Home Authors Posts by Athip Schumjinda

Athip Schumjinda

420 POSTS 0 COMMENTS

การจอดรถบนถนนกับจอดรถข้างถนนแล้วมีรถอื่นมาชนมีคนตายเป็นความผิดหรือไม่

0
การจอดรถบนถนนกับจอดรถข้างถนนแล้วมีรถอื่นมาชนมีคนตายเป็นความผิดหรือไม่ หลักเกณฑ์ของการกระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า กระทำโดยประมาทได้แก่กระทำความผิด มิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ มาดูตัวอย่างตามปัญหาข้างต้น 1.กรณีที่ถือว่าเป็นการกระทําโดยประมาท กรณีการจอดรถบนถนน   คำพิพากษาฎีกาที่ 2884/2555 ...การที่จำเลยจอดรถโดยส่วนของรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถด้านซ้ายเกือบครึ่งคันรถ ควรที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด กล่าวคือต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเพื่อให้รถที่แล่นผ่านบริเวณนั้นได้เห็นชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ... การที่ผู้ตายขับรถมาตามทางแล้วเฉี่ยวชนท้ายรถคันที่จำเลยขับ โดยท้ายรถของผู้ตายชนกับท้ายรถคันที่จำเลยขับ แสดงให้เห็นว่าผู้ตายได้ห้ามล้อรถอย่างกะทันหัน ทำให้รถหมุน ย่อมบ่งแสดงว่าผู้ตายเห็นรถคันที่จำเลยขับมาจอดไว้ในระยะกระชั้นชิด หรือมิฉะนั้นอาจเกิดจากผู้ตายขับรถทับยางรถยนต์ที่จำเลยวางไว้ จึงตกใจห้ามล้ออย่างกะทันหัน ... เนื่องจากสียางรถยนต์กับสีพื้นถนนกลมกลืนกัน ทำให้ผู้ตายมองไม่เห็นเมื่อรถทับยางจึงตกใจแล้วจึงห้ามล้อ ......

ลูกจ้างตำแหน่งอะไรบ้าง ที่นายจ้างอาจเรียกหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานได้

0
ลูกจ้างที่นายจ้างอาจเรียกหรือรับ หลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานได้ ก็คือลูกจ้างที่ทำงานในลักษณะหรือสภาพต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ อย่างไรก็ตามลักษณะหรือสภาพของงานประเภทใดที่นายจ้างเรียกหรือรับประกันจากลูกจ้างได้ ประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ถูกกำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่ง ประกาศกระทรวงแรงงาน #เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสี่ยงในการทำงานจากลูกจ้าง พศ 2551 กำหนดว่า #ข้อ4 ลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างจะเรียกหรือรับประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ ได้แก่ (1) งานสมุห์บัญชี (2) งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน (3) งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือเพชร พลอยเงิน ทองคำ ทองคำขาวและไข่มุก (4) งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง (5)...

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทเฉพาะภัย 2+3+ หากเกิดเหตุโดยไม่ทราบคู่กรณี เคลมได้หรือไม่

0
ปัญหากรมธรรม์ประกันภัยแบบเฉพาะภัย 2+ 3+ ที่เกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้า กับ บ.ประกันภัย ขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 5238/2561 ...ตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบคุ้มครองเฉพาะภัยระบุว่า บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์... และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ...อันเป็นเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในฐานะนายทะเบียนมีคำสั่งนายทะเบียนที่ 4/2551 ออกตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยพ.ศ 2535 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับได้ ...กำหนดว่าการแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ให้หมายความรวมถึงผู้เอาประกันภัยต้องสามารถแจ้งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของคู่กรณี ให้บริษัททราบ โดยไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดถึงผู้ขับขี่รถยนต์คู่กรณี ...เมื่อโจทก์ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบหมายเลขทะเบียน รถจักรยานยนต์ที่จอดระบุว่าขับมาเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย จนได้รับความเสียหาย ...ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์สามารถแจ้งให้จำเลยทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ เป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบคุ้มครองเฉพาะภัย...

ซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะเป็นของฝ่ายใด และหากผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินที่ค้าง ผู้ขายจะเอารถยนต์กลับคืนมาโดยพลการเป็นความผิดหรือไม่

0
ซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะเป็นของฝ่ายใด และหากผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินที่ค้าง ผู้ขายจะเอารถยนต์กลับคืนมาโดยพลการเป็นความผิดหรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 9603/2553 (ประชุมใหญ่) โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์กับจำเลยในราคา 310,000 บาท ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 28 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์แต่ประการใด จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่เมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน...

ลูกจ้างลักรถลูกค้าไปนายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่และบ.ประกันจะฟ้องให้ส่งรถคืนได้หรือไม่

0
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของลูกค้าไปทดลองขับ หลังจากการเปลี่ยนยาง แต่ลูกจ้างลักรถยนต์ไป นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดด้วยหรือไม่ และผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยจะฟ้องบุคคลภายนอกให้ส่งคืนรถยนต์ที่ลักไปได้หรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2706/2557 จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัยไปลองยาง ภายหลังจากการเปลี่ยนยางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 จากนั้นจำเลยที่ 1 และรถยนต์ดังกล่าวไปอันเป็นการละเมิดและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...

คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 2

0
คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 2 เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ตัดสินไว้ว่า ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันทีไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ ได้กำหนดไว้ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 มีทั้งหมด 6 ประเภท ประเภทที่ 1 ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 ในตอนที่ 2 นี้มาดูประเภทที่ 2-6 ประเภทที่ 2 อยู่ใน มาตรา119...

คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 1

0
คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 1 เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ตัดสินไว้ว่า ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันทีไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ ได้กำหนดไว้ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 มีทั้งหมด 6 ประเภท ในตอนที่ 1 นี้มาดูประเภทแรก ตัวอย่าง ตามมาตรา119 (1) การทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้ 1. ใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกรับเงิน ผลประโยชน์จากลูกค้าของนายจ้าง 2. เอางานส่วนตัว หรืองานคนอื่นมาทำในเวลางาน 3....

เป็นผู้บริหารด้วยเป็นตัวแทนประกันด้วยยังเป็นลูกจ้างอยู่ไหม เมื่อถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

0
เป็นผู้บริหารด้วย เป็นตัวแทนประกันด้วย ยังเป็นลูกจ้างอยู่ไหม เมื่อถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ศาลฎีกาเคยตัดสินว่า นายจ้างจ้างลูกจ้างเข้าทำงานตั้งแต่ปี 2526 ทำงานประจำเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการภาคเหนือ ในปี 2531 และเป็น ผู้อำนวยการภาคในปี 2533 ซึ่งเป็นงานบริหาร เป็นงานประจำ ทำตามคำสั่งของนายจ้างตลอดมา ลูกจ้างที่มีฐานะเป็นลูกจ้างแล้ว การแต่งตั้งให้มีอำนาจรับทำประกันหรือทำสัญญาประกันโดยออกกรมธรรม์สาขาได้ในปี 2539 นั้นเป็นเพียงใดทำหน้าที่เพิ่มเติมจากการบริหารเป็นบางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่เพียงงานให้เป็นตัวแทนประกันโดยสิ้นเชิง ลูกจ้างยังคงเป็นลูกจ้างต่อเนื่องเรื่อยมา จนปี 2541 ที่เลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตามมาตรา 119 ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีแรงงานที่...

สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ หากผู้กู้ถึงแก่ความตาย ผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ให้ชำระหนี้เงินกู้ ภายในกำหนดอายุความกี่ปี

0
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ หากผู้กู้ถึงแก่ความตาย ผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ให้ชำระหนี้เงินกู้ ภายในกำหนดอายุความกี่ปี มีคำพิพากษาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 8811/2556 สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจริงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถาม ก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อ เจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิ์เรียกร้องนั้นภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ...

ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไป จะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ?

0
ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ ? และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไปจะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ? มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ 1.คำพิพากษาฎีกาที่ 1894/2546 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิ์ยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินก็โดยจำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้ มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายคำฟ้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ คืนโดยอาศัยข้อตกลงในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวนั้นเอง แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิ บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ไม่สามารถใช้ยันบุคคลอื่นได้ ส่วนสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 หมายถึง การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น หนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียง หนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้น หาได้เป็นคนแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่โฉนดที่ดินดังกล่าวไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาท 2. คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2515 ในประเด็นที่ว่าการที่โจทก์ได้คืนโฉนด ที่ดินให้กับจำเลยที่ 1...