เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งขายฝากที่ดิน โดยเจ้าของรวมอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม มีผลผูกพันเจ้าของรวมอื่นหรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ วรรคสอง แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน คำพิพากษาฎีกาที่ 5240/2559 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละกึ่งหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา...

หากมีเหตุจำเป็น ศาลจะรับฟังบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นได้หรือไม่

0
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 บัญญัติว่า ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นมาประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายเรียกผู้เสียหายและ ม. หลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ตัวผู้เสียหายและ ม. มาเบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายและ ม. แต่โจทก์ก็ไม่ได้ตัวมาสืบ ทั้งเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว...

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพจากผู้ทำละเมิดบุตรได้หรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร มาตรา 1649 ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดังว่านั้น ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2560 โจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบิดาของผู้ตายโดยพฤตินัย มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องธรรมเนียมความเชื่อในท้องถิ่นมาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547...

เจ้าของบัญชีไม่ตรวจสอบรายการเดินสะพัดเป็นเหตุให้ไม่ทราบว่ามีคนปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย จะยกเรื่องลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2563 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี…ท่านว่าลายมือชื่อปลอม…เช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด…เพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการห้ามในการจะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นหากลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ยังคงมีข้อยกเว้นว่า เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่ง…ถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม…นั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ซึ่งข้อยกเว้นกรณีการอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั้น อาจเป็นกรณีที่เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมได้แสดงกิริยาอย่างหนึ่งอย่างใดให้คนภายนอกหลงเชื่อว่าลายมือชื่อที่ลงในตั๋วเงินนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของตน เป็นเหตุให้บุคคลภายนอกนั้นทำการไปโดยหลงเชื่อตามที่เจ้าของชื่อแสดงออกมาจนอาจเป็นที่เสียหายแก่เขา เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมจะไปอ้างในภายหลังว่าลายมือชื่อนั้นปลอมให้เป็นการเสียหายแก่เขาไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็ดพิพาทอย่างวิญญูชนที่พึงกระทำ และโจทก์ไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบจำนวนเช็คและใบแจ้งหนี้ที่จำเลยที่ 10 (ธนาคาร) ส่งให้ตรวจสอบทุก ๆ เดือน นั้น...

หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดมีสิทธิฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและจัดการชำระบัญชีหรือไม่

0
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2561 จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้กระทำล่วงละเมิดบทบังคับอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่โจทก์ทั้งสี่โดยจงใจ มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ แต่เมื่อบทบัญญัติในเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้กล่าวถึงว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิขอเลิกห้างฯ ได้หรือไม่ จึงต้องนำบทบัญญัติในเรื่องการเลิกห้างฯ ของห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับตามที่มาตรา 1080 บัญญัติไว้ และมีผลให้หุ้นส่วนคนใดอาจร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างฯ ตามมาตรา 1057 (3) ได้ โจทก์ทั้งสี่เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ย่อมมีอำนาจฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1...

ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความ คำขอส่วนแพ่งจะต้องยกฟ้องไปด้วยหรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 3275/2562 โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่จำเลยไม่ยอมคืนเงินที่โจทก์ร่วมนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อนำเงินไปให้ผู้มีชื่อกู้ยืมแทนผู้เสียหาย แม้ต่อมาจำเลยจะถอนเงินออกจากบัญชีและโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการถอนเงินซึ่งเป็นเหตุการณ์ภายหลังจากที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว หาทำให้สิทธิในการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมขยายออกไปไม่ โจทก์ร่วมเพิ่งไปร้องทุกข์ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ทำให้คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตกไปด้วย สรุป พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา...

ทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทำแทนได้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 4548/2562 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความจึงต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้ ดังนั้น เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โจทก์แต่งตั้งให้ ว. เป็นทนายความ ดำเนินคดีแทนโจทก์มิได้ระบุให้ ว. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ ว. จึงย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้แทนโจทก์ได้ การที่ ว. ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทำแทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง...

คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาผู้เช่าซื้อฟ้องผู้ให้เช่าซื้อว่าจงใจนำความเท็จมาฟ้องอันเป็นการละเมิด จะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่

0
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 6189/2561 คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยเรื่องผิดสัญญาเช่าซื้อมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ และต้องคืนรถยนต์คันที่เช่าซื้อพร้อมกับชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่เพียงใด ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อนำความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด แต่การวินิจฉัยว่าจำเลยนำความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกันคือ โจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนศาลก็ได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อและคดีถึงที่สุดแล้ว โดยในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนจำเลยแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันเลิกกัน แต่ต่อมามีผู้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปไถ่ถอนรถยนต์คันที่เช่าซื้อออกมาใช้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคดีก่อนได้ ทั้งเหตุตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะฟ้องโจทก์เป็นคดีก่อนแล้ว...

กรรมการบริษัทขัดแย้งกันและตกลงกันในคดีอาญาว่าจะเลิกบริษัทหลังจากนั้นไม่มีการเพื่อเลิกบริษัท ดังนี้จะฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เลิกบริษัทได้หรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 อันบริษัทจำกัดย่อมเลิกกันด้วยเหตุดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) ถ้าในข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น (2) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น (3) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น (4) เมื่อมีมติพิเศษให้เลิก (5) เมื่อบริษัทล้มละลาย คำพิพากษาฎีกาที่ 6712/2561 การเลิกบริษัทจำกัด ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1236 หรือมาตรา 1237 ซึ่งเป็นกรณีที่มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งให้บริษัทจำกัดเลิกกันตามมาตรา 1236(1)ถึง(5)หรือมีเหตุที่ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดตามมาตรา 1237(1)ถึง(4)...

ผู้ให้กู้ไม่มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ผู้ให้กู้จะมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกันหรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 1279/2562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 686 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 บัญญัติว่า เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ...