Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ประสาทหูทั้งสองข้างเสียหาย ถือเป็นการทุพลภาพถาวรหรือไม่

ประสาทหูทั้งสองข้างเสียหาย ถือเป็นการทุพลภาพถาวรหรือไม่

224
0

ประสาทหูทั้งสองข้างเสียหาย ถือเป็นการทุพลภาพถาวรหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาประกันชีวิต และ สัญญา พิเศษเพิ่มเติม ประกัน อุบัติเหตุ และ ทุพพลภาพ ไว้ กับ จำเลย โดย มี เงื่อนไข ว่าจำเลย จะ จ่าย ค่าสินไหมทดแทน กรณี โจทก์ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิงจำนวนเงิน 300,000 บาท กรณี อุบัติเหตุ เสียชีวิต สูญเสีย อวัยวะและ ทุพพลภาพ จำนวนเงิน 300,000 บาท กรณี ถูก ฆ่า ทำร้ายร่างกายจำนวนเงิน 300,000 บาท กรณี เสียชีวิต ทุพพลภาพ และ โรค ร้ายแรงจำนวนเงิน 300,000 บาท ต่อมา โจทก์ ประสบ อุบัติเหตุ ขณะขับ รถจักรยานยนต์ และ ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส หู ทั้ง สอง ข้าง ไม่ได้ ยินถือว่า เป็น กรณี ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง จำเลย ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับ กรณี ทุพพลภาพ 300,000 บาท กรณี อุบัติเหตุเสียชีวิต สูญเสีย อวัยวะ และ ทุพพลภาพ 300,000 บาท และ กรณี เสียชีวิตทุพพลภาพ และ โรค ร้ายแรง 300,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน900,000 บาท

จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จะ จ่าย ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะ กรณี โจทก์ประสบ อุบัติเหตุ มีผล ทำให้ โจทก์ ตกเป็น บุคคล ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิงอาการ ของ โจทก์ ไม่ถึง ขนาด ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง หาก จะ ฟัง ว่าโจทก์ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง ตาม ที่ ระบุ ใน สัญญาประกันชีวิต โจทก์มีสิทธิ ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน จาก จำเลย 7,500 บาท ทุก ๆ 3 เดือนเท่านั้น และ โจทก์ ไม่ได้ บอกกล่าว เป็น ลายลักษณ์อักษร ให้ จำเลย ทราบ ว่าโจทก์ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าสินไหมทดแทนจาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 300,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ และ ชำระ ค่า เลี้ยงชีพ ครั้ง ละ 7,500 บาท ทุก ๆ 3 เดือนนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ถึงแก่กรรม แต่ ไม่เกิน 10 ปี นับแต่ วันฟ้อง

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นที่ คู่ความ ไม่ โต้เถียง กัน ใน ชั้น นี้ ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ทำสัญญาประกันชีวิต และ สัญญา พิเศษ กับ จำเลย ตาม ฟ้อง ระหว่าง ที่สัญญา ดังกล่าว ยัง ไม่ครบ กำหนด โจทก์ ประสบ อุบัติเหตุ ได้รับ บาดเจ็บ สาหัสประสาท หู ทั้ง สอง ข้าง เสีย ไม่ได้ ยินเสียง ใด ๆ โจทก์ เคย ไป แจ้ง แก่จำเลย ด้วย วาจา ว่า โจทก์ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง ขอรับ เงิน ค่าสินไหมทดแทนแต่ จำเลย ไม่ยอม ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ส่วน นี้ แก่ โจทก์ มี ปัญหา ตาม ที่จำเลย ฎีกา ข้อ แรก ว่า การ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง ต้อง เป็น กรณีขาด กำลัง ที่ จะ ประกอบการ งาน ไม่ว่า สาเหตุ ใด ๆ ถึง ขนาด ไม่สามารถประกอบ อาชีพ หน้าที่ การงาน ใด ๆ ใน อาชีพ ประจำ หรือ อาชีพ อื่น ได้ โดยสิ้นเชิง โจทก์ ได้รับ อุบัติเหตุ จน หู ทั้ง สอง ข้าง ไม่ได้ ยิน แต่ ร่างกายของ โจทก์ แข็งแรง เยี่ยง บุคคล ทั่วไป สามารถ ใช้ การ ได้ ไม่ได้ ขาด กำลังใน การ ประกอบ อาชีพ ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ทุพพลภาพ ถาวร สิ้นเชิง จำเลยจึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ข้อ นี้ โจทก์ เบิกความ ว่า หลัง เกิดอุบัติเหตุ แล้ว โจทก์ ไม่สามารถ ประกอบ อาชีพ ได้ จำเลย มิได้ นำสืบ หักล้างศาลฎีกา เห็นว่า คำ ว่า “ทุพพลภาพ ” นั้น ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ ให้ ความหมาย ไว้ ว่า หมายถึงหย่อนกำลัง ความ สามารถ ที่ จะ ประกอบการ งาน ตาม ปกติ ได้ เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า โจทก์ ประกอบ อาชีพ รับจ้าง ซ่อม รถจักรยานยนต์ และจำหน่าย อะไหล่ รถจักรยานยนต์ โจทก์ ย่อม ต้อง ใช้ การ ฟัง เสียงเครื่องยนต์ ประกอบ ใน การ ซ่อม รถจักรยานยนต์ และ ต้อง พูด คุย กับ ลูกค้าที่มา ซื้อ อะไหล่ รถจักรยานยนต์ ดังนั้น การ ที่ ประสาท หู ทั้ง สอง ข้างของ โจทก์ เสีย ไม่ได้ ยินเสียง โจทก์ จึง หย่อนความสามารถ ที่ จะประกอบการ งาน ตาม ปกติ โดย สิ้นเชิง ตลอด ไป ถือได้ว่า โจทก์ ทุพพลภาพถาวร สิ้นเชิง ตาม สัญญา พิเศษ เพิ่มเติม แล้ว หา จำต้อง เป็น กรณี ขาด กำลังดัง ที่ จำเลย ฎีกา ไม่ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น

