อายุความในการรับช่วงสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีกำหนดกี่ปี

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 817/2561 ร. เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับโจทก์ เป็นการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมาตรา 7 บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 25 เมื่อได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย ทั้งไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิได้ตาม...

ผู้เอาประกันมีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกำหนดไปชนรถคนอื่นบ.ประกันจะปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 8789/2559 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถคันอื่นจนทำให้เกิดความเสียหายแก่รถอื่นถึง 3 คัน ย่อมเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถด้วยความเร็วสูงในขณะเมาสุรา เมื่อตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ท้ายตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ 7 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก 7.6 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่าเงื่อนไขตาม 7.6...

ถูกไฟแนนซ์ฟ้องเพราะรถสูญหาย ผู้เช่าซื้อมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบ.ประกันได้หรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2557 เหตุที่รถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้สูญหายเกิดจากการกระทำของ ส. ที่ขับรถเข้าไปจอดเพื่อเข้าห้องน้ำโดยไม่ดับเครื่องยนต์จนมีคนลักเอารถไปได้ ซึ่งไม่ว่าการกระทำของ ส.จะเป็นเพียงการประมาทเลินเล่อหรือถึงขนาดเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มิใช่การกระทำของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยโดยตรง จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง และเมื่อธนาคาร ธ. ผู้รับประโยชน์ใช้สิทธิฟ้องบังคับโจทก์กับพวกให้คืนหรือใช้ราคารถยนต์กับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไปแล้วโดยไม่ใช้สิทธิเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย อันมีผลทำให้โจทก์ยังคงเสียหายโดยไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย ดังนี้ โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้โดยตรงตามสิทธิเรียกร้องในสัญญาประกันภัย สรุป การที่ถูกไฟแนนซ์ฟ้องเพราะรถสูญหาย ผู้เช่าซื้อมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบ.ประกันได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส...

ค่าประเมินความเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาของบริษัทประกันจะเรียกคืนได้หรือไม่

0
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 878 ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2460 / 2558 ค่าประเมินความเสียหายของรถเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยซึ่งโจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยจึงไม่อาจเรียกร้องเงินดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 878 สรุป ค่าประเมินความเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาของบริษัทประกันจะเรียกคืนไม่ได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดเกินจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 4888/2558 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นผู้เอาประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกรวมถึงความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยและทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้นคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่..." มีความหมายว่าบุคคลผู้ต้องเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่ตนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบฐานละเมิด คือจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ และมาตรา 877 บัญญัติว่า...

“ค่ารักษาพยาบาล”ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 10260 / 2558 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 กำหนดให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 25 วรรคสอง และเมื่อบริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มาตรา 31 บัญญัติว่าย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากบุคคลภายนอกหรือจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย หากเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลดังกล่าว แม้มาตรา 22...

การได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนวินาศจริงถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่

0
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2559 คำเสนอข้อพิพาทฉบับที่ 3 ที่ผู้คัดค้านทั้งสองขอให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีรถยนต์โดยสารคันเดียวกัน ซึ่งผู้ร้องรับประกันภัยค้ำจุนตามกรมธรรม์เดียวกัน เกิดเหตุเฉี่ยวชนกรณีเดียวกัน ทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองได้รับบาดเจ็บอันเดียวกันกับที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอข้อพิพาทไว้ตามคำเสนอข้อพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น คำเสนอข้อพิพาทฉบับที่ 3 เฉพาะส่วนที่เรียกร้องให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง จึงซ้อนกับคำเสนอข้อพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 บริษัท บ. ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์โดยสารไว้กับผู้ร้องเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนคนแรก และบริษัท ส. เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนคนที่สอง ดังนั้น...

ขับรถยนต์ออกมาจากซอย(ทางโท)แล้วชนรถที่มาจากทางตรง(ทางเอก)จะผิดเสมอไปหรือไม่

0
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2559 ถนนที่จำเลยขับรถมาเป็นทางเดินรถทางโท มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดงและป้ายเตือนให้หยุด ติดไว้ก่อนเข้าทางร่วมทางแยก จำเลยต้องหยุดรถก่อนถึงทางร่วมทางแยก หลังเส้นให้หยุดรถและให้ผู้ขับรถในทางเอกขับผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้วจึงจะขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง ส่วนโจทก์ขับรถมาในทางเอกแม้จะมีสิทธิขับรถผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน แต่ก็ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 70 โดยต้องลดความเร็วของรถ เมื่อขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก สภาพความเสียหายของรถโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมากอันเกิดจากการชนโดยแรง และตามแผนที่แสดงสถานที่เกิดเหตุ รถยนต์โจทก์อยู่ห่างจากจุดชนประมาณ 35 เมตร แสดงว่าโจทก์ขับรถมาด้วยความเร็วและไม่ได้ชะลอความเร็วของรถ เมื่อเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดเหตุรถชนกันโจทก์จึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย สรุป ขับรถมาในทางเอกแม้จะมีสิทธิขับรถผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน แต่ก็ต้องลดความเร็วของรถ...

เครื่องยนต์ขัดข้องจำเป็นต้องจอดบนผิวถนน ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะไม่ประมาท

0
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท คำพิพากษาฎีกาที่ 8033/2555 พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 5, 56 วรรคสอง รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยขับมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุล้อรถด้านหลังสะบัดจะหลุดออกมา จึงจำเป็นต้องจอดรถบนไหล่ทาง จำเลยจอดรถชิดขอบถนนด้านซ้ายแล้ว แต่ปรากฎว่าไหล่ทางกว้างเพียง 1.50 เมตร ท้ายรถจึงยื่นล้ำเข้าไปในทางเดินรถไม่เกิน 2 ฟุต เป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยต้องจอดรถเข้าไปในทางเดินรถเช่นนั้น จำเลยได้จอดในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้ว แต่การที่จำเลยจอดรถไว้โดยที่ไม่ได้แสดงเครื่องหมายตามลักษณะที่ระบุในกฎกระทรวงฉบับที่...

ไม่ตรวจสุขภาพหรือตอบคำถาม ก่อนทำประกันได้หรือไม่

0
คำพิพากษาฎีกาที่ 774/2557 แม้โรงพยาบาลส่งสำเนาบันทึกประวัติการรักษาคนไข้ให้แก่สำนักงานของจำเลยสาขาอุบลราชธานี แต่สำนักงานของจำเลยสาขาอุบลราชธานี ไม่มีอำนาจพิจารณาบอกล้างสัญญาประกันชีวิตได้ ทั้ง ก.ผู้รับเอกกสารเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินไหมของจำเลย มิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยในการทำความเห็นเกี่ยวกับอาการป่วยของ บ.ผู้ตาย การที่ ก.ได้รับสำเนาบันทึกประวัติการรักษาของ บ.จะถือว่าจำเลยได้ทราบข้อมูลอันจะบอกล้างโมฆียกรรมแล้วหาได้ไม่ บ.รู้อยู่ว่าตนได้ร่วมเกาต์เรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนทำสัญญาประกันชีวิต แต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง บ.กับจำเลยเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยบอกล้าง สัญญาประกันชีวิตภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่จำเลยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ตามมาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง บ.กับ...