Home Authors Posts by Athip Schumjinda

Athip Schumjinda

420 POSTS 0 COMMENTS

สนับสนุนให้กระทำผิดโดยประมาทได้หรือไม่

0
สนับสนุนให้กระทำผิดโดยประมาทได้หรือไม่ ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้กระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดโดยประมาทไม่อาจมีได้ตามกฎหมาย เพราะผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนด้วย โดยสภาพจึงไม่อาจมีการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยประมาทได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2534 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันตามกฎหมายที่จะต้องร่วมกันจัดทำแผ่นป้ายแสดงข้อความว่ารถกำลังลากจูง และต้องจัดให้มีและเปิดโคม ไฟหรือจุดไฟแสงขาวส่องที่ป้ายดังกล่าว เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้ใช้ถนนหรือผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังมามองเห็นได้ว่ามีการลากจูง จำเลยทั้งสองสามารถกระทำและใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแต่ไม่ได้กระทำ เป็นการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงความประมาทของจำเลยทั้งสองไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทอย่างไร โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสไม่ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในข้อ 1(ข)ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว..."และในฟ้องข้อ 1 ก. ดังกล่าวจะมีข้อหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยประมาทอยู่ก็ตามแต่ก็มีความผิดซึ่งเป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยเจตนาอยู่ด้วย...

กุญแจรถหายเคลมได้หรือไม่

0
กุญแจรถ ถือเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของรถยนต์เช่นกัน ในกรณีที่ทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1, 2, หรือ 2+ แล้วกุญแจรถหาย เนื่องจากถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ เช่น มีขโมยขึ้นบ้าน หรือวิ่งราว ผู้เอาประกันสามารถเคลมค่าเสียหายได้ โดยใช้หลักฐานการแจ้งความกับตำรวจเป็นหลักฐานในการเคลมค่าเสียหาย แต่ถ้าหากการทำกุญแจสูญหายนั้นเกิดจากการลืมไว้ที่ใดที่หนึ่งจากความประมาท หรือชำรุดเสียหายเนื่องจากการใช้งานตามเวลา ในกรณีดังกล่าวจะไม่สามารถเคลมได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่...

รถไฟไหม้ ประกันภัยรับผิดชอบอย่างไร

0
“รถของใครใครก็รัก ก็หวงเป็นเรื่องธรรมดา” กว่าจะเก็บตังค์ถอยป้ายแดงมาใหม่ หรือว่าจะเป็นรถมือสองสักคันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ใครจะไปคิดล่ะ!! ว่า รถไฟไหม้จะกลายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เจ้าของรถทั้งหลายถ้าไม่อยากช้ำใจ การทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ก็เป็นอีกหนึ่งความคุ้มครองที่ช่วยคุณได้นะ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งรถหายและรถไฟไหม้ควบคู่ไปด้วยกัน เลยทำให้คุณสบายใจได้ ไประดับหนึ่งเลยครับ แต่ว่าจะมีประกันรถยนต์ประเภทไหนที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของเราจากกรณีนี้บ้าง ประกันชั้น 1 และ 2+ คุ้มครองรถไฟไหม้อย่างไรบ้าง ความคุ้มครองหลังจากซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือ 2+ นอกจากจะดูแลอุบัติเหตุรถชนรถ หรือรถชนสิ่งอื่นๆ...

ความผิดฐานฉ้อโกงกับการผิดสัญญาทางแพ่งต่างกันอย่างไร

0
ความผิดฐานฉ้อโกงกับการผิดสัญญาทางแพ่งต่างกันอย่างไร การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรอง บางกรณีเป็นปัญหาคาบเกี่ยวว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งหรือเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงด้วย แนวทางการพิจารณาคือต้องดูว่าขณะทำสัญญาหรือให้คำรับรองนั้น จำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรองนั้นหรือไม่ ถ้ามีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรอง แม้ภายหลังไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรองนั้นได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ จะถือว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จไม่ได้ คงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ผิดฐานฉ้อโกง แนวคำพิพากษาฎีกาที่ 19657/2557 จำเลยทำสัญญาลากจูงทางทะเลระหว่างประเทศเพื่อทำการลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์ร่วมจากราชอาณาจักรสวีเดนมายังราชอาณาจักรไทยโดยปลอดภัย แต่เรือดำน้ำของโจทก์ร่วมจมเสียก่อนระหว่างทำการลากจูงในทะเลเหนือ และไม่สามารถนำมายังราชอาณาจักรไทยได้ จึงเป็นเรื่องในอนาคตที่จำเลยรับทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ และมิใช่จำเลยตั้งใจจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรองของจำเลย ก่อนทำสัญญาว่าจำเลยประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการลากจูงเรือเดินสมุทรมาหลายปี มีกัปตันเรือ และเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ความสามารถ และจำเลยเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรที่สามารถลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์ร่วมได้ ดังนี้จึงไม่เป็นการหลอกลวงอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แนวคำพิพากษาฎีกาที่ 3366/2561...

นิติบุคคลเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่

0
นิติบุคคลเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่ เมื่อสาขาของนิติบุคคลหรือศูนย์การศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายถือเป็นหน่วยงานหนึ่งของนิติบุคคลนั้น ดังนั้นการหมิ่นประมาทสาขาของนิติบุคคลหรือศูนย์การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ถือเป็นการหมิ่นประมาทนิติบุคคลนั้น นิติบุคคลนั้นจึงเป็นผู้เสียหาย มีคำพิพากษาฎีกาที่ 18162/2557 วิทยาลัย ฉ. ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคล ตามพรบสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ. ศ. 2546 มาตรา 4 และตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน อาจจัดการศึกษาในสาขาวิชาใดนอกสถานที่ตั้งได้ ดังนั้นวิทยาลัย ฉ. ศูนย์นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของวิทยาลัย...

คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้หรือไม่

0
คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้หรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 1852/2555 การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายเองก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ที่จะนำความผิดอันยอมความได้มาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ซึ่งการขอถอนคำร้องทุกข์ ผู้เสียหายที่ 1 และโจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้คดีจะอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 และโจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบแล้วขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล สิทธินำคดีในความผิดอันยอมความได้มาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไป...

อายุความประกันวินาศภัย รับช่วงสิทธิ ค้ำประกัน ต่างกันอย่างไร

0
อายุความประกันวินาศภัย รับช่วงสิทธิ ค้ำประกัน ต่างกันอย่างไร อายุความตามมาตรา 882 เป็นอายุความฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นความรับผิดตามสัญญาประกันภัย แต่ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้ทำละเมิดตามมาตรา 880 นั้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามมาตรา 882 แต่ถือหลักตามกฎหมายการรับช่วงสิทธิที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิ มีสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันที่ตนรับช่วงสิทธิมา ดังนี้ ผู้รับประกันภัยต้องฟ้องผู้ทำละเมิด ภายในอายุความละเมิดตามมาตรา 448 เช่นเดียวกับสิทธิของผู้เอาประกันภัย ฎีกาที่ 5197/2558 ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นสองปีนับแต่วันวินาศภัย หมายความถึงว่าในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี...

หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใด แม้ไม่ได้เป็นกรรมการนิติบุคคล เมื่อนิติบุคคลประสบปัญหาจะขอให้ศาลสั่งเลิกนิติบุคคลได้หรือไม่

0
หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใด แม้ไม่ได้เป็นกรรมการนิติบุคคล เมื่อนิติบุคคลประสบปัญหาจะขอให้ศาลสั่งเลิกนิติบุคคลได้หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057 “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้ คือ (1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก (3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้” การเลิกโดยคำสั่งศาลนี้ ศาลอาจสั่งให้เลิกห้างหรือไม่ก็ได้ เป็นดุลพินิจศาล โดยบุคคลที่จะร้องขอต่อศาลได้นั้น คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดก็ได้ กฎหมายไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นคนที่ไม่ได้ละเมิด...

สัญญาประกันภัยคืออะไร

0
#สัญญาประกันภัย คืออะไร ปรากฎในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 861 ใจความว่า สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญา และบุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย (มาตรา861) วินาศภัยที่จะเอามาประกันภัยได้ต้องเป็นวินาศภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากทำสัญญาแล้ว #จะนำเอาวินาศภัยที่เกิดขึ้นแล้วมาทำสัญญาประกันภัยไม่ได้ ฎีกาที่ 2513/2518 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์สิ้นอายุเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ต่อมาวันที่ 24 กรกฎาคมเกิดอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ใหม่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 กรกฎาคม...

บุตรนอกกฎหมาย มีสิทธิอะไรบ้าง

0
“บุตรนอกกฎหมาย มีสิทธิอะไรบ้าง" ๑.บุตรที่เกิดระหว่างบิดามารดาอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั้งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต้องถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘๐/๒๔๙๔ ๒.ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำส่างศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ...