ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความผิดในฐานหมิ่นประมาทนั้นมีองค์ประกอบและความเสียหายที่ต่างกันออกไป ดังนี้ หมิ่นประมาทในทางแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ ความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่าความแตกต่างของหมิ่นประมาทในทางแพ่งกับหมิ่นประมาททางอาญาต่างกันตรงที่ “เจตนา” กล่าวคือ หมิ่นประมาททางอาญา จะต้องกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา หรือโดยประมาท ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ในทางแพ่ง แม้ไม่มีเจตนาก็ถือว่าหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ ก็ต้องรับผิดทางละเมิด ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด ตรงข้ามกับทางอาญา แม้จะเป็นข้อความที่เป็นจริง ก็อาจมีความผิดได้ เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในประเด็นเรื่องความเสียหายความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ส่วนความเสียหายอื่นๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด เช่น...
สัญญาประกันชีวิตมีหลักที่สำคัญคือ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีความสุจริตใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อผู้ขอเอาประกันชีวิต ตกลงทำสัญญาประกันชีวิตแล้ว ผู้ขอเอาประกันชีวิตจะต้องกรอกข้อความเป็นที่จริงในใบคำขอ บริษัทจะใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะรับประกันหรือไม่ หรือจะไม่รับ การไม่กรอกรายละเอียดในคำขอให้ครบถ้วนถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้ขอเอาประกันภัย ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องทราบก่อนรับประกันชีวิต สัญญาที่เกิดขึ้นจากการปกปิดข้อเท็จจริง เรียกว่า สัญญาที่เป็นโมฆียะ บริษัทมีสิทธิบอกล้างได้ โดยบริษัทจะต้องบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่บริษัทได้รับทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ การปฏิเสธการจ่ายเงินประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตจะไม่จ่ายเงินเอาประกันภัยจากการประกันชีวิตตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีต่อไปนี้ 1. การฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้การฆ่าตัวตาย เพื่อหวังจำนวนเงินเอาประกันภัย ดังนั้น หากจะฆ่าตัวตายเพื่อให้ได้เงินประกันต้องรอให้สัญญาประกันภัยมีอายุครบ 1 ปีก่อน ***หมายเหตุ เคยมีกรณีผู้เอาประกันนับวันผิดก่อนฆ่าตัวตาย คือในปีนั้นมี 366 วัน แต่ผู้เอาประกันฆ่าตัวตายวันที่...
บัตรเครดิตนั้นหากมีการใช้อย่างมีวินัยย่อมจะไม่เกิดปัญหาต่อตนเองอย่างแน่นอน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็นำมาซึ่งความกังวลและนำไปสู่การเป็นหนี้บัตรเครดิตอย่างไม่ตั้งใจจนถึงขั้นอาจจะได้รับหมายศาลบัตรเครดิตได้หากมีการผิดนัดการชำระ หรือไม่ชำระ ปัญหาของหนี้บัตรเครดิตที่เกิดจากการผิดนัดชำระหรือการชำระแบบขั้นต่ำจนทำให้เกิดดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และไม่สามารถนำเงินกลับมาคืนให้กับสถาบันการเงินได้ เมื่อสถาบันการเงินเริ่มติดต่อทวงถามค่าบัตรเครดิต ก็กลับถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล หน้าที่ของศาลจึงทำการออกหมายเรียกลูกหนี้ผ่านทางจดหมายไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ ( ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ) โดยการไปเช็คข้อมูลที่อยู่ของลูกหนี้ ที่"กองทะเบียนราษฎร์" สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิต 1. ให้ตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลว่าจะฟ้องที่ศาลไหน กำหนดวันขึ้นศาลเมื่อไร? 2. ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ทางเจ้าหนี้ยื่นฟ้องว่าเป็นมูลหนี้เท่าไหร่ เงินต้นเท่าไหร่ ยอดฟ้อง+ดอกเบี้ยรวมเป็นเงินกี่บาท? 3. ตรวจสอบดูว่าทางเจ้าหนี้ฟ้องเกินอายุความหรือไม่ นั่นคือบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับจากวันชำระครั้งสุดท้าย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 4. พิจารณาว่าจะสู้คดีหรือจะต่อรองกับเจ้าหนี้อย่างไรได้บ้าง หลังจากตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลบัตรเครดิตแล้ว เจ้าของบัตรควรต้องการเลือกวิธีแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร เช่น 1. อาจจะนำหมายศาลไปให้ทนายช่วยดูก่อนก็ได้ว่าเราจะมีข้อต่อสู้อะไรได้บ้าง ในกรณีที่ต้องการระยะเวลาในการเก็บเงิน ก็คือให้ทนายยื่นคำให้การ 2. ไปไกล่เกลี่ยในวันที่ศาลนัดเลย โดยขอผ่อนชำระ เป็นงวด และขอให้หยุดดอกเบี้ยระหว่างการชำระหนี้...
อายุความ หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลในคดีแพ่ง หากเจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หนี้นั้นจะกลายเป็น “หนี้ที่ขาดอายุความ” ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 193/9 และมาตรา 193/10 อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกฟ้องโดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความแล้วไม่ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 193/29 ดังนั้น ปัญหาเรื่อง “อายุความ” ในคดีแพ่ง แม้จะเป็น “ปัญหาข้อกฎหมาย” แต่ก็มิใช่ “ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน” หากลูกหนี้มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2562 พนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรีโจทก์ นาย ป.โจทก์ร่วม นาย ก.จำเลย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 19 วรรคสอง (ข) การโอนเงินผ่านทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีธนาคารเป็นตัวกลางในการส่งมอบเงินผ่านขั้นตอนของธนาคารที่ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วแสงโดยใช้ตัวเลขเงินในบัญชีเป็นหลักฐานยืนยันในการรับโอนเงิน ทำให้ผู้รับโอนสามารถรับเงินได้แม้อยู่ในระยะไกล ซึ่งการโอนจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อผู้รับโอนได้รับเครดิตยอดเงินทางบัญชีครบถ้วนแล้ว ป. โอนเงินให้จำเลยโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ ขณะอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และปรากฏมีเครดิตยอดเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่กรุงเทพมหานคร การป้อนคำสั่งให้โอนเงินเกิดขึ้นที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เงินอันเป็นต้นเหตุของการกระทำความผิดฐานยักยอกจึงหลุดพ้นจากความครอบครองของ ป. และเข้าไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยตั้งแต่ขณะ ป. สั่งโอนเงิน จำเลยสามารถถอนเงินจากสถานที่ใดเวลาใดนับจากที่ได้รับโอนเงินทันที ดังนั้น อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานยักยอก พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท่าม่วงจึงมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ...
แนววินิจฉัยคดีเช่าซื้อแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา ๑. โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้โดยแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ทางพิจารณาฟังได้ว่ารถที่เช่าซื้อสูญหายศาลกำหนดค่าเสียหายโดยอาศัยข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยผู้เช่าซื้อกรณีรถที่เช่าซื้อสูญหายได้ ไม่ถือว่าเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (ฎ.๑๔๕๗๘/๒๕๕๗) ๒. การกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อกรณีรถที่เช่าซื้อสูญหาย แบ่งเป็นกรณีรถสูญหายเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อและกรณีรถสูญหายไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ๒.๑ กรณีรถสูญหายเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ กำหนดค่าเสียหายโดยคิดจากราคารถที่แท้จริง หักด้วยราคารถที่ชำระไปแล้ว โดยไม่กำหนดส่วนที่เป็นเงินผลประโยชน์ให้ (มติที่ประชุมแผนกครั้งที่ ๖/๒๕๕๗) ๒.๒ กรณีรถสูญหายไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ กำหนดค่าเสียหายโดยคิดจากผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อต้องขาดหายไปจากการที่รถที่เช่าซื้อสูญหายเท่านั้น ไม่นำเงินลงทุนหรือราคารถมารวมคำนวณด้วย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ให้เช่าซื้อที่จะนำสืบค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าติดตามทวงถาม ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อนำสืบได้ ศาลก็จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้ (ฎ.๑๔๕๗๘/๒๕๕๗) ๓. ข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อโดยแบ่งความรับผิดของผู้ให้เช่าซื้อออกเป็นแต่ละกรณีไว้ต่างหากจากกัน ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔(๔) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๕ ทวิ แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒...
