การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่ มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ที่ ห้ามมิให้นายจ้าง ,หัวหน้างาน , ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน ทางเพศต่อลูกจ้าง นั้น แม้จะยังมิได้ถูกเนื้อต้องตัว ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศได้ หรือแม้ตัวลูกจ้างจะยินยอม นายจ้างก็มีความผิดตามมาตรานี้ แต่การที่ลูกจ้าง ยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินที่นายจ้างสั่งจ่ายเช็คช่วยชำระหนี้ให้ โดยนายจ้างมิได้บีบบังคับ จะถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศ ตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 12939/2558 การที่โจทก์มีเพศสัมพันธ์กับจำเลย เป็นไปโดยความสมัครใจเป็นการส่วนตัวทั้งที่โจทก์มีสามีและบุตรแล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อช่วยชำระหนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการที่จำเลยใช้อำนาจบังคับบัญชา บีบบังคับโจทก์ในหน้าที่การงาน ให้ต้องจำยอมมีเพศสัมพันธ์แต่ประการใด การกระทำของจำเลย จึงหาใช่เป็นการล่วงเกินทางเพศต่อโจทก์ตามความหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 16 ไม่ สรุป การล่วงละเมิดทางเพศ ผิดกฎหมายแรงงานครับ มีปัญหาทางคดี ปรึกษาทีมทนายอธิป 0917127444
คดีอาญาจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไปหรือไม่ ป.อ.มาตรา 78 นั้นถือเป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ หาใช่บทบังคับ ที่ศาลจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 10319/2558 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจของศาลในการลงโทษให้เหมาะสม แก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบังคับที่พึงจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด เพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำยาแลนเนต (ยาฆ่าแมลง)ใส่ในผลมะละกอให้ช้างกินเพื่อให้ช้างได้รับสารพิษ ในขณะที่ช้างยังไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้เลื่อยเหล็กตัดงาของช้าง จึงเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 (1) (11) วรรคสองประกอบมาตรา 336 ทวิ และเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง โหดเหี้ยมทารุณ ไร้มนุษยธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว สรุป การที่จำเลยรับสารภาพในคดีอาญา ศาลไม่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไป เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ไม่ใช่บทบังคับของกฎหมาย มีปัญหาคดีความ ปรึกษาคดีทีมทนายอธิป 091...
รถดับเพลิงขับชนรถขวางทางเข้าออกเพื่อไปดับเพลิงไหม้ ต้องรับผิดต่อรถที่จอดขวางทางหรือไม่ จอดรถขวางทางเข้าออกของสถานีรถดับเพลิง ปรากฎว่าเกิดเพลิงไหม้ สถานีดับเพลิงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบรรเทาบำบัดภัยอันเป็นสาธารณะที่เกิดขึ้น รถดับเพลิงจึงขับรถดับเพลิงดันรถที่จอดขวางให้ออกนอกเส้นทางเพื่อให้รถดับเพลิงสามารถออกไปปฏิบัติหน้าที่ได้ และรถที่จอดขวางได้รับความเสียหาย ต่อมาเจ้าของรถได้แจ้ง บ.ประกันเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้น จากนั้นบ.ประกันภัยรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องกับ ต้นสังกัดสถานีดับเพลิง เช่นนี้ ฝ่ายสถานีดับเพลิงจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ2 ว่าด้วยหนี้ ลักษณะ5 ละเมิด หมวด2 นิรโทษกรรม มาตรา 450 ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย การที่รถดับเพลิงขับดันรถที่จอดขวางทางเข้าออกเพื่อไปดับเพลิงไหม้ อันเป็นภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน จนรถที่จอดขวางเสียหาย รถดับเพลิงได้รับการนิรโทษกรรมตามข้อกฎหมาย ม.450 ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น ความเสียหายที่ถูกรถดับเพลิงชน ฝ่ายสถานีดับเพลิง ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีปัญหาคดีความ ปรึกษาทนายอธิป 091 712 7444
ความซวย....มาเยือน โอนเงินเข้าบัญชีที่มีชื่อของตัวแทนเพื่อให้ไปซื้อสินค้า ต่อมาปรากฏว่าตัวแทนตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จากนั้นเจ้าหนี้ของตัวแทนได้อายัดบัญชีเงินฝาก กรณีเช่นนี้ตัวการจะถอนเงินในบัญชีของจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ท. ในนามของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากเงินต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ตามมาตรา 672 ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ท. ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินฝากที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และ 672 แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว สรุป ถอนเงินคืนไม่ได้เพราะไม่ใช่เจ้าของบัญชีธนาคารดังกล่าว มีปัญหาคดีความ ติดต่อทนายอธิป 091 712 7444
เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง จะฟ้องร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ได้หรือไม่ ในกรณีที่เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง ถือเป็นกรณีที่ เจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจนำสัญญากู้ดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ได้ มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13707/2558 โจทก์บังคับให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท ทั้งที่ความจริงกู้ยืมเงินกันเพียง 10,000 บาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจแสวงหาผลประโยชน์จากสัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยไม่สุจริต ปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ข้อสังเกต คดีนี้ เดิมจำเลย กู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ได้ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท เมื่อจำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อ โจทก์ก็บังคับขู่เข็ญจำเลย ว่าจะนำตำรวจมาจับกุม เนื่องจาก ตัวจำเลย ได้รับเงินกู้จากโจทก์ไปเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทแล้ว ด้วยความกลัวจำเลยจึงลงลายมือชื่อไว้ ภายหลังโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุจำนวนเงินกู้ 100,000 บาทมาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลย  จำเลยจึงให้การต่อสู้คดีตามเหตุผลที่กล่าวมา...
การฉ้อฉลประกันภัย ตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (IAIS Insurance Core Principles) ICP 21: การต่อต้านการฉ้อฉลในการประกันภัย (Countering Fraud in Insurance) หน่วยงานที่กำกับดูแลกำหนดให้บริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยต้องดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อยับยั้ง ป้องกัน ตรวจสอบ รายงานและแก้ไขการฉ้อฉลในการประกันภัย เป็นที่มาของการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.ประกัรวินาศภัยและประกันชีวิตของไทย ให้มีบทกฎหมายว่าด้วย การฉ้อฉลประกันภัย ในกฎหมายแม่บทด้านประกันภัยทั้งสองฉบับ มาดูแนวทางกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ดังนี้ครับ เดิมกฎหมายเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความได้ แก้ไขใหม่เพิ่มเติมกฎหมายด้านประกันภัยให้มี ความผิดฐานฉ้อโกงประกันภัย(Insurance Fraud) โดยตรง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต มีบุคคลแอบอ้างตัวเป็นคนกลางประกันภัยหลอกลวงประชาชนว่า จะทำประกันภัยให้แต่ไม่ดำเนินการดังกล่าว ปัญหาในการดำเนินการที่ผ่านมา ภาครัฐไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยผู้ที่ถูกหลอกลวงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยรับเบี้ยจากผู้เอาประกันภัยแล้วแต่ไม่นำส่งแก่บริษัทประกันภัย ปัญหาการดำเนินการที่ผ่านมา มีเพียงกระบวนการในการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยเท่านั้น การฉ้อฉลประกันภัย ร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามฐานความผิด ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้มีการทำประกันภัย วางหลักไว้ว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง...
คำถาม นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เจ้าของที่ดินเสร็จเรียบร้อย มีสิทธิได้ค่านายหน้า แต่เจ้าของที่ดินไม่ให้ จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ? คำตอบ มีแนวคำพิพากษาฎีกา ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จัดการขายที่ดินให้จำเลยที่๑ โจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยที่๑ โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10  แต่จำเลยที่๑ และจำเลยที่๒ ร่วมกันทุจริตแจ้งความเท็จและปกปิดความจริงต่อโจทก์  โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ.และก.ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์ไป ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ แต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดฐานฉ้อโกง   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2557 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 3 แปลง ทำสัญญานายหน้ากับโจทก์กับพวกเพื่อให้โจทก์กับพวกทำหน้าที่ชี้ช่องติดต่อหาผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์กับพวกติดต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะซื้อที่ดิน แต่ยังไม่มีการนัดจดทะเบียนโอน จำเลยทั้งสองร่วมกัน...
เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนไม่ได้ บ.ประกันภัย จะรับผิดชอบค่ายกลากให้หรือไม่? ในสัญญาประกันภัย หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ3 และหมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ ข้อ 3 มีความคุ้มครองเรื่องการดูแลขนย้าย ดังนี้คือ เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายซึ่งมีการคุ้มครองตามกรมธรรม์นี้ บริษัทจะจ่ายค่าดูแลรักษารถยนต์ และค่าขนย้ายรถยนต์ทั้งหมดนับแต่วันเกิดเหตุ จนกว่าการซ่อมแซม หรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะเสร็จสิ้นตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อมแซม นอกจากกรมธรรม์ประกันภัยนี้จะชดใช้ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัยแล้ว บ.ประกันภัย ยังมีหน้าที่ชดใช้ค่าดูแลรักษาและค่าขนย้ายรถยนต์ตามที่จ่ายไปจริง ในระหว่างซ่อมแซมหรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนยังไม่แล้วเสร็จ แต่ค่าดูแลรักษาและค่าขนย้ายจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง เช่น รถยนต์เกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ พนักงานสอบสวนทำการลากรถยนต์ไปที่สถานีตำรวจ และเมื่อใช้เป็นหลักฐานทางคดีแล้วเสร็จ จึงได้ลากรถไปที่อู่เพื่อทำการซ่อมแซม ค่าลากรถยนต์ทั้งสองช่วงนี้ บ.ประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบ ของค่าซ่อม แต่ในบางกรณี แม้ค่าลากและค่าดูแลรักษารถยนต์จะเกินร้อยละยี่สิบ ของค่าซ่อม บ.ประกันภัย ก็ไม่พ้นความรับผิด เช่น บ.ประกันภัย...
นำรถยนต์ไปแข่งแรลลี่ แล้วเกิดเหตุ บ.ประกันรับผิดชอบหรือไม่ ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกข้อ 7.3 และหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 8.3 เป็นข้อยกเว้นการใช้รถ คือ ไม่คุ้มครองการใช้รถในการแข่งขันความเร็ว (แข่งกันสองคันขึ้นไปพร้อมๆกัน) ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงภัยสูงขึ้น มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากให้ความคุ้มครองจะไม่เป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยรายอื่น เมื่อเกิดเหตุเพราะการแข่งขันความเร็ว บ.ประกันจะไม่คุ้มครอง เคลมไม่ได้ แต่กรณีการแข่งขันแรลลี่ ที่มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันความเร็ว (แรลลี่ ปล่อยให้ขับไปทีละคัน ผ่านด่านต่างๆ) ไม่อยู่ภายใต้ข้อยกเว้นดังกล่าว ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในขณะแข่งขันแรลลี่ เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก และตัวรถยนต์คันทำประกันเสียหาย ความเสียหายดังกล่าว จึงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ คือเคลมได้ครับ สรุป นำรถไปแข่งแรลลี่ แล้วเกิดอุบัติเหตุ บ.ประกันภัย ต้องรับผิดชอบ เคลมได้ครับ มีปัญหาคดีความ ติดต่อทนายอธิป 091 712...
ใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ โดยปกติทั่วไป ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองความเสียหายในทุกกรณี แต่มีข้อยกเว้นเรื่องการใช้รถผิดกฎหมายที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครอง  คือ ในสัญญาประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 8.2 และหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 7.2 มีใจความสำคัญดังนี้ คือ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง การใช้รถยนต์ไปในทางผิดกฎหมาย เช่น ใช้รถยนต์ไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือ ขนยาเสพติด เป็นต้น ข้อยกเว้นดังกล่าว มีเจตนาจะยกเว้นการใช้รถยนต์เพื่อประโยชน์ในการกระทำผิดกฎหมายโดยตรงเท่านั้น เช่น ใช้รถไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด แต่มิได้หมายความรวมถึงการทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การฝ่าฝืนสัญญาณไฟ หรือสัญญาณจราจร การบรรทุกน้ำหนักเกิน เป็นต้น กรณีอย่างไรที่จะถือว่าเป็นการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป เช่น การขับรถบรรทุกคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง...