Home Authors Posts by Athip Schumjinda

Athip Schumjinda

420 POSTS 0 COMMENTS

ในกรณีที่รถที่เจ้าของได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทได้โอนไปยังบุคคลอื่นกรมธรรม์จะยังคุ้มครองหรือไม่

0
การโอนรถ ในกรณีที่รถที่เจ้าของได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทได้โอนไปยังบุคคลอื่น ให้ผู้ได้มาซึ่งรถดังกล่าวมีฐานะเสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และบริษัทต้องรับผิดตามกรมธรรม์ ประกันภัยดังกล่าวต่อไปตลอดอายุของกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่เพื่อให้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ติดตามไปกับตัวรถยนต์ ฉะนั้นการโอนกรรมสิทธิ์สิทธิครอบครอง ไม่ทําให้สัญญาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้สิ้นผลบังคับ โดยให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตาม กรมธรรม์ประกันภัยนี้ ตัวอย่าง บริษัทจํากัดนํารถส่วนตัวของกรรมการไปทําประกันภัยในนามของบริษัทจํากัด ต่อมากรรมการได้โอนรถยนต์ให้แก่นาย ก. ต้องถือว่านาย ก. เป็นผู้เอาประกันภัยและมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

ถ้าผู้เอาประกันภัยถูกฟ้องศาลให้ใช้ค่าเสียหาย บริษัทประกันจะต่อสู้ในนามของผู้เอาประกันหรือผู้ขับขี่ได้หรือไม่

0
เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย หรือผู้โดยสารถูกคู่กรณีฟ้องศาลเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ซึ่งการประกันภัยนี้มีการคุ้มครองบริษัทจะเข้าต่อสู้คดีในนามของผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสาร โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท การที่บริษัทจะต่อสู้คดีแทนผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารได้ นั้นต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้นั้นด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัย หากบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะให้บริษัทเข้าต่อสู้คดีแทนแล้ว บริษัทก็ไม่มีสิทธิเข้าต่อสู้คดีแทน แต่เพื่อประโยชน์ได้เสีย ของบริษัท บริษัทอาจร้องสอดเข้าเป็นคู่ความร่วมในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 ก็ได้ กล่าวโดยสรุป ถ้าผู้เอาประกันภัยถูกฟ้องศาลให้ใช้ค่าเสียหาย ซึ่งการประกันภัยนี้มีการคุ้มครองบริษัทจะต่อสู้คดีในนามของผู้เอาประกันภัยโดยค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

การแจ้งอุบัติเหตุเมื่อมีความเสียหายต่อผู้ประสบภัยจากรถผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องดำเนินการอย่างไร

0
เป็นการกําหนดหน้าที่ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยจะต้องแจ้งอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้ารวมถึงการนัดหมายของพนักงานสอบสวน การนัดหมายเจรจาค่าสินไหมทดแทน กับคู่กรณี การส่งหนังสือทวงถาม หรือหมายเรียกสําเนาคําฟ้องให้แก่บริษัท เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกทวงถามให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือถูกฟ้องต่อศาลต้องแจ้งให้บริษัททราบด้วยเพื่อให้บริษัทได้ทําการตรวจสอบความเสียหายที่แท้จริง และ/หรือปกป้องความเสียหายที่เกิดขึ้นมิให้ความเสียหายขยายหรือเพิ่มขึ้นได้ และเพื่อให้บริษัทเข้ามาดูแลรักษาสิทธิ อันพึงมีพึงได้ของทั้งสองฝ่ายและดําเนินการอันจําเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายต่อไป การแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หมายถึง ผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทผู้รับประกันภัย ทราบถึงเหตุแห่งความเสียหายหรือความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดขึ้น ในทันทีที่สามารถแจ้งได้ เช่น กรณีที่รถคันเอาประกันภัยไปเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถคู่กรณีเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย เมื่อพนักงาน สอบสวนหรือคู่กรณีมีการนัดหมาย ผู้ขับขี่ และ/หรือ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบก่อนวันเวลานัดหมาย เพื่อให้บริษัทเข้ามาดูแลรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของทั้งสองฝ่าย...