คำพิพากษาฎีกาที่ 1188/2561 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๘ ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ที่มีลักษณะอันลามกเกี่ยวกับโจทก์ โดยที่จำเลยเป็นผู้กำกับและดำเนินการถ่ายทำวิดีโอลงในระบบคอมพิวเตอร์เว็บไซด์เวิลด์ไวด์เว็บดอทจีเมลดอทคอม ซึ่งทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ เนื่องจากเว็บไซต์ดังกล่าว มีลักษณะเป็นสังคมออนไลน์ที่โยงกับเว็บไซด์อื่นก็ตาม แต่ตอนท้าย โจทก์บรรยายฟ้องถึงที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยและมีเพียงจำเลยที่รู้รหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ส่งไปยังบุตรสาวของโจทก์เพื่อประจานการกระทำของโจทก์ แสดงว่าการที่จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามกประชาชนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้หากไม่รู้รหัสผ่านของจำเลยเพื่อเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์นั้น ทั้งการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามกเป็นการส่งในลักษณะเฉพาะเจาะจงไปยังบุตรสาวของโจทก์ มิได้เป็นการเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๔) ได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕) จำเลยส่งข้อความถึงโจทก์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต...
คำพิพากษาฎีกาที่ 8644/2561 พฤติการณ์ที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจาก ช. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อนั้นการที่ ช. อนุญาตให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปส่ง ส. จึงเป็นการส่งมอบการครอบครองรถจักรยานยนต์ให้จำเลยชั่วคราว ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์ที่ขอยืมไป มาคืน ช. เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจำนำแก่บุคคลภายนอก จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริตขณะที่จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก การกระของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ ที่โจทก์ฎีกาว่าได้ความจาก ส. ว่า จำเลยบอกว่า หลังจากจำเลยได้รถจักรยานยนต์แล้วนำไปขายทันที การขอยืมรถจึงเป็นอุบายที่จะได้รถจักรยานยนต์ไปนั้นก็เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ถึงเจตนารมณ์ของจำเลยซึ่งไม่อาจนำมารับฟังเป็นผลร้ายว่าจำเลยมีเจตนาเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น สรุป ขอยืมรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นแล้วนำไปจำนำ มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป...
คำพิพากษาฎีกาที่ 4248/2561 ข้อเท็จจริงที่จำเลยมอบอำนาจให้ พ.ไปแจ้งความกล่าวหาโจทก์ ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามลำดับเหตุการณ์ ไม่ปรากฏว่า พ.ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดที่เป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง การที่จำเลยมอบอำนาจให้ พ.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาร่วมยักยอกทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน อีกทั้งมีรายงานการประชุมของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเจ้าของเช็คที่ถูกยักยอกและถูกทำให้เสียหายในคดีนี้เป็นพยานสนับสนุนข้อความที่ พ.แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานใด ซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงการแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายแม้ต่อมาพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ตาม การกระทำของจำเลย ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 และมาตรา 173 สรุป การแจ้งความ หมายถึง การแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เมื่อการแจ้งความร้องทุกข์ตรงกับสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ดังนั้นแม้ต่อมาพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4876/2561 จำเลยซึ่งเป็นคนรักเก่าของ ส.มาในที่เกิดเหตุเนื่องจากผู้ตายทะเลาะทำร้าย ส.และสั่งให้ ส.โทรศัพท์เรียกจำเลยมาในที่เกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุจำเลยเข้าไประงับเหตุระหว่างผู้ตายกับ ส. โดยจำเลยถามผู้ตายว่า “ทำไม ทำกับผู้หญิงอย่างนี้” เมื่อจำเลยพูดจบ ผู้ตายเป็นฝ่ายที่ชกใบหน้าจำเลย 1 ครั้ง จากนั้นทั้งสองชุลมุนชกต่อยกัน ผู้ตายเป็นฝ่ายพกอาวุธมีดมา แม้เหตุการณ์ในช่วงนี้ อาจถือได้ว่ามีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกัน แต่ปรากฏว่าต่อมาจำเลยแย่งอาวุธมีดดังกล่าวได้แล้วแทงผู้ตาย โดยเหตุการณ์ในช่วงต่อมานี้ จำเลยกับผู้ตายชุลมุนต่อสู้กันประมาณ...