานสอบสวน หากท่านได้รับหมายนัดจึงต้องดูรายละเอียดว่าศาลกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องวันใด และควรรีบนำสำเนาคำฟ้องข้อเท็จจริงในคดี พร้อมพยานหลักฐานปรึกษาทนายความทันที เพื่อให้ทนายความทำการถามค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง หากคดีไม่มีมูลศาลจะยกฟ้อง โดยในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องท่านไม่จำเป็นต้องไปศาล เนื่องจากหากไปศาลในวันดังกล่าว และศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ศาลก็จะประทับฟ้อง ท่านจะตกเป็นจำเลยและถูกควบคุมตัว ซึ่งจะต้องมีการยื่นหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวต่อไป ๒.หมายเรียกให้ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ๑.) เมื่อได้รับหมายเรียกให้ส่งเอกสารหรือวัตถุที่อยู่ในความครอบครองต่อ ศาล ท่านจะต้องจัดเตรียมเอกสารหรือวัตถุตามที่ระบุในหมายเรียกหรือคำสั่งศาลและ ส่งมายังศาลที่ออกหมาย ให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในหมายเรียกนั้น ๒.) หากมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งเอกสารหรือวัตถุภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหมายเรียกหรือคำสั่งศาลบ้างให้แจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลก่อนครบกำหนดระยะเวลา และตั้งศูนย์ประสานงานพยานของศาล ๓.หมายเรียกพยานบุคลให้เป็นพยาน ๑).เมือท่านได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาลแล้วท่านควรตรวจสอบหมายเรียกให้แน่ชัดว่าต้องเดินทางไปเบิกความที่ศาลใดคดดีอะไรวันเวลาใดรวมทั้งตรวจสอบที่ตั้งศาล ๒.)เมื่อถึงวันนัดตามหมายนัดให้ท่านมาศาลตามกำหนดอย่างเคร่งครัดหากท่านไม่สามารถมาศาลตามกำหนดนัดได้จะต้องแจ้งเหตุขัดข้องต่อศูนย์ประสานงานพยานก่อนวันนัดพิจารณา โดยทันที หากเกิดเหตุจำเป็นเร่งด่วน ๓.) หากท่านจงใจไม่มาศาลโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ศาลอาจออกหมายจับท่านมากักขังจนกว่าจะเบิกความในวันเวลาที่เห็นสมควรได้ โดยเหตุที่ศาลอาจไม่รับฟังเป็นข้ออ้างในการไม่มาศาล เช่น มีความเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงมีธุระ หรือติดประชุมหรือติดงานโดยไม่ปรากฏเหตุผลจำเป็น มีราชการซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าเป็นราชการสำคัญ หรือ รอการอนุมัติจากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ไปเบิกความโดยที่ศาลได้มีหมายแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว เป็นต้น ๔.หมายเรียกผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน กรณีนี้แม้จะยังไม่ใช่หมายศาล แต่ท่านควรจะไปพบพนักงานสอบสวนตามกำหนดนัด หากไม่สามารถไปตามกำหนดนัดได้ เพราะมีเหตุผลอันสมควร ก็อาจจะทำหนังสือถึงพนักงานสอบสวนขอเลื่อนวันเข้าพบออกไปหรือมอบหมายให้ทนายความทำหนังสือขอเลื่อนวันนัดออกไปก่อน หากท่านไม่ไปตามกำหนดนัดตามหมายเรียก จำนวน ๒ ครั้ง พนักงานสอบสวนอาจขอใหศาลออกหมายจับท่านมาดำเนินคดีต่อไป ในชั้นสอบสวนหากไม่ได้กระทำความผิดหรือประสงค์จะต่อสู้คดีหรือ ต้องมีทนายเข้าไปดูแลคดี ควารติดต่อทนายความร่วมฟังการสอบสวนหรือให้ปากคำตั้งแต่ชั้นสอบสวนเพราะ คำให้การชั้นสอบสวนนนั้นถือว่าเป็นสาระสำคัญที่จะให้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพนักงานอัยการและชั้นพิจารณาคดีของศาล ต่อไป ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

การเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญามาตรา 44/1 ต้องทำอย่างไร

0

ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกหมิ่นประมาท ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือคดีเกี่ยวกับทรัพย์กรณีเรียกดอกเบี้ยผิดนัด เป็นต้น นอกจากผู้เสียหายจะมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งฐานละเมิดแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฯ ยื่นฟ้องได้ด้วย ซึ่งเรียกว่าการยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ข้อกฎหมายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้ หลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอ 1.เป็นคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ 2.ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย 3.ยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง 4.ผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง 5.คำร้องดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ 6.ในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ คือในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ ลัก วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกฯลฯ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้ แต่สามารถเรียกค่าเสียหาย และดอกเบี้ยตามกฎหมายได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส...

คำพิพากษาฎีกาดูหมิ่นซึ่งหน้า

0

อีดอก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2521 จำเลยถ่มน้ำลายไปทางผู้เสียหายและด่าผู้เสียหายว่า พวกอีดอกดำ คำว่าอีดอก เป็นถ้อยคำหยาบคาย สามัญชนฟังแล้วเข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่าผู้ถูกด่า เป็นหญิงไม่ดี จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ปรับ 500 บาท อีเหี้ย-อีสัตว์ -อีควาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548 จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับจัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 (ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ), มาตรา 30 (กักขังแทนค่าปรับ) อีตอแหล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552 ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อผู้เสียหายว่า "อีตอแหล มาดูผลงานของแก" เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย...

ด่ากันทางโทรศัพท์มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่

0

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2557 พนักงานอัยการจังหวัดพังงา โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 393 ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยอยู่ห่างไกลกันคนละอำเภอ แต่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะบทบัญญัติมาตรานี้มีเจตนารมณ์ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายและจำเลยทำงานที่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 18 (บางวัน พังงา) ผู้เสียหายเป็นลูกจ้างตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ส่วนจำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าสถานี ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง...

โทษทางอาญามีอะไรบ้าง

0

โทษทางอาญามีอยู่ 5 สถาน คือ โทษประหารชีวิต โทษจำคุก โทษกักขัง โทษปรับ และโทษริบทรัพย์สิน โทษประหารชีวิต จำเลยจะถูกประหารชีวิตต่อเมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาอันถึงที่สุด เว้นแต่จำเลยจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวขอให้พระราชทานอภัยโทษก็จะได้รับการรอการประหารชีวิตไว้จนกว่าจะพ้น 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถวายเรื่องราว แต่ถ้าทรงยกเรื่องราวนั้นเสียก็จะดำเนินการประหารชีวิตได้เลย โทษจำคุก จะถูกขังไว้ในเรือนจำ การคำนวณระยะเวลาจำคุกจะเริ่มนับวันเริ่มจำคุกรวมเข้าด้วยและนับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมงถ้าระยะเวลาจำคุกกำหนดเป็นเดือนก็นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ก็คำนวณตามปีปฏิทิน โทษกักขัง จำเลยจะถูกกักขังไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ แต่มิใช่เรือนจำ โดยปกติจะนำไปกักขังที่สถานีตำรวจหรือถ้าเจ้าพนักงานตำรวจเห็นสมควรก็อาจจะส่งตัวไปกักขังไว้ ณ สถานกักขังกลาง จังหวัดปทุมธานี ก็ได้ หรือ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจจะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังไว้ในที่อาศัยของจำเลยเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับจำเลยไว้ โทษปรับ ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาก็จะถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับ หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับในวันฟังคำพิพากษา ศาลอาจสั่งให้กักขังแทนค่าปรับได้ทันที โดยถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อน เว้นแต่จำเลยจะขอประกันตัวเพื่อหาเงินมาชำระค่าปรับ โทษริบทรัพย์ เป็นโทษซึ่งกระทำแก่ทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในกรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์สิน หากเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด และทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงอาจยื่นคำร้องขอคืนต่อศาลได้ การยื่นคำร้องขอทรัพย์สินคืนนี้โดยปกติยื่นได้ภายในกำหนด 1 ปีในกรณีที่เป็นทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่น หรือเฮโรอีน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของผู้ใด ศาลจะสั่งริบทั้งสิ้น ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

