Home Authors Posts by admin

admin

350 POSTS 0 COMMENTS

ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่

0
ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่. สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน  โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา  จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่ เชิญอ่านได้เลยครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3471/2529 โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 เป็นสามีของนางลาวัลณ์ จารุสิริวัฒน์ มีบุตรด้วยกัน4 คน คือ นายพันธุ์ศักดิ์ นางสาวนวลวรรณ เด็กชายนัฐพงศ์ และเด็กชายอำนาจซึ่งต่างเป็นผู้เยาว์ จำเลยที่...

รถยางแตกแล้วจอดข้างทางในเวลากลางคืน ถูกรถขับมาชนด้วยความเร็วสูงต้องรับผิดหรือไม่

0
รถยางแตกแล้วจอดข้างทางในเวลากลางคืน ถูกรถขับมาชนด้วยความเร็วสูงต้องรับผิดหรือไม่ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน  โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา  จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า รถยางแตกแล้วจอดข้างทางในเวลากลางคืน ถูกรถขับมาชนด้วยความเร็วสูงต้องรับผิดหรือไม่ ซึ่งมีจุดในข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เชิญอ่านได้เลยครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2527 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ทางพิจารณาข้อเท็จจริงในเบื้องต้นได้ความว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2521 นายสง่า ศิริกุลได้นำรถยนต์บรรทุกคันหมายเลขทะเบียน จ.บ. 11039 ไปประกันภัยไว้กับโจทก์ทุนประกัน...

รถหายไม่ได้แจ้งบริษัทประกันในทันที บริษัทประกันไม่รับผิดชอบได้หรือไม่

0
รถหายไม่ได้แจ้งบริษัทประกันในทันที บริษัทประกันไม่รับผิดชอบได้หรือไม่ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน  โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา  จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า รถหายไม่ได้แจ้งบริษัทประกันในทันที บริษัทประกันไม่รับผิดชอบได้หรือไม่ ซึ่งมีจุดในข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เชิญอ่านได้เลยครับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2501 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับประกันภัยรถยนต์ของนายปรีชา ต่อมานายปรีชาได้โอนรถนั้นพร้อมทั้งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของจำเลยต่อมารถยนต์หาย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเสียหาย จึงขอให้บังคับฃ จำเลยรับว่าได้รับประกันภัยประเภทรถส่วนบุคคลไว้จริง แต่โจทก์เอารถไปให้เช่าเป็นรถประเภทสาธารณะ ผิดสัญญา อนึ่งเมื่อรถหายโจทก์ไม่ได้แจ้งให้ทราบทันทีเป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์รับโอนรถไปแล้วให้นายปรีชาเช่าไปนั้นไม่เป็นการผิดสัญญา เพราะการให้เช่ารถไปโดยไม่ปรากฏว่าได้เอารถไปทำเป็นรถสาธารณะ ไม่ทำให้รถนั้นกลายเป็นรถสาธารณะไปส่วนการแจ้งรถหายชักช้าไม่แจ้งทันทีก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกัน แต่เป็นสิทธิที่จำเลยจะเรียกร้องเอาจากโจทก์เป็นส่วนหนึ่งตามความเสียหายที่เกิดแก่จำเลย พิพากษากลับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สรุป  รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของให้เช่าไปใช้โดยไม่ได้เอาไปทำเป็นรถยนต์ประเภทสาธารณะ ย่อมยังคงเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลอยู่ฃการที่ผู้เอาประกันภัยบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยเรื่องวินาศภัยที่เกิดขึ้นชักช้า...

ใครบ้างถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย

0
ใครบ้างถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย บทนำใครบ้างถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับกรณี ใครบ้างถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย ซึ่งทีมงานทนายฟ้องประกัน จะมาให้ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายดังนี้ ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยเป็นสิ่งสำคัญตามกฎหมายซึ่งกฎหมายบังคับไว้ว่าผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ได้เอาประกันภัยไว้ มิเช่นนั้นจะมีผลให้สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพณิชย์ มาตรา 863 โดยหากผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ก็อาจทำให้สัญญาดังกล่าวเข้าข่ายเป็นลักษณะของการพนันขันต่อได้ ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกัยในมาตรา 863 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถแยกประเภทของสัญญาประกันภัยกับการพนันขันต่อได้ โดยส่วนได้เสียตามกฎหมายนั้นสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้    1.ในกรณีของประกันวินาศภัย คือประกันภัยอย่างใดที่สามารถประมาณเป็นเงินได้ กล่าวคือผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย 1.1เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยดังจะเห็นได้ว่าหากทรัพย์สินใดๆ เสียหายย่อมทำให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถใช้ทรัพย์สินได้หรืออาจทำให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคาลงไปก็ย่อมทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย 1.2สิทธิและประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง ผู้มีสิทธิต่างๆ...

ออกรถแบบแถมประกันชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่

0
ออกรถแบบแถมประกันชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่ บทนำกรณีบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดจากการแถมประกัน สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับกรณี บทนำกรณีบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดจากการแถมประกัน ศาลฎีกาใช้จุดใดบ้างในการพิจารณาตัดสินคดี และมีจุดสู้คดีที่ต้องระวังอย่างไรบ้าง ซึ่งทีมงานทนายฟ้องประกัน จะวิเคราะห์จุดตัดสินสำคัญในการต่อสู้คดีดังนี้ กรณีที่เวลาผู้เช่าซื้อออกรถแล้วบริษัทแถมประกันประเภทหนึ่งเมื่อเกิดอบุติเหตุ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่ โดยอ้างว่าผู้เช่าซื้อไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย คำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินไว้ 7332/2555 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 3,243,324 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน...

สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ บริษัทต้องบอกล้างภายในกี่วัน

0
สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ต้องบอกล้างภายในกี่วัน บทนำกรณีเกิดสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับกรณี สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ต้องบอกล้างภายในกี่วัน ศาลฎีกาใช้จุดใดบ้างในการพิจารณาตัดสินคดี และมีจุดสู้คดีที่ต้องระวังอย่างไรบ้าง ซึ่งทีมงานทนายฟ้องประกัน จะวิเคราะห์จุดตัดสินสำคัญในการต่อสู้คดีดังนี้ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินไว้ดังน้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2562 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 600,000...

เกิดอุบัติเหตุระหว่างลากรถไปซ่อม ศาลฎีกาใช้จุดใดบ้าง ในการพิจารณาความรับผิด

0
บทนำกรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างลากรถไปซ่อม สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับกรณี การฟ้องบริษัทประกันภัยของตนเองให้ต้องรับผิดนั้นศาลฎีกาใช้จุดใดบ้างในการพิจารณาตัดสินคดี และมีจุดสู้คดีที่ต้องระวังอย่างไรบ้าง ซึ่งทีมงานทนายฟ้องประกัน จะวิเคราะห์จุดตัดสินสำคัญในการต่อสู้คดีดังนี้ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินไว้ดังนี้  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2562 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้เงิน 171,272.73 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 165,451.34 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2, ที่...

พยานหลักฐานที่ต้องเตรียม เมื่อท่านเกิดอุบัติเหตุบนถนน

0
พยานหลักฐานที่ต้องเตรียม เมื่อท่านเกิดอุบัติเหตุบนถนน อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากจะทำให้เสียเวลาในการเดินทางแล้วบางครั้งอาจจะเกิดความสูญเสียในด้านชีวิตและร่างกายด้วย โดยต้นเหตุของอุบัติเหตุอาจเกิดจากความประมาท ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ หรือเกิดจากการละเลยไม่ดูแลรักษารถให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วก็ย่อมมีความจำเป็นในการดำเนินการทางกฎหมายด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิตามประกันภัยที่ท่านได้ทำสัญญาไว้ไปจนถึงการแจ้งความดำเนินคดีกับคู่กรณีของท่าน โดยการดำเนินการต่างๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้พยานหลักฐานเบื้องต้นในการดำเนินการดังนี้ พยานหลักฐานใดบ้างที่ต้องเตรียม 1.สำเนารายการจดทะเบียนรถ  เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะสำเนารายการจดทะเบียนรถจะสามารถบอกได้ว่า ใครเป็นเจ้าของรถ รถยี่ห้อ รุ่น ทะเบียนอะไร ประเภทการใช้รถเป็นแบบไหน ไปจนถึงเลขเครื่องและตัวถัง จึงอาจกล่าวได้ว่ารายการจดทะเบียนรถนั้นเป็นเหมือนบัตรประจำตัวประชาชนของรถนั่นเอง สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นเช่นกัน เพราะกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองส่วนของความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ...

เจ้าหนี้ต้องรู้ สัญญาเงินกู้หายฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่

0
  คำถาม เจ้าหนี้ต้องรู้ สัญญาเงินกู้หายฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่ คำตอบเคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539 การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่องถือได้อนุญาตโดยปริยายการสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2) โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 40,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือนจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน แต่หลักฐานแห่งการกู้ยืมได้สูญหายไปโจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพไว้แล้ว จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว ครั้นครบกำหนด 3 เดือนจำเลยไม่ยอมชำระเงินคืนโจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่...

ความแตกต่างระหว่างดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท

0
ความแตกต่างระหว่างดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 บัญญัติว่า "ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา 326 บัญญัติว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ข้อแตกต่างที่สำคัญของดูหมิ่นซึ่งหน้า (มาตรา 393) กับหมิ่นประมาท (มาตรา 326) มีดังนี้ ข้อแตกต่างที่...