การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่

0

การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่ มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ที่ ห้ามมิให้นายจ้าง ,หัวหน้างาน , ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน ทางเพศต่อลูกจ้าง นั้น แม้จะยังมิได้ถูกเนื้อต้องตัว ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศได้ หรือแม้ตัวลูกจ้างจะยินยอม นายจ้างก็มีความผิดตามมาตรานี้ แต่การที่ลูกจ้าง ยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินที่นายจ้างสั่งจ่ายเช็คช่วยชำระหนี้ให้ โดยนายจ้างมิได้บีบบังคับ จะถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศ ตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 12939/2558 การที่โจทก์มีเพศสัมพันธ์กับจำเลย เป็นไปโดยความสมัครใจเป็นการส่วนตัวทั้งที่โจทก์มีสามีและบุตรแล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อช่วยชำระหนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการที่จำเลยใช้อำนาจบังคับบัญชา บีบบังคับโจทก์ในหน้าที่การงาน ให้ต้องจำยอมมีเพศสัมพันธ์แต่ประการใด การกระทำของจำเลย จึงหาใช่เป็นการล่วงเกินทางเพศต่อโจทก์ตามความหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 16 ไม่ สรุป การล่วงละเมิดทางเพศ ผิดกฎหมายแรงงานครับ มีปัญหาทางคดี ปรึกษาทีมทนายอธิป 0917127444

คดีอาญาจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไปหรือไม่

0

คดีอาญาจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไปหรือไม่ ป.อ.มาตรา 78 นั้นถือเป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ หาใช่บทบังคับ ที่ศาลจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 10319/2558 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจของศาลในการลงโทษให้เหมาะสม แก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบังคับที่พึงจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด เพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำยาแลนเนต (ยาฆ่าแมลง)ใส่ในผลมะละกอให้ช้างกินเพื่อให้ช้างได้รับสารพิษ ในขณะที่ช้างยังไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้เลื่อยเหล็กตัดงาของช้าง จึงเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 (1) (11) วรรคสองประกอบมาตรา 336 ทวิ และเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง โหดเหี้ยมทารุณ ไร้มนุษยธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว สรุป การที่จำเลยรับสารภาพในคดีอาญา ศาลไม่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไป เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ไม่ใช่บทบังคับของกฎหมาย มีปัญหาคดีความ ปรึกษาคดีทีมทนายอธิป 091 712 7444  

รถดับเพลิงขับชนรถขวางทางเข้าออกเพื่อไปดับเพลิงไหม้ ต้องรับผิดต่อรถที่จอดขวางทางหรือไม่

0

รถดับเพลิงขับชนรถขวางทางเข้าออกเพื่อไปดับเพลิงไหม้ ต้องรับผิดต่อรถที่จอดขวางทางหรือไม่ จอดรถขวางทางเข้าออกของสถานีรถดับเพลิง ปรากฎว่าเกิดเพลิงไหม้ สถานีดับเพลิงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบรรเทาบำบัดภัยอันเป็นสาธารณะที่เกิดขึ้น รถดับเพลิงจึงขับรถดับเพลิงดันรถที่จอดขวางให้ออกนอกเส้นทางเพื่อให้รถดับเพลิงสามารถออกไปปฏิบัติหน้าที่ได้ และรถที่จอดขวางได้รับความเสียหาย ต่อมาเจ้าของรถได้แจ้ง บ.ประกันเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้น จากนั้นบ.ประกันภัยรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องกับ ต้นสังกัดสถานีดับเพลิง เช่นนี้ ฝ่ายสถานีดับเพลิงจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ2 ว่าด้วยหนี้ ลักษณะ5 ละเมิด หมวด2 นิรโทษกรรม มาตรา 450 ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย การที่รถดับเพลิงขับดันรถที่จอดขวางทางเข้าออกเพื่อไปดับเพลิงไหม้ อันเป็นภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน จนรถที่จอดขวางเสียหาย รถดับเพลิงได้รับการนิรโทษกรรมตามข้อกฎหมาย ม.450 ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น ความเสียหายที่ถูกรถดับเพลิงชน ฝ่ายสถานีดับเพลิง ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีปัญหาคดีความ ปรึกษาทนายอธิป 091 712 7444

โอนเงินผิดบัญชีแล้วโดนอายัดตามคำพิพากษาจะถอนเงินนั้นคืนได้หรือไม่

0

ความซวย....มาเยือน โอนเงินเข้าบัญชีที่มีชื่อของตัวแทนเพื่อให้ไปซื้อสินค้า ต่อมาปรากฏว่าตัวแทนตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จากนั้นเจ้าหนี้ของตัวแทนได้อายัดบัญชีเงินฝาก กรณีเช่นนี้ตัวการจะถอนเงินในบัญชีของจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ท. ในนามของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากเงินต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ตามมาตรา 672 ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ท. ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินฝากที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และ 672 แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว สรุป ถอนเงินคืนไม่ได้เพราะไม่ใช่เจ้าของบัญชีธนาคารดังกล่าว มีปัญหาคดีความ ติดต่อทนายอธิป 091 712 7444

เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง จะฟ้องร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ได้หรือไม่

0

เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง จะฟ้องร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ได้หรือไม่ ในกรณีที่เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง ถือเป็นกรณีที่ เจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจนำสัญญากู้ดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ได้ มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13707/2558 โจทก์บังคับให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท ทั้งที่ความจริงกู้ยืมเงินกันเพียง 10,000 บาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจแสวงหาผลประโยชน์จากสัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยไม่สุจริต ปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ข้อสังเกต คดีนี้ เดิมจำเลย กู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ได้ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท เมื่อจำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อ โจทก์ก็บังคับขู่เข็ญจำเลย ว่าจะนำตำรวจมาจับกุม เนื่องจาก ตัวจำเลย ได้รับเงินกู้จากโจทก์ไปเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทแล้ว ด้วยความกลัวจำเลยจึงลงลายมือชื่อไว้ ภายหลังโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุจำนวนเงินกู้ 100,000 บาทมาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลย  จำเลยจึงให้การต่อสู้คดีตามเหตุผลที่กล่าวมา ศาลฎีกาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์โดยนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 มาวินิจฉัย ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต มีปัญหาทางคดี ติดต่อทนายอธิป 091 712 7444  

การฉ้อฉลประกันภัย มิติใหม่ของกฎหมายประกันภัยไทย ตอนที่ 1

0

การฉ้อฉลประกันภัย ตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (IAIS Insurance Core Principles) ICP 21: การต่อต้านการฉ้อฉลในการประกันภัย (Countering Fraud in Insurance) หน่วยงานที่กำกับดูแลกำหนดให้บริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยต้องดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อยับยั้ง ป้องกัน ตรวจสอบ รายงานและแก้ไขการฉ้อฉลในการประกันภัย เป็นที่มาของการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.ประกัรวินาศภัยและประกันชีวิตของไทย ให้มีบทกฎหมายว่าด้วย การฉ้อฉลประกันภัย ในกฎหมายแม่บทด้านประกันภัยทั้งสองฉบับ มาดูแนวทางกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ดังนี้ครับ เดิมกฎหมายเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความได้ แก้ไขใหม่เพิ่มเติมกฎหมายด้านประกันภัยให้มี ความผิดฐานฉ้อโกงประกันภัย(Insurance Fraud) โดยตรง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต มีบุคคลแอบอ้างตัวเป็นคนกลางประกันภัยหลอกลวงประชาชนว่า จะทำประกันภัยให้แต่ไม่ดำเนินการดังกล่าว ปัญหาในการดำเนินการที่ผ่านมา ภาครัฐไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยผู้ที่ถูกหลอกลวงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยรับเบี้ยจากผู้เอาประกันภัยแล้วแต่ไม่นำส่งแก่บริษัทประกันภัย ปัญหาการดำเนินการที่ผ่านมา มีเพียงกระบวนการในการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยเท่านั้น การฉ้อฉลประกันภัย ร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามฐานความผิด ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้มีการทำประกันภัย วางหลักไว้ว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นทำ/รักษาสถานะสัญญาประกันภัย แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญา/รักษาสถานะเกิดขึ้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำลายเอกสารสิทธิ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ/ถ้าแสดงข้อความอันเป็นเท็จ/ปกปิดข้อความจริงต่อประชาชน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานเรียกร้องสินไหมทดแทนเป็นเท็จ วางหลักไว้ว่า ผู้ใดเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์โดยทุจริต แสดงเอกสารเป็นเท็จในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน...

เบี้ยวค่านายหน้า ผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่?

0

คำถาม นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เจ้าของที่ดินเสร็จเรียบร้อย มีสิทธิได้ค่านายหน้า แต่เจ้าของที่ดินไม่ให้ จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ? คำตอบ มีแนวคำพิพากษาฎีกา ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จัดการขายที่ดินให้จำเลยที่๑ โจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยที่๑ โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10  แต่จำเลยที่๑ และจำเลยที่๒ ร่วมกันทุจริตแจ้งความเท็จและปกปิดความจริงต่อโจทก์  โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ.และก.ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์ไป ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ แต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดฐานฉ้อโกง   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2557 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 3 แปลง ทำสัญญานายหน้ากับโจทก์กับพวกเพื่อให้โจทก์กับพวกทำหน้าที่ชี้ช่องติดต่อหาผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์กับพวกติดต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะซื้อที่ดิน แต่ยังไม่มีการนัดจดทะเบียนโอน จำเลยทั้งสองร่วมกัน ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 3 แปลง และจำเลยที่ 2 ให้บริษัท จ. ซึ่งมี ธ. เป็นตัวแทนเป็นผู้ซื้อที่ดิน โจทก์กับพวกมีสิทธิได้รับค่านายหน้าตามสัญญาเป็นเงิน 5,560,000บาท แต่จ่ายค่านายหน้าให้โจทก์เพียง 250,000 บาท ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้เงินไปจากโจทก์ ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยที่...

เมื่อรถประกันเกิดอุบัติเหตุ บ.ประกันภัย จะรับผิดชอบค่ายกลากให้หรือไม่?

0

เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนไม่ได้ บ.ประกันภัย จะรับผิดชอบค่ายกลากให้หรือไม่? ในสัญญาประกันภัย หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ3 และหมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ ข้อ 3 มีความคุ้มครองเรื่องการดูแลขนย้าย ดังนี้คือ เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายซึ่งมีการคุ้มครองตามกรมธรรม์นี้ บริษัทจะจ่ายค่าดูแลรักษารถยนต์ และค่าขนย้ายรถยนต์ทั้งหมดนับแต่วันเกิดเหตุ จนกว่าการซ่อมแซม หรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะเสร็จสิ้นตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อมแซม นอกจากกรมธรรม์ประกันภัยนี้จะชดใช้ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัยแล้ว บ.ประกันภัย ยังมีหน้าที่ชดใช้ค่าดูแลรักษาและค่าขนย้ายรถยนต์ตามที่จ่ายไปจริง ในระหว่างซ่อมแซมหรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนยังไม่แล้วเสร็จ แต่ค่าดูแลรักษาและค่าขนย้ายจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง เช่น รถยนต์เกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ พนักงานสอบสวนทำการลากรถยนต์ไปที่สถานีตำรวจ และเมื่อใช้เป็นหลักฐานทางคดีแล้วเสร็จ จึงได้ลากรถไปที่อู่เพื่อทำการซ่อมแซม ค่าลากรถยนต์ทั้งสองช่วงนี้ บ.ประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบ ของค่าซ่อม แต่ในบางกรณี แม้ค่าลากและค่าดูแลรักษารถยนต์จะเกินร้อยละยี่สิบ ของค่าซ่อม บ.ประกันภัย ก็ไม่พ้นความรับผิด เช่น บ.ประกันภัย ลากรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถ แต่คุมราคาค่าซ่อมต่ำกว่าความเป็นจริง อู่จึงไม่สามารถซ่อมได้ จำเป็นต้องลากไปอู้อื่นอีก ค่ายกลากส่วนนี้ บ.ประกันภัย ก็ยังไม่พ้นความรับผิด แม้ว่ารวมกับครั้งแรกแล้วจะเกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อมก็ตาม แต่หากค่าลากรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากความประสงค์ของผู้เอาประกันภัยเอง บ.ประกันภัย ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะเกิดจากผู้เอาประกันภัย มีความประสงค์ย้ายอู่เอง ทั้งนี้ ค่าดูแลขนย้ายนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่ บ.ประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น...

นำรถยนต์ไปแข่งแรลลี่ แล้วเกิดเหตุ บ.ประกันรับผิดชอบหรือไม่

0

นำรถยนต์ไปแข่งแรลลี่ แล้วเกิดเหตุ บ.ประกันรับผิดชอบหรือไม่ ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกข้อ 7.3 และหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 8.3 เป็นข้อยกเว้นการใช้รถ คือ ไม่คุ้มครองการใช้รถในการแข่งขันความเร็ว (แข่งกันสองคันขึ้นไปพร้อมๆกัน) ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงภัยสูงขึ้น มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากให้ความคุ้มครองจะไม่เป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยรายอื่น เมื่อเกิดเหตุเพราะการแข่งขันความเร็ว บ.ประกันจะไม่คุ้มครอง เคลมไม่ได้ แต่กรณีการแข่งขันแรลลี่ ที่มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันความเร็ว (แรลลี่ ปล่อยให้ขับไปทีละคัน ผ่านด่านต่างๆ) ไม่อยู่ภายใต้ข้อยกเว้นดังกล่าว ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในขณะแข่งขันแรลลี่ เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก และตัวรถยนต์คันทำประกันเสียหาย ความเสียหายดังกล่าว จึงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ คือเคลมได้ครับ สรุป นำรถไปแข่งแรลลี่ แล้วเกิดอุบัติเหตุ บ.ประกันภัย ต้องรับผิดชอบ เคลมได้ครับ มีปัญหาคดีความ ติดต่อทนายอธิป 091 712 7444

ใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่

0

ใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ โดยปกติทั่วไป ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองความเสียหายในทุกกรณี แต่มีข้อยกเว้นเรื่องการใช้รถผิดกฎหมายที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครอง  คือ ในสัญญาประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 8.2 และหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 7.2 มีใจความสำคัญดังนี้ คือ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง การใช้รถยนต์ไปในทางผิดกฎหมาย เช่น ใช้รถยนต์ไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือ ขนยาเสพติด เป็นต้น ข้อยกเว้นดังกล่าว มีเจตนาจะยกเว้นการใช้รถยนต์เพื่อประโยชน์ในการกระทำผิดกฎหมายโดยตรงเท่านั้น เช่น ใช้รถไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด แต่มิได้หมายความรวมถึงการทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การฝ่าฝืนสัญญาณไฟ หรือสัญญาณจราจร การบรรทุกน้ำหนักเกิน เป็นต้น กรณีอย่างไรที่จะถือว่าเป็นการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป เช่น การขับรถบรรทุกคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง จะถือว่าเป็นการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ กล่าวคือ หากเป็นการบรรทุกคนต่างด้าวเพื่อหลบหนีเข้าเมืองโดยตรง จึงถือว่าเป็นการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย พอเกิดเหตุในขณะขนคนต่างด้าวนั้น  บ.ประกันภัยจะไม่คุ้มครอง กล่าวง่ายๆคือเคลมไม่ได้ แต่หากเป็นกรณีที่คนต่างด้าวนั้น หลบหนีเข้ามาอาศัย ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว แม้คนเหล่านั้นจะโดยสารรถยนต์ไปด้วยกันเพื่อไปทำงาน หรือทำธุระอื่นใด ต้องถือว่าเป็นการใช้รถเพื่อบรรทุกคนโดยสาร อันถือได้ว่า เป็นการใช้ประโยชน์จากการใช้รถตามปกติทั่วไป มิใช่ใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย เมื่อรถบนต์เกิดอุบัติเหตุกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง บ.ประกันภัย ก็ต้องคุ้มครองจ่ายค่าเสียหาย...