Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ขับรถล้ำช่องทางจราจร หากเกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

ขับรถล้ำช่องทางจราจร หากเกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

216
0

ขับรถล้ำช่องทางจราจร หากเกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2529

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากราชการให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-ภูเก็ต และเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์โดยสารปรับอากาศในธุรกิจรับส่งคนโดยสาร ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 และที่ 1ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์โดยสารในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และในธุรกิจของจำเลยที่ 3 ขับล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้าไปชนรถยนต์ตู้ของโจทก์ที่แล่นสวนทางมาขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มิได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะจำเลยที่ 2 มองเห็นก้อนหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุตเศษขวางถนนอยู่ในระยะกระชั้นชิดจึงหักหลบก้อนหินล้ำเข้ามาในช่องเดินรถของโจทก์ในระยะไกล คนขับรถของโจทก์สามารถชลอความเร็วของรถลง และขับรถหลบไปทางซ้ายมือซึ่งมีไหล่ถนนกว้างถึง 2 เมตร แต่ไม่กระทำจึงเกิดเหตุขึ้น ค่าซ่อมรถของโจทก์ไม่เกิน 20,000 บาท คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 3ให้การด้วยว่ามิได้เป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ตามฟ้องในธุรกิจของจำเลยที่ 3 หรือยินยอมให้รถดังกล่าเข้ามาวิ่งร่วมกับจำเลยขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 111,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ทั้งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ1,500 บาทแทนโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิด ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เสีย

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงิน60,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่า ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเอกสารหมาย จ.1 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2523 ปรากฏว่าเอกสารหมาย จ.1 เป็นเพียงสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากสำเนาที่คัดมาจากต้นฉบับ มิใช่สำเนาเอกสารที่คัดหรือถ่ายจากต้นฉบับโดยตรง โจทก์มิได้นำสืบว่าต้นฉบับสูญหายหรือไม่ สามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเหตุใดฯ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่านิติกร 4 ผู้รับรองสำเนาเอกสารฉบับนี้เป็นหัวหน้ากอง หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว เอกสารฉบับนี้จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) นั้น ฯลฯ เห็นว่าสำเนาเอกสารจะคัดหรือถ่ายจากต้นฉบับหรือจากสำเนาไม่ใช่ข้อสำคัญข้อสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความตามสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องตรงกับต้นฉบับหรือไม่เมื่อโจทก์ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.1 ต่อศาล จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้คัดค้านว่าเอกสารฉบับนี้เป็นสำเนาที่ไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งมิได้คัดค้านว่าผู้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารฉบับนี้ไม่มีอำนาจรับรองแต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารหมายจ.2 ได้ฯ”

ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่ารถที่เข้ามาวิ่งร่วมในกิจการของจำเลยที่ 3 จะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เมื่อสิ้นสุดอายุแล้ว รถคันนั้นก็มิใช่รถที่มาเดินร่วมในกิจการของจำเลยที่ 3 อีก สัญญาเดินรถร่วมของรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องหมดอายุไปก่อนวันเกิดเหตุ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าวันเกิดเหตุรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องใช้หมายเลขใดและสีอะไร จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลจำพวกบริษัท จำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนทั่วไป และได้รับสัมปทานจากทางราชการให้ประกอบการขนส่งระหว่างจังหวัด จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องของตนเข้ามาเดินในเส้นทางสายที่ 63 ซึ่งมีสถานีต้นทางกรุงเทพมหานคร ปลายทางที่จังหวัดภูเก็ตที่จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานโดยจำเลยที่ 1 กับที่ 3 มีสัญญาต่อกันเรียกว่าสัญยาร่วมฯการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องมาเดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้จึงถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 ด้วย ขณะทำละเมิดจำเลยที่ 2 ขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ได้กระทำแ้ขณะทำละเมิดสัญญารถร่วมระหว่างจำเลยที่ 1กับที่ 3 ได้หมดอายุแล้ว แต่หลังจากสัญญาดังกล่าวหมดอายุแล้วจำเลยที่ 3 ยังยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องมาเดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าวอยู่อีก ขณะทำละเมิดจำเลยที่ 2กำลังขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่ามีตราของจำเลยที่ 3 ที่ข้างรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้อง แต่คดีก็ได้ความจากคำ นายต้อยติ่ง์ พยานโจทก์กับเอกสารหมาย จ.3 ว่า ขณะจำเลยที่ 2 ทำละเมิดยังมีหมายเลข 63-41 ที่ข้างรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องอยู่ จึงถือได้ว่าขณะจำเลยที่ 2 ทำละเมิดนั้นรถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องยังเดินรับส่งผู้โดยสารในกิจการของจำเลยที่ 3 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะปฏิเสธความรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยอ้างว่าสัญญารถร่วมหมดอายุแล้ว และโจทก์มิได้นำสืบว่ารถยนต์โดยสารปรับอากาศตามฟ้องสีอะไรหาได้ไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 3ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนสองในสามส่วนของเงิน 50,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ”

สรุป

สำเนาเอกสารจะคัดหรือถ่ายจากต้นฉบับหรือจากสำเนาไม่ใช่ข้อสำคัญข้อสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความตามสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องตรงกับต้นฉบับหรือไม่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารที่โจทก์ส่งศาลเป็นสำเนาที่ไม่ถูกต้องกับต้นฉบับทั้งมิได้คัดค้านว่าผู้รับรองความถูกต้องไม่มีอำนาจรับรองศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารได้ จำเลยที่3ยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์โดยสารเข้ามาเดินในเส้นทางที่ตนได้รับสัมปทานและทำสัญญารถร่วมต่อกันรถยนต์โดยสารของจำเลยที่1ที่เดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางย่อมถือว่าเป็นกิจการของจำเลยที่3ด้วยต่อมาสัญญารถร่วมระหว่างจำเลยที่1และที่3หมดอายุลงแต่จำเลยที่3ยังยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์โดยสารมาเดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางอีกจนเกิดเหตุละเมิดขึ้นจำเลยที่3ย่อมจะต้องรับผิดในผลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำของจำเลยที่2ลูกจ้างของจำเลยที่1ซึ่งขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่1ด้วย.