โจทก์มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้หรือไม่ (คดีแพ่ง)

0
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วางหลักว่า ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน (2) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 3996/2561 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้เฉพาะก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น จะขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วไม่ได้ หากมีการตกลงกันได้ระหว่างคู่ความก็ชอบที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นฎีกา โดยจะทำที่ศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกาก็ได้ กรณีจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 ได้ตามคำร้องของโจทก์...

ผู้รับพินัยกรรมนำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายว่ายกบ้านพร้อมที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 2850/2561 ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียงบ้าน รถยนต์ และเงินฝาก โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ บ้านจะหมายความรวมถึงที่ดินพิพาทที่บ้านตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีที่ความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด ตามป.พ.พ.มาตรา 1684 จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายได้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งต้องห้ามตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 สรุป ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธินำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายว่ามีเจตนายกบ้านพร้อมที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมด้วยได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

แพทย์วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการผิดพลาด แพทย์ต้องรับผิดหรือไม่

0
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15067/2557 แม้อาการป่วยของโจทก์จะเกิดขึ้นจากความผิดปกติในร่างกายของโจทก์เอง โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นหรือกระทำการใด ๆ ให้โจทก์เกิดโรคมะเร็งก็ตาม แต่การแจ้งผลการตรวจผิดพลาดทำให้อาการโรคมะเร็งไตของโจทก์ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ อีกโดยตามใบมรณบัตรยังระบุว่าโรคมะเร็งของโจทก์ลุกลามแพร่กระจายไปยังสมองเป็นเหตุให้โจทก์ถึงแก่ความตายในที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองมิได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชน จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 โจทก์ไปรับบริการการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1...

ลูกจ้างทำละเมิดในการทางที่จ้าง นายจ้าง(เทศบาล)ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดหรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 วางหลักว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 425 วางหลักว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2561 โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มี ช. เป็นนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช...

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาได้หรือไม่

0
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 220 วางหลักว่า ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2560 ความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมและฐานกระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วนบริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 พิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2550 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค...

เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องก่อน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์บังคับคดีภายในสิบปีหรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 7124/2561 การร้องขอให้บังคับตามประมวลกฎหมายวีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271(เดิม) (ปัจจุบัน คือ มาตรา 274) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการขั้นตอนต่างๆของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โจทก์จึงต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในวันที่ 24...

การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาสามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 3267/2562 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งพินัยกรรมไปตรวจพิสูจน์ คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการสืบพยาน และคำสั่งเกี่ยวกับกาคัดค้านการทำหน้าที่ของผู้พิพากษา ล้วนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 26 มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลขั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ และแม้โจทก์อ้างว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวอันถือว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ครบกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน...

การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น หากเจ้าของบ้านเป็นผู้พาเจ้าพนักงานไปตรวจค้น เป็นการค้นที่ชอบหรือไม่

0
ที่รโหฐาน คือ… ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (13) ที่รโหฐาน หมายความถึงที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ที่สาธารณสถาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (3) บัญญัติไว้ว่า สาธารณสถาน" หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ แปลความกลับกันคือ ที่รโหฐาน คือ สถานที่ๆประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไป ฎ.10477/2555 จำเลยยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นโดยจำเลยเป็นผู้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุด้วยตนเอง...

เจ้าหนี้นำกลุ่มผู้ชายเเต่งกายคล้ายตำรวจมาทวงถามหนี้และพูดจาข่มขู่ลูกหนี้ให้ลูกหนี้ทำสัญญา ลูกหนี้กลัวและทำสัญญา เป็นโมฆียะหรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 วางหลักว่า การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น หลักเกณฑ์ ป.พ.พ. มาตรา 164 1.การข่มขู่ต้องเกิดขึ้นโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอก หรือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งร่วมกับบุคคลภายนอก 2.ผู้ข่มขู่จะต้องมีเจตนาข่มขู่ผู้ทำนิติกรรม (ถ้ามิได้มีเจตนาข่มขู่ แต่เกิดความกลัวไปเอง ย่อมมิใช่การข่มขู่) 3.ผู้ทำนิติกรรมที่ถูกข่มขู่ต้องกลัวภัยที่จะเกิดจากการข่มขู่ 4.ภัยที่ข่มขู่จะต้องใกล้จะถึง 5.ต้องเป็นภัยร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว 6.ถ้าไม่มีการข่มขู่นั้นจะไม่มีการแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้น คำพิพากษาฎีกาที่ 6294/2561 ป.พ.พ. มาตรา 164 บัญญัติว่า การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้นการนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น โจทก์นำกลุ่มผู้ชายหลายคนแต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของจำเลยซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน...

จําเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญากู้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ จําเลยจะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่

0
คําพิพากษาฎีกาที่ 3035/2562 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้เงินกู้ ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจําเลยให้การต่อสู้ ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่า จําเลยไม่เคยลงลายมือชื่อทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ และหนังสือ สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ การจะรับฟังว่าจําเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง จริงหรือไม่ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐาน เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ โจทก์อ้างเป็นหลักฐานในการฟ้องบังคับจําเลยให้รับผิดต่อโจทก์ มีลักษณะเป็นตราสารซึ่งต้องปิด อากรแสตมป์และขีดฆ่า ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน คงปิดอากรแสตมป์เพียงเท่านั้น มิได้ขีดฆ่าเสียด้วย หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จึงถือเป็น...