หลักกฎหมายที่ว่า #ความยินยอมไม่เป็นละเมิด เป็นหลักมาช้านาน เพราะเมื่อผู้เสียหายสมัครใจเข้าเสี่ยงภัย หรือยอมเข้ารับความเสียหายเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นผู้เสียหาย โดยนิตินัย โดยไม่ต้องคำนึงว่าความยินยอมนั้นขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เพราะไม่ใช่การทำนิติกรรมสัญญา ... แต่ปัจจุบันหลักกฎหมายได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว โดยความยินยอมนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะเห็นว่าหลักดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียหาย ... กล่าวคือ ในมาตรา 9 พรบว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ. ศ. 2540 ได้บัญญัติว่า... ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหาย สำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ ... ฉะนั้นหากเป็นการกระทำโดยได้รับความยินยอม ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการกระทำนั้น #ย่อมเป็นละเมิด #การให้ความยินยอมต้องเป็นไปโดยสมัครใจ ไม่ใช่เกิดจากการฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือ...
วัตถุที่เอาประกันภัยเปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยกฎหมาย สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยย่อมโอนตามไปด้วย (ปพพ.มาตรา875วรรคหนึ่ง) ถ้าในสัญญาไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและได้บอกกล่าวไปยังผู้รับประกันภัยแล้ว สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย แต่ถ้าทำให้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนัก สัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ (ปพพ.มาตรา 875วรรคสอง) ตามมาตรา 875 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องวัตถุที่เอาประกันภัยเปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัย โดยพินัยกรรมหรือโดยกฎหมาย ส่วนกรณีตามวรรคสองเป็นเรื่องผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัย โดยนิติกรรม แต่ การเปลี่ยนมือตามวรรคหนึ่งและการโอนตามวรรคสองหมายถึงการเปลี่ยนมือ หรือการโอนไป ซึ่งกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือหรือโอนไปเป็นของผู้อื่น ไม่ใช่เพียงแต่การโอนการครอบครองในวัตถุที่เอาประกันภัยเท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 3366/2522 ผู้เช่าซื้อเอาประกันภัยรถที่เช่าซื้อโดยเจ้าของเป็นผู้รับประโยชน์ ผู้เช่าซื้อ ให้ผู้อื่นเช่ารถไป เพราะไม่มีข้อห้ามในกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เป็นการโอนวัตถุที่เอาประกันภัย ตามมาตรา 875 การที่รถถูกลักเป็นภัยตามกรมธรรม์ เจ้าของฟ้องผู้รับประกันภัยได้ สรุป การโอนวัตถุที่เอาประกันสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยย่อมโอนตามไปด้วย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
สัญญาประกันภัยระบุเงื่อนไขไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการกระทำผิดฐาน ลักทรัพย์ หรือยักยอก ปรากฏว่ารถยนต์ที่เอาประกันภัยถูกฉ้อโกงไป จึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด ผู้รับประกันภัยไม่หลุดพ้นความรับผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 7664/2559 ตามเงื่อนไขและความคุ้มครอง ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า .... การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจาก #การลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ #โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยสูญหายเป็นผลมาจากการฉ้อโกง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นวินาศภัยอื่นที่เกิดขึ้น แม้มิได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยอย่างเช่น ความสูญหายของรถยนต์อันเกิดจากการฉ้อโกง #จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ จำเลยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มวงเงินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่ได้ชำระเบี้ยประกันแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 861 และมาตรา 869 สรุป บริษัทประกันมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มวงเงินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
คำพิพากษาฎีกาที่ 9775/2560 เหตุยักยอกโคและถังแช่น้ำเชื้อตามฟ้องเกิดที่ฟาร์มโคของจำเลยที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้เสียหายมอบถังแช่น้ำเชื้อและโคที่ยืมให้แก่จำเลยที่ฟาร์มโคของจำเลย) ฟาร์มโคของโจทก์ร่วมที่ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่จำเลยขอยืมทรัพย์จากโจทก์ร่วมมิใช่สถานที่เกิดเหตุในการกระทำความผิดยักยอก เมื่อจำเลยถูกจับที่ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่ของจำเลย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรยางตลาดซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ไม่มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ทำการสอบสวนจำเลยเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 สรุป เหตุยักยอกเกิดสถานที่ที่ส่งมอบทรัพย์ที่ยืม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรยางตลาดซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี คำพิพากษาฎีกาที่ 3503/2559 ขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้มีการกระทำที่เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแก่จำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ผู้ตายถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงที่ชายโครงทะลุปอด ตับและลำไส้จนฉีกขาด แพทย์ต้องรักษาอาการบาดเจ็บของผู้ตายด้วยการผ่าตัดทันที แม้ผู้ตายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน เนื่องจากติดเชื้ออย่างรุนแรง ย่อมถือได้ว่าการตายของผู้ตายเป็นผลธรรมดาอันสืบเนื่องจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่ามิใช่ถึงแก่ความตาย จากเหตุแทรกแซงหรือเหตุอื่นแต่อย่างใด จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 สรุป จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ถือได้ว่าการตายของผู้ตายเป็นผลธรรมดาอันสืบเนื่องจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 วางหลักว่า สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส … คำพิพากษาฎีกาที่ 3943/2561 การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ต่อมาผู้ร้องนำที่ดินพิพาทที่ซื้อได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้เงินกู้ก็เป็นสิทธิที่ผู้ร้องสามารถทำได้ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาจะร่วมผ่อนชำระด้วยก็เป็นเพียงการช่วยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้องในที่ดินพิพาท บ้านพิพาทบนที่ดินพิพาทเป็นบ้านตึกสองชั้นที่ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนบ้านหลังเดิมที่เป็นบ้านตึกชั้นเดียว แต่ยังคงใช้เลขที่บ้านเดิม และด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 และผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ใช้บ้านหลังดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าบ้านพิพาทก่อสร้างขึ้นโดยได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท อันถือได้ว่าเข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 และไม่ถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินอันตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ผู้เดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 หากแต่บ้านพิพาทเป็นสินสมรสไม่ใช่สินส่วนตัว...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2562 โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ สรุป การใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน "ไม่มีอายุความ" ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง วางหลักว่า ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง หลักเกณฑ์มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง 1. ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก 2. เพราะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือ 3. เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร 4. ระยะเวลาร้องขอ คือ ก่อนการแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2561 การร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องได้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้วโดยไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายหลงเหลือให้จัดการอีกต่อไป จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะอ้างเหตุว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยมีเจตนาทุจริตปกปิดผู้คัดค้านและบุตรซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ทั้งได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายอันอาจเป็นเหตุในการร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าการปันมรดกรายดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกภายหลังการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว สรุป การที่ผู้จัดการมรดกมีเจตนาทุจริต ปกปิดทายาท เเละได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นการกรณีที่ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ โดยหลักแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่ทั้งนี้การยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกต้องยื่นก่อนการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้น แต่คดีนี้เมื่อปรากฏว่าผู้มีส่วนได้เสียมายื่นหลังจากผู้จัดการมรดกได้จัดการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วซึ่งล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงหมดสิทธิยื่น ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป...
เดิมศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า การที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่ก็เป็นเรื่องที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยด้วยความสมัครใจโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ผู้กู้จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืน ตามมาตรา 407 และมาตรา 411 อีกทั้งไม่สามารถนำมาหักกับเงินต้นได้ (ฎ.99/2515, 1759/2545) อย่างไรก็ดี ปัจจุบันศาลฎีกาตัดสินว่า การที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะเป็นการชำระหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย เรียกคืนไม่ได้ ตาม ม.411 และถึงแม้ผู้ให้กู้จะไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย แต่กรณีนี้ก็มิใช่การชำระหนี้โดยตามอำเภอใจโดยผู้กู้รู้ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระ เพราะยังมีเงินต้นค้างชำระอยู่ จึงต้องนำดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วมาหักกับเงินต้น คำพิพากษาฎีกาที่ 5376/2560 ( ประชุมใหญ่ ) จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ซึ่งตกเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 จำเลยหาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ และจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย...
ป.อ. มาตรา 60 บัญญัติว่า ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลอื่นแต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายมิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น หลักเกณฑ์ของการกระทำโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60 มีดังต่อไปนี้ 1. ต้องมีผู้ถูกกระทำสองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายแรก คือ ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทำมุ่งหมายกระทำต่อโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ฝ่ายที่สอง คือ ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น 2. การกระทำโดยพลาด ผู้กระทำจะต้องไม่ประสงค์ต่อผลต่อบุคคลผู้ได้รับผลร้ายและต้องไม่เล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายด้วย หากเล็งเห็นผลก็เป็นเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 มิใช่เจตนาโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60 3. หากกระทำโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่งแต่ผลเกิดกับทรัพย์ของอีกคนหนึ่งก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60 ได้ 4. แม้ผลจะเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกสมเจตนาของผู้กระทำหากผลไปเกิดแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่งก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดด้วยเช่นกัน 5. การกระทำโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60...