จำเลย ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า โจทก์ ไม่ได้ บอกกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ จำเลย ทราบ ภายใน 180 วัน นับแต่ วัน ทุพพลภาพเป็น การ ผิดสัญญา จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ข้อ นี้ โจทก์ เบิกความตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า ใน การ ติดต่อ ขอรับ ค่าสินไหมทดแทน นั้นโจทก์ ไป ติดต่อ จำเลย ด้วย ตนเอง แต่ ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือ เพราะโจทก์ ใช้ มือ เขียน หนังสือ ไม่ได้ นายจำปา เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย บอก ว่า จำเลย จะ ไม่ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ เนื่องจากการ ทุพพลภาพ ถาวร ไม่รวม ถึง หู ไม่ได้ ยินปรากฏว่า ตาม สัญญา พิเศษเพิ่มเติม ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมายจ. 5 มี ข้อความ ว่า “การ บอกกล่าว เรียกร้อง ผู้เอาประกัน ต้องบอกกล่าว ให้ บริษัท ทราบ ถึง การ ทุพพลภาพ ดังกล่าว เป็น ลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่ วัน เริ่ม ทุพพลภาพ เว้นแต่ จะ พิสูจน์ ได้ว่า มีเหตุจำเป็น อัน สมควร จึง ไม่อาจ แจ้ง ให้ บริษัท ทราบ “เห็นว่า ตาม ข้อความใน สัญญา พิเศษ เพิ่มเติม ดังกล่าว มิได้ กำหนด ไว้ อย่าง จำกัด เคร่งครัดว่า โจทก์ จะ ต้อง บอกกล่าว ให้ จำเลย ทราบ เป็น ลายลักษณ์อักษร ภายใน180 วัน นับแต่ วัน เริ่ม ทุพพลภาพ ทุก กรณี ใน กรณี มีเหตุ จำเป็น อัน สมควรโจทก์ อาจ ไม่ต้อง ปฏิบัติ ตาม นั้น ได้ อีก ประการ หนึ่ง นายน้ำเงิน ผู้ช่วย หัวหน้า ส่วน พิจารณา ค่าสินไหม ของ จำเลย ก็ เบิกความ เป็น พยาน จำเลย รับ ว่า จำเลย ได้ พิจารณา ว่า โจทก์ ทุพพลภาพ ถาวรหรือไม่ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้รับ คำบอกกล่าว ของโจทก์ ไว้ พิจารณา แล้ว แสดง ว่า จำเลย ไม่ติดใจ ที่ จะ ให้ โจทก์ ต้อง แจ้งให้ จำเลย ทราบ เป็น ลายลักษณ์อักษร ภายใน 180 วัน นับแต่ วัน เริ่มทุพพลภาพ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา พิเศษ เพิ่มเติม อีก โจทก์ จึง มีสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน จาก จำเลย ได้ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน ”

พิพากษายืน

สรุป

โจทก์ ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่ต้องอาศัยการฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบการซ่อมรถและพูดคุยกับลูกค้าเมื่อประสบอุบัติเหตุทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถในการประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือว่าโจทก์ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงตามสัญญาแล้วหาจำต้องเป็นกรณีขาดกำลังที่จะประกอบการงานถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพหน้าที่การงานใดๆในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นได้โดยสิ้นเชิงไม่ ข้อสัญญาตกลงกันว่า”การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันภัยต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการ ทุพพลภาพดังกล่าวเป็น ลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรจึงไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ”มิได้กำหนดโดยเคร่งครัดว่าต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีโจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตัวเองแต่ ไม่ได้ทำ เป็นหนังสือเพราะใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้และจำเลยได้รับคำ บอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าไม่ติดใจให้โจทก์แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา