Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

203
0

ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด โดยจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถโดยความประมาทด้วยกันให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 3,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 250 บาท ซึ่งเป็นกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมด ส่วนโจทก์ที่ 1กับจำเลยที่ 2 เจ้าของรถไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ยกฟ้องโจทก์ที่ 1กับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2มีส่วนประมาทด้วย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับโจทก์ที่ 2 ด้วย จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทด้วยศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฝ่ายละครึ่งอันแสดงว่ามีส่วนประมาทเท่ากันนั้น ไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา เมื่อประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และรถจำเลยที่ 2 เสียหายน้อยกว่ารถโจทก์ที่ 1 มาก เฉลี่ยแล้วจำเลยที่ 2 ย่อมไม่สมควรจะได้ค่าสินไหมทดแทนตามฟ้องแย้งจากโจทก์ที่ 1 อีก”

พิพากษายืน

สรุป

เหตุที่รถยนต์โจทก์ที่ 1 และรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ชนกัน เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทด้วย เมื่อประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และรถจำเลยที่ 2 เสียหายน้อยกว่ารถโจทก์ที่ 1 มากเฉลี่ยแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมไม่สมควรจะได้ค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ที่ 1 อีก