ยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณะมีผลตั้งแต่เมื่อใด

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2538 การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย สรุป   ไม่ต้องจดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์ตามกฏหมายนับตั้งแต่อุทิศให้ ติดต่อ 083-0917553 ทนายปรัชญ์ชัย ทับชุม

ทางตาบอด จะออกได้ยังไง?

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550 เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้   ผู้เขียนบทความ สัญชนัท  วงศ์สกุลสุขดี โทร 091-0098682  

คดีชนแล้วหนี

0

คดี ชนแล้วหนี. 1.เมาแล้วขับเจอโทษหนัก อัตราบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต  และหากเมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส จะมีโทษเพิ่มขึ้นเป็น จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอน แต่หากผู้นั้นถึงแก่ความตาย โทษจะเปลี่ยนเป็น จำคุก 3-10 ปี ปรับ 60,000-200,000 บาท รวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ 2.และ(ชนแล้วหนี)ข้อหาหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควรทันที หมดอายุความ 5 ปี ส่วนใหญ่ศาลจะมีคำสั่งจำคุกทันทีไม่รอลงอาญา มาตรา 160 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน 3.ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขณะนี้เหลืออายุความ 10 ปี  ทนาย.รุ่งนิรันทร์ มีสุขดี 081-617-6390

ความแตกต่างระหว่างดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท

0

ความแตกต่างระหว่างดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 บัญญัติว่า "ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา 326 บัญญัติว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ข้อแตกต่างที่สำคัญของดูหมิ่นซึ่งหน้า (มาตรา 393) กับหมิ่นประมาท (มาตรา 326) มีดังนี้ ข้อแตกต่างที่ 1 ดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นการดูหมิ่น ผู้ที่ถูกดูหมิ่น ซึ่งเป็นการกระทำต่อหน้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบุคคลที่ 3 อยู่ด้วยหรือไม่ หากซึ่งหน้าแล้ว เป็นความผิดสำเร็จ แต่หมิ่นประมาทนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่น ต่อบุคคลที่สาม ดังนั้น บุคคลที่สาม ถือเป็นองค์ประกอบของความผิด ถ้าไม่มีบุคคลที่สาม มารับรู้การกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทนั้นก็ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้กระทำจะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตัวอย่างที่ 1. ก. ด่า ข. โดยที่ไม่มีบุคคลอื่นอยู่ด้วย อย่างนี้ เป็นความผิดซึ่งหน้า ไม่ผิดหมิ่นประมาท เพราะไม่มีบุคคลที่ 3 ไม่ครบองค์ประกอบความผิด ตัวอย่างที่ 2. ก. ด่า ข. โดยมีคนอื่นอยู่ด้วย (บุคคลที่ 3)...