ผู้เอาประกันภัยจะตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยที่ประกันไม่ยินยอมได้หรือไม่

0
ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทและทําให้บริษัทเสียหาย บริษัทอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันภัยอันเกิดจากการนั้น เว้นแต่ความเสียหายนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และบริษัทไม่จัดการต่อการเรียกร้องนั้น ถ้าหากในกรณีที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เป็นความรับผิดของผู้เอาประกันภัย แต่ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดและไปตกลงยินยอมเสนอให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดแม้จะไม่ได้ รับความยินยอมจากบริษัท บริษัทก็ไม่สามารถยกเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้ บริษัทเพียงแต่ไม่ผูกพันรับผิดตามจํานวนที่ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ แต่ยังคงผูกพันรับผิดตามจํานวนค่าเสียหายที่แท้จริง เช่น ตัวอย่าง นายแดงขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้ไปประสบอุบัติเหตุ ทําให้นายขาวผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย และความเสียหายนั้นนายแดงเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย แล้วนายแดงไปตกลงชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่นายขาว จํานวน 30,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ความเสียหายที่แท้จริงที่นายขาวได้รับเป็น...

กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายหลายกรณี บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครองกรณีไหนบ้าง

0
กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัยหลายกรณี บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีจํานวนเงินคุ้มครองที่สูงกว่า เนื่องจากอุบัติเหตุจากรถนั้นอาจทําให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายหรือความสูญเสียได้มากกว่าหนึ่งรายการ การได้รับการคุ้มครองบริษัทจะพิจารณาชดใช้ให้ตามความสูญเสียที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ และมีจํานวนเงินความคุ้มครองที่สูงกว่าเป็นสําคัญ เช่น เบื้องต้นผู้ประสบภัยสูญเสียนิ้วโดยถูกตัดขาดหนึ่งข้อนิ้วบริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทน จํานวน 200,000 บาท และต่อมาดวงตาข้างขวาบอดสนิทหนึ่งข้างจากอุบัติเหตุในคราวเดียวกัน ซึ่งหากสูญเสียดวงตา หนึ่งข้างจะได้รับความคุ้มครอง จํานวน 250,000 บาท กรณีเช่นนี้หากบริษัทได้จ่ายกรณีสูญเสียนิ้วไปแล้ว จํานวน 200,000 บาท บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มให้กับผู้ประสบภัยอีกจํานวน 50,000 บาท เมื่อรวมกับที่จ่ายไปก่อน...

ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษทัจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาทต่อหนึ่งคนในกรณีต่อไปนี้

0
กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่ง ข้างหรือสายตาหนึ่งข้าง(ตาบอด)กรณีใดกรณีหนึ่งบริษทัจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาทต่อหนึ่งคน ตาบอด หมายความว่า ดวงตาถูกทําให้เสียหายอย่างรุนแรง ถึงขนาดสูญเสียความสามารถในการ มองเห็นภาพไปโดยสิ้นเชิง แม้ดวงตาไม่ได้หลุดออกไปจากเบ้าตา แต่มองไม่เห็นภาพหรือเห็นแสงเพียงอย่างเดียวก็ถือว่าตาบอด ถ้าเห็นภาพมัวหรือลาง ๆ ไม่ชัดเจนเหมือนเดิมไม่ถือว่าตาบอด การที่ถือว่าตาบอดนั้นจะต้องตาบอด ตลอดไปไม่ใชตาบอดชั่วคราว ตาบอดในข้อนี้หมายถึงดวงตาบอดหนึ่งข้าง เสียแขน หมายความว่า การสูญเสียหรือถูกทําลายของแขนหนึ่งข้าง โดยแขนนั้นถูกตัดออกตั้งแต่ข้อศอก ให้ถือว่าเป็นการสูญเสียแขนและให้หมายความรวมถึงการสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของแขนโดยถาวรสิ้นเชิงด้วย เช่น...

หลักเกณฑ์ในการเพิ่มเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดีมีหลักการคิดอย่างไร

0
การเพิ่มเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดี ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัท และมีการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างปีที่เอาประกันภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาทหรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึง คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ อย่างน้อยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปรวมกันมีจํานวนเงินเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย บริษัทจะเพิ่มเบี้ยประกันภัยเป็นขั้น ๆ ดังนี้ ขั้นที่ 1 20% ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ขั้นที่ 2 30% ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อบริษัท 2 ปี ติดต่อกัน ขั้นที่ 3 40% ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อบริษัท...

ผู้ขับขี่รถคันเอาประกันภัยที่มิใช่ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่

0
การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใด ซึ่งขับขี่รถโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง และบุคคลนั้นต้องปฏิบัติตนเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง และอยู่ภายใต้ ข้อกําหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ตัวอย่าง เช่น นายแดงยืมรถนายขาวซึ่งทําประกันภัยไว้ไปใช้และประสบอุบัติเหตุ ชนนายดํา เป็นเหตุให้นายดําผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ซึ่งหากไม่มีข้อกําหนดนี้แล้วบริษัทก็อาจรับผิดต่อนายดําผู้ประสบภัยเฉพาะเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากการคุ้มครองผู้ประสบภัยตามเงื่อนไข จะคุ้มครองผู้ประสบภัยในส่วนค่าสินไหมทดแทนก็เฉพาะความเสียหายนั้นเกิดจากความประมาทของนายขาว ผู้เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อนายแดงมิใช่ผู้เอาประกันภัย บริษัทก็ไม่ต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนของนายดํา แต่เนื่องจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นรถคันหนึ่ง ๆ มิใช่จะมีผู้ใช้รถเพียงคนเดียว ดังนั้นเพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ คุ้มครองครอบคลุมไปถึงผู้ขับขี่คนอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้เอาประกันภัย...

การโอนรถที่ทําประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ต้องทำอย่างไร

0
การโอนรถยนต์ เมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถให้แก่ผู้อื่น ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้และบริษัทต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัยที่เหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ทําประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ให้บริษัททราบ เพื่อจะได้มีการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยตามสภาพความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนแปลงไป มิฉะนั้นผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกเองตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยนี้ สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ และผู้เอาประกันภัยได้ขายรถยนต์ให้แก่ผู้มีอาชีพรับซื้อขายรถยนต์ หรือให้เช่ารถยนต์ หรือซ่อมแซมรถยนต์ หรือบํารุงรักษารถยนต์ ไม่ว่าการขายนั้นจะได้มีการทําเป็นหนังสือ หรือมีการจดทะเบียนโอนทางทะเบียนหรือไม่ก็ตาม กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะสิ้นสุดความคุ้มครองนับแต่ วัน เวลาที่มีการขายรถยนต์ บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสําหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งการขายจากผู้เอาประกันภัย หรือกรณีที่บริษัททราบถึงการขายรถยนต์ดังกล่าว บริษัทจะแจ้งการสิ้นสุดความคุ้มครองพร้อมคืนเบี้ยประกันภัย...

ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์“ความเสียหายส่วนแรก” หมายถึงอะไร

0
“ความเสียหายส่วนแรก” หมายถึง ส่วนแรกของความรับผิดหรือความเสียหายอันมีการคุ้มครองตามข้อสัญญา หรือเอกสารแนบท้ายแห่งกรมธรรม์ประกันภัยนี้ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ความเสียหายส่วนแรก หมายถึง จํานวนเงินส่วนแรกของความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ตามที่กําหนดในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์และในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ตัวอย่าง กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ในตารางว่า ความเสียหายส่วนแรกสําหรับความเสียหายต่อรถยนต์ เป็นจํานวนเงิน 3,000 บาท ดังนั้นเมื่อรถยนต์คันเอาประกันภัยไปประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่นเป็นเหตุให้รถยนต์คันเอาประกันภัยเสียหายเป็นจํานวนเงิน 12,000 บาท และรถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาทแล้ว ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองเป็น จํานวน 3,000 บาท บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ในส่วนที่เกินกว่าความเสียหายส่วนแรก คือ 9,000...