การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจัดการสินสมรส ซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1440 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่ เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดย สุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับ แต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

การบรรยายคำฟ้อง

1.ต้องฟ้องทั้งผู้โอน และผู้รับโอนจึงจะเพิกถอนนิติกรรมได้ จะฟ้องคนใดคนหนึ่งไม่ได้

2. ต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1(คู่สมรสอีกฝ่าย) เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีทรัพย์สินใดเป็นสินสมรส แล้วคู่สมรสอีกฝ่าย

ไปทำนิติกรรมตามมาตรา 1476 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์

3.ต้องบรรยายให้เห็นด้วยว่า ผู้รับโอนไม่สุจริต หรือไม่เสียค่าตอบแทนในการรับนิติกรรมนั้น

4.ควรบรรยายให้เห็นด้วยว่า โจทก์ทราบเรื่องเมื่อใด อยู่ในระยะเวลาตามกฎหมายที่จะเพิกถอนได้

5.คำขอท้ายฟ้องต้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10366/2553

การให้สินสมรสแก่บุคคลอื่นเป็นนิติกรรมที่เป็นการจัดการสินสมรส ซึ่งสามีกับภริยา ต้องกระทำร่วมกันหรือต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้การทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืน มาตรา 1476 เป็นโมฆะหรือโมฆียะ คงมีผลเพียงว่านิติกรรมนั้นอาจถูกอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องให้ ศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา 1490 เท่านั้น

แม้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของ ส. กับ ม. และ ส. จดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้โจทก์ในขณะที่ ม. ยังมีชีวิตอยู่ โดย ม. ไม่ได้รู้เห็นยินยอมหรือให้สัตยาบัน ซึ่ง ม. หรือทายาทของ ม. มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาให้ดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอน โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งเป็นทายาท คนหนึ่งของ ม. ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้

ข้อสังเกต
ในการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพังโดย ไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ถ้าจะให้มีการเพิกถอนนิติรรมดังกล่าวได้ทุกกรณีก็อาจจะเป็นที่เสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น มาตรา 1440 จึงได้บัญญัติคุ้มครอง บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไว้ว่า ห้ามมิให้เพิกถอนนิติกรรมในการจัดการสินสมรสที่ทำไปโดยลำพังนั้น หากการเพิกถอนดังกล่าวจะไปกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เช่น ภริยาเอาที่ดินสินสมรสไปขายและบุคคลภายนอกซื้อไว้โดยสุจริต เช่นนี้ สามีจะขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินนี้ไม่ได้ แต่ถ้า ภริยาเอาที่ดินสินสมรสไปให้บุคคลภายนอก แม้บุคคลภายนอกจะรับไว้โดยสุจริตโดยเข้าใจว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาก็ตาม แต่เนื่องจากบุคคลภายนอกไม่เสียค่าตอบแทน สามีก็สามารถ ที่จะเพิกถอนสัญญาให้โดยเสน่หานั้นได้

ติดต่อทนายความ 0619399935

ทนายอธิป