Home Authors Posts by admin

admin

350 POSTS 0 COMMENTS

รถไม่ได้หายแต่แจ้งตำรวจว่ารถหาย เพื่อนำไปเบิกเงินกับบ.ประกันภัยผิดแจ้งความเท็จหรือไม่

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา รถไม่ได้หายแต่แจ้งตำรวจว่ารถหาย เพื่อนำไปเบิกเงินกับบ.ประกันภัยผิดแจ้งความเท็จหรือไม่ เชิญอ่านได้เลยครับ  รถไม่ได้หายแต่แจ้งตำรวจว่ารถหาย เพื่อนำไปเบิกเงินกับบ.ประกันภัยผิดแจ้งความเท็จหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 172, 173 นับโทษจำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1769/2557 ของศาลจังหวัดนครราชสีมา จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 172, 173 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา...

คุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิต มีอะไรบ้าง

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา คุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิต มีอะไรบ้าง เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของนายหน้าประกันชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์ซึ่งถือเป็นผู้บริโภค ในการเสนอขายประกันในแต่ละครั้งจึงต้องเห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภคเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นการแจ้งผลประโยชน์ในความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยต่างๆ หรือการแจ้งข้อยกเว้นในส่วนที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองมีในกรณีใดบ้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการตุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณชนส่วนรวมและสังคม จึงจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อมาใช้บังคับสำหรับนายหน้าประกันชีวิต ซึ่งตามปกติในธุรกิจประกันภัยถือเป็นกิจการที่รัฐต้องให้การดูแลและควบคุมอยู่แล้ว ซึ่งหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่คอบกำกับและดูแลในเรื่องดังกล่าวก็คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ซึ่งได้มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิตไว้  ดังนี่ 1.กรณีนายหน้าประกันชีวิตเป็นบุคคลธรรมดา บุคลลธรรมดาซึ่งจะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้ 1.ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ 2.มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย 3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 4.ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต...

ปัญหาการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย

0
ปัญหาการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดาปัญหาการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย การใช้ มาตรา ๘๘๐ ในการรับช่วงสิทธิถูกจำกัดอยู่ในประกันวินาศภัย  วิธีเฉพาะการประกันภัยในการขนส่ง ประกันภัยค้ำจุน เท่านั้น ส่วนการประกันชีวิต ซึ่งอยู่ในหมวด ๓ จะไม่นำบทบัญญัติ  ในหมวด ๒ มาบังคับใช้ ดังนั้น การรับช่วงสิทธิตามมาตรา  ๘๘๐   วรรคหนึ่ง   แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...

ตัวแทนประกัน ตามกฎหมายต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา ในหัวข้อเกี่ยวกับ ตัวแทนประกัน ตามกฎหมายต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เนื่องจากกฎหมายการรับประกันชีวิตเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและเกี่ยวพันถึงประชาชนในสังคม รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศ กฎหมายจึงต้องบัญญัติอย่างชัดแจ้งมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันชีวิตกับบุคคลใดๆ จนกว่าจะได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ในกรณีของตัวแทนประกันชีวิตก็เช่นกัน การที่จะดำเนินการในลักษณะตัวแทนประกันชีวิติได้ก็จะต้องมีใบอนุญาตเสียก่อน เพราะการรับประกันชีวิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและเป็นกิจการที่รัฐควบคุม ดังนั้นในการเป็นตัวแทนในการรับประกันชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมจากรัฐเช่นกันเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในสังคมและเป็นการควยคุมความเรียบร้อยในการดำเนินกิจการของบริษัทผู้รับประกันชีวิต โดยลักษณะของตัวแทนประกันชีวิตมีดังนี้ ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562...

จดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่

0
จดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขอออธิบายเกี่ยวกับจดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่ สัญญาประกันภัยมีหลักประการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 863 ได้วางหลักไว้ว่า “ สัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น  ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” กรณีสัญญาประกันชีวิต สิทธิหน้าที่ของบุคคลที่พึงมีต่อกันตามกฎหมาย ถือเป็นส่วนได้เสีย              ที่เอาประกันได้ เช่น สามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๑ ...

สาระสำคัญของพรบ.ประกันชีวิตฯตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

0
สาระสำคัญของพรบ.ประกันชีวิตฯตามกฎหมายมีอะไรบ้าง สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า  สาระสำคัญของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ที่มีการควบคุมมากกว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 นั้น ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต และนายหร้าประกันชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเพียงพอที่จะคุ้มครองประชาชนและผู้เอาประกันภัยจากการทำสัญญาประกันชีวิต ดังนั้นจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับเพิ่มเติมจากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นรวมทั้งเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัย และพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพยิ่งขึ้น โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ....

รถยนต์สูญหายเสียหายจากการถูกฉ้อโกง บริษัทประกันภัยปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่ารถยนต์สูญหายเสียหายจากการถูกฉ้อโกง บริษัทประกันภัยปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่ #คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2558 สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้คำนิยาม วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนี้ การที่โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย...

เหตุละเมิดเกิดก่อนวันได้รับกรมธรรม์ประกันภัย แต่หลังวันซื้อประกันบริษัทประกันปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่

0
เหตุละเมิดเกิดก่อนวันได้รับกรมธรรม์ประกันภัย แต่หลังวันซื้อประกันบริษัทประกันปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า เหตุละเมิดเกิดก่อนวันได้รับกรมธรรม์ประกันภัย แต่หลังวันซื้อประกันบริษัทประกันปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่ และตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุวันทำสัญญาประกันภัย ไม่ตรงกับ วันที่ให้เริ่มระยะเวลาประกันภัยเริ่มมีผล จะมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร  บริษัทประกันต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้   #คำพิพากษาฎีกาที่ 12377/2558 สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกันตามคำขอเอาประกันภัยรถยนต์ระบุว่า อ. ขอเอาประกันภัยรถยนต์เมื่อวันที่ 3...

ไม่ล็อครถขณะแวะซื้อของข้างทาง รถหายบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า ไม่ล็อครถขณะแวะซื้อของข้างทาง รถหายบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่ กรณีท่านจอดรถ และแวะซื้อของข้างทางโดยไม่ล็อกรถและติดเครื่องไว้ แล้วขโมยแอบขับรถท่านไป ในกรณีนี้ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดหรือไม่ อย่างไร             ปกติ เรามักจะคิดว่าเวลารถหาย ถ้าทำประกันภัยประเภทหนึ่งไว้ จะได้รับการคุ้มครอง แต่ก็มีข้อยกเว้นซึ่งผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งระบุไว้ในสัญญานั้นเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861  อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า...

ในการฟ้องร้อง/ต่อสู้คดีประกันภัย หากไม่มีในคำฟ้อง/สู้ในคำให้การในศาลชั้นต้น สามารถยกขึ้นสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่

0
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า ในการฟ้องร้อง/ต่อสู้คดีประกันภัยหากไม่มีในคำฟ้อง/สู้ในคำให้การในศาลชั้นต้นสามารถยกขึ้นสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2561 โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 450,000 บาท และ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่...