เมื่อถูกจับในคดีอาญาควรรับสารภาพหรือควรปฏิเสธ

0

"ในคดีอาญานั้นเมื่อถูกจับดำเนินคดีไม่ว่าจะในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลย เมื่อถูกตำรวจจับกุม ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ต้องหาอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้" คำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิ คำพิพากษาฎีกาที่ 2443/2560 ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ห้ามรับฟังคำรับสารภาพชั้นจับกุม มาตรา 227/1 พยานบอกเล่า ในชั้นจับกุมจำเลยให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยและให้ น. เก็บไว้ คำให้การดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ส่วนคำให้การในชั้นจับกุมของ น. ที่ให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่นำมาให้ น. เก็บไว้ที่ตัวเพื่อรอจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป เป็นถ้อยคำอื่นและรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ คำให้การชั้นสอบสวนของ น. ที่ให้การว่า จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ น. ถือไว้ก่อน เนื่องจากจำเลยไปขนไม้มาเก็บ ทำนองว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลย เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดส่วนคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่นมีพฤติการณ์พิเศษหรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนคำซัดทอดและคำให้การดังกล่าวทั้ง น. และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนแตกต่างกันเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน โดย น. ให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลย แต่จำเลยให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยและ น. มีไว้ร่วมกันจึงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของ น....

คำท้าในคดีแพ่ง คืออะไร

0

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) คำท้าในคดีแพ่ง คือ การที่คู่ความต่างแถลงร่วมกันต่อศาล โดยตกลงจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของฝ่ายนั้นทั้งหมด โดยถือว่าเป็นคำรับกันในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ย่อมส่งผลให้ศาลจะไปรับฟังข้อเท็จจริงให้ผิดเพี้ยนไปจากที่ท้ากันไม่ได้ ปัญหาข้อพิพาทนั้นจะถูกแบ่งเป็นสองอย่าง คือ 1 ปัญหาข้อกฎหมาย กับ 2 ปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลจะใช้ความรู้ทางกฎหมายของศาลวินิจฉัยชี้ขาดโดยที่คู่ความไม่ต้องนำสืบ ส่วนปัญหาข้อเท็จจริง คู่ความต้องใช้พยานหลักฐานมาพิสูจน์กัน มีข้อยกเว้นอยู่ 3 ข้อ ที่คู่ความไม่จำต้องใช้พยานหลักฐานมาพิสูจน์ คือ 1. ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป 2. ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ 3. ข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความรับกันแล้วหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตัวอย่าง โจทก์กับจำเลยตกลงท้ากันว่า ถ้านาง ก.กล้าสาบาน โจทก์จะยอมรับข้ออ้างของจำเลยและยอมแพ้คดี แต่ถ้านางก.ไม่กล้าสาบานจำเลยต้องแพ้คดี เมื่อถึงวันนัดหมายนางก.ไปยังสถานที่ที่กำหนดแล้วไม่ยอมสาบาน ทั้งนี้นางก.จะรู้หรือไม่รู้ว่าโจทก์กับจำเลยท้ากันก็ไม่เกี่ยว เมื่อนางก.ไม่ยอมสาบาน ศาลก็ต้องตัดสินให้จำเลยแพ้คดี เพราะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในข้อสำคัญของคดีแล้ว หลักเกณฑ์ 1. คำท้านั้นต้องมีเงื่อนไขว่าจะต้องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เช่น ท้าในเรื่องการสาบานตนก่อนเบิกความ (ฎ.339/2492) หรือท้ากันในเรื่องข้อเท็จจริงที่พยานเบิกความ (ฎ.2181/2523) แต่ไม่รวมถึงเรื่องที่อาจเข้าลักษณะเป็นการพนันขันต่อ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและส่งผลให้คำท้านั้นไม่มีผลบังคับและถูกบอกเลิกได้ เช่น ท้ากันโดยถือเอาการออกรางวัลของสลากกินแบ่งรัฐบาลมาเป็นข้อแพ้ชนะ เป็นต้น 2. คำท้านั้นอาจท้ากันในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีก็ได้...

ลูกหนี้อ่านไลน์แล้วไม่ตอบถือว่ารับทราบแล้วหรือยัง

0

กรณีการทวงถามหนี้ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ลูกหนี้อ่านข้อความการทวงถามหนี้แต่ไม่ตอบ ถือว่าเป็นการติดต่อและลูกหนี้ได้รับทราบการทวงถามหนี้แล้ว แม้ว่าจะไม่มีการตอบข้อความนั้นภายหลังจากที่ได้อ่านก็ตาม ส่วนกรณีการทวงถามหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ ถือว่าเป็นการติดต่อทวงถามหนี้ตามประกาศ โดยระบุว่า ผู้ทวงถามหนี้ได้มีการโทรศัพท์ไปยังลูกหนี้หรือบุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ และบุคคลดังกล่าวรับสายโทรศัพท์แล้วผู้ทวงถามหนี้ได้มีการพูดคุยในสาระสำคัญโดยแสดงเจตนาในการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ - การทวงหนี้ หมายถึง การทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ไม่รวมการทวงหนี้ทั่วไป - ผู้ทวงถามหนี้ หมายถึง ผู้ให้สินเชื่อทางการค้าปกติ, คนที่ซื้อหรือรับโอนหนี้, ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน - เจ้าหนี้ตามกฎหมายนี้ เช่น ธนาคาร, บริษัทบัตรเครดิต, บริษัทเช่าซื้อ หรือเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น ***กรณีเพื่อนยืมเงินเพื่อน ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ จะทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ก็ไม่ผิดโทษ - ถ้าเจ้าหนี้ทวงหนี้เกินวันละ 1 ครั้ง จะมีความผิดทางปกครอง ซึ่งคณะกรรมการทวงหนี้ สามารถสั่งให้หยุดได้ ถ้าไม่หยุดจะโดนโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท - นอกจากห้ามทวงเกินวันละ 1 ครั้งแล้ว ยังมีข้อห้ามอื่น ๆ อีก ได้แก่ ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้, ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง, ห้ามประจาน ( อาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา...

ปลอมสำเนาบัตรประชาชนจะมีความผิดหรือไม่

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12137/2558 ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก สรุป ฎีกานี้เป็นการปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการปลอมเอกสารธรรมดา ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2549 จำเลยถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขในช่องชื่อ ชื่อสกุล วันออกบัตร วันหมดอายุ และนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปถ่ายสำเนาเอกสารอีก เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับและน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยจะมิได้แก้ไขในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 265 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) สรุป ฎีกานี้มีการแก้ไขข้อความในสำเนาบัตรประชาชนอันเป็นเอกสารราชการแล้วนำไปถ่ายสำเนาซ้ำอีก จึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เสนอแนะ ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยให้ประชาชนที่ใช้บัตรสมาร์ทการ์ดสามารถถ่ายสำเนาบัตรประชาชนด้านหน้าเพียงด้านเดียวเพื่อยื่นเรื่องติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้แล้ว ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

“แฟนบอกเลิก”เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่

0

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๘๓/๒๕๔๖ "ความรัก" เป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิดและการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก ... ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกผู้ตายข่มเหงจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เพราะจำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์ฉันคนรัก แต่ผู้ตายต้องการเลิกความสัมพันธ์กับจำเลยไปมีรักกับผู้ชายคนใหม่ จำเลยจึงบันดาลโทสะฆ่าผู้ตายนั้น เห็นว่าจำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลฏีกาได้ให้เหตุผลถึงความรักที่จำเลยอ้างว่ามีต่อแฟนของตน ศาลเห็นว่า ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ความรักที่แท้จริงคือความปราถนาดีต่อคนที่ตนรัก ความยินดีที่คนรักของตนรักมี ความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิดและการเสียสละความสุขของตน เพื่อความสุขของคนที่ตนรัก จำเลยปราถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียวมิได้คำนึงถึง จิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ " ทั้งเป็นความเห็นผิดที่ เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716