ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แล้วขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ บ.ประกันต้องรับผิดหรือไม่

0

คำถาม ถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน ขับรถมาเกิดเหตุเป็นฝ่ายผิด บ.ประกันรับผิดชอบได้ไหมครับ ตอบคำถาม ใบขับขี่ถูกศาลสั่งพักใช้ 6 เดือนการถูกตัดสิทธิการใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ ต้องดูว่าหลังจากหมดระยะเวลาตัดสินนั้นแล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ต้องไปดำเนินการ #อบรมหรือสอบใบอนุญาตใหม่หรือไม่ ถ้าคำตอบคือต้องอบรมหรือสอบใหม่ (คำสั่งศาลจะสั่งเพิกถอน ) ถือว่าในขณะขับรถไปเกิดเหตุคนขับไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์เพราะถูกตัดสิทธิโดยการเพิกถอน แต่การที่ศาลมีคำสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือนนั้น เมื่อครบ 6 เดือนแล้ว #ไม่มีการอบรมหรือสอบใหม่ก็ใช้ใบอนุญาตขับขี่ต่อไป สรุป ตามข้อเท็จจริงในคำถามเมื่อการขับรถในขณะถูกพักใบอนุญาตขับรถ 6 เดือน คนขับยังมีใบอนุญาตขับรถอยู่เพียงแต่ถูกพักไว้ เมื่อขับรถไปชนแล้วเป็นฝ่ายผิด บ.ประกันภัยก็ต้องรับผิดชอบตาม สัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย เพิ่มเติม จากคำถามการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน ยังถือว่าผู้ขับขี่ยังมีใบอนุญาตให้ขับขี่อยู่ แต่ถ้าเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า ถ้าช่วงนั้นถูกตำรวจยึดใบอนุญาตไป อาจจะเป็นเพราะยังไม่ยอมไปเสียค่าปรับ หรืออื่นๆ แล้วขับรถยนต์ไปเกิดอุบัติเหตุ กรณีเช่นนี้บริษัทประกันยังคงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกัน (การตัดสิทธิ์ต้องเกิดจากการตัดสินโดยศาล) #ประกันภัยเรื่องง่ายๆใกล้คุณ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายไผ่ 095-781-9477 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

“ข้าวนอกนา บุตรนอกกฎหมาย”

0

“ข้าวนอกนา บุตรนอกกฎหมาย” ๑.บุตรที่เกิดระหว่างบิดามารดาอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั้งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต้องถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘๐/๒๔๙๔ ๒. ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำส่างศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตาม ปวพ มาตรา ๑๖๑กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็ไมได้แก้ไข เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาแก้ไขได้ คำพิพากษาฏีกา ๖๗๗/๒๕๓๗ ๓.ชายอยู่กินกับหญิง แสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในที่ต่างๆอย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภรรยา มีการจัดงานเลี้ยงฉลองการตั้งครรถ์ เป็นการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรถ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) คำพิพากษาฏีกา ๑๔๖๙/๒๕๒๖ ๔. ผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ ๒ ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาก่อนมีการบังคับให้ใช้ ปพพ บรรพ...

แชทยืมเงิน ใช้ฟ้องศาลได้ หรือไม่

0

ข้อความในการแชทยืมเงินกัน สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องศาลได้ โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการยืมเงินกันเกิน 2,000 บาท ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานและลงลายมือชื่อ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กล่าวถึง "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น" แชทที่สามารถใช้เป็นหลักฐานแทนหนังสือ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1. ข้อความแชท (Chat) ที่ระบุข้อความขอยืมเงิน จำนวนเงิน และเห็นบัญชีผู้ใช้ว่าเป็นใครมาขอยืมเงิน 2. บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน (Account) ในแชทจะต้องสามารถระบุชื่อบัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน และเป็นข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้ที่มีระบบปลอดภัยและเชื่อถือได้ ...

ทำไมถึงต้องมีผู้จัดการมรดก

0

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินที่มีผู้อื่นยืมไป หนี้ ภาระติดพันต่างๆ ทั้งการจำนองหรือค้ำประกัน เป็นต้น ดังนั้น หลังจากที่ผู้ตาย หรือที่กฎหมายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ได้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ถึงแม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม แต่ก็อาจมีปัญหาในการแบ่งมรดก ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก” และถึงแม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก มี 6 ลำดับ ดังนี้ ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา นอกจากทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับดังกล่าวแล้ว คู่สมรสซึ่งจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน โดยกรณีคู่สมรส จะมีการแบ่งที่แตกต่างกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติเพราะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ส่วนคือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส และสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย...

หลักการนับอายุความการลงโทษในคดีอาญา

0

หลักกฎหมายเกี่ยวกับอายุความการลงโทษในคดีอาญา จะมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๘ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้ (๑) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี (๒) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี (๓) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (๔) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น จากบทบัญญัติของมาตรา ๙๘ ดังกล่าว เป็นบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องระยะเวลาที่จะต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามคำพิพากษา หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้วและยังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลได้ ก็จะไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นได้อีก ซึ่งผู้กระทำความผิดก็จะใช้วิธีการหลบหนีคดีให้หมดอายุความ ตามมาตรา ๙๘ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ดังนั้น ถ้าใครคิดจะหลบหนีก็ควรพิจารณาถึงระยะเวลาที่จะต้องหลบหนีกันให้ดี ถ้าตัดสินใจที่จะหนีคดีไปอีก ๑๐ ปีหรือ ๒๐ ปี ซึ่งหากนับรวมกับอายุตัวเองขณะที่หลบหนีแล้วบางคนเท่ากับต้องหนีไปตลอดชีวิตเลย...

รอการลงโทษ รอการกำหนดโทษ คืออะไร

0

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา...

โพสต์รูปเหล้า-เบียร์ ลงโซเชียล มีความผิดหรือไม่

0

มาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่ม โดยตรงหรือโดยอ้อม โพสต์อย่างไรถึงจะผิด -ห้ามโพสต์เห็นยี่ห้อ -ห้ามโพสต์ขวดที่ทำให้รู้ว่ายี่ห้อไหน -ห้ามโพสต์ชวนให้ดื่ม -ห้ามโพสต์สรรพคุณ -ห้ามโพสต์ชมหรือเชิญชวนให้ลอง -ห้ามโพสต์แก้วเบียร์ที่มียี่ห้อ -ห้ามแปลข่าว เขียนเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีขายในบ้านเราแต่ก็เป็นเหตุแรงจูงใจในการบินไปหาซื้อบริโภคได้ -ห้ามถ่ายภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่มีขายในไทยมาลง เพราะอาจจะทำให้เกิดความอยากกินและบินไปซื้อได้ -ห้ามถ่ายของแถมที่มีโลโก้แอลกอฮอล์ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นแอลกอฮอล์ก็ตาม เพราะถือว่าถ้าจะซื้อของแถมก็ต้องซื้อสุราหรือเบียร์อยู่ดี -รูปเก่าไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิถูกฟ้องร้องได้ -รูปเหล้า-เบียร์เก่าที่เคยโพสต์ในอดีต หากเด้งขึ้นมาในเฟซบุ๊ก ผู้พบเห็นสามารถฟ้องร้องเอาความผิดได้ -โทษปรับ 50,000 - 500,000 บาท ปรับเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้โพสน์เป็นหลัก หากไม่เจตนาปรับ 50,000 บาท เพิ่มเติม ส่วนภาพเก่าที่เคยโพสต์ลงในโซเชียล เพราะกฎหมายนี้มีอายุความ 5 ปี ตั้งแต่กระทำความผิด หากมีผู้พบเห็นและส่งข้อมูลไปร้องเรียน ผู้โพสต์อาจมีความผิดตามกฎหมาย และต้องไปให้ปากคำต่อคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสอบถามข้อมูล และเจตนาในการโพสต์ภาพ ถ้าไม่มีเจตนาในการชักจูงใจให้ผู้อื่นก็ไม่มีความผิด แต่ถ้าสอบสวนแล้วพบว่ามีเจตนาจะถูกเปรียบเทียบปรับทันที ข้อสังเกต คือ ประชาชนทั่วไปลงรูปแก้วพร้อมคำบรรยายภาพ แม้ไม่มีโลโก้หรือสัญลักษณ์ ก็ผิดกฎหมายเช่นกัน โดยอ้างว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม แม้ผู้บริโภคจะซื้อมาดื่มเอง โพสต์ภาพเอง ก็ผิดกฎหมาย ค่าปรับเริ่มต้นที่ 50,000 บาท นอกจากนี้ การโพสต์แม้แต่คำว่า “เบียร์” และใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งจากฉลากเบียร์ทำให้สามารถโยงไปถึงสินค้าได้ เท่ากับผิดกฎหมาย ค่าปรับเริ่มต้นที่...

พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คืออะไร มีข้อห้ามอะไรบ้าง

0

พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หรือ รัฐกำหนด (Emergency Decree)​ หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้อง ได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คืออะไร มีข้อห้ามอะไรบ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ ข้อห้าม ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.9) -ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด -ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน -ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีตนบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร -ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ -ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ -ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย อำนาจเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.11) -มีอำนาจจับกุม ควบคุมบุคคลต้องสงสัย -มีอำนาจออกคำสั่งให้เรียกบุคคลต้องสงสัยมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ -มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ -มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลาย -มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบสิ่งพิมพ์ การสื่อสารด้วยวิธีต่างๆ -ห้ามมิให้กระทำ หรือให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและประชาชน -มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร -มีอำนาจสั่งการ ให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีเป็นผู้ต้องสงสัย -การซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ใดๆ ซึ่งอาจใช้ในการก่อการร้าย ต้องได้รับอนุญาตเจ้าหน้าที่ -ออกคำสั่งให้ทหารช่วยเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุร้ายแรง ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000...

การกระทำอนาจารมีโทษเทียบเท่ากับการข่มขืนหรือไม่

0

"จำเลยใช้มือสอดเข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายอายุ 6 ปีเศษ เพื่อสนองความใคร่ของจำเลย" ขณะกระทำความผิดการกระทำเป็น "การกระทำชำเรา" แต่ในขณะที่ศาลพิพากษาการกระทำเป็น "ความผิดฐานอนาจารโดยการล่วงล้ำ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2562 ผู้เสียหายที่ 2 วิ่งไปหาจำเลย จำเลยกอดผู้เสียหายที่ 2 แล้วจูบหน้าผาก จากนั้นถอดกางเกงผู้เสียหายที่ 2 ออกแล้วอุ้มผู้เสียหายที่ 2 ใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยอุ้มพาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่อื่น จำเลยล่วงเกินทางเพศผู้เสียหายที่ 2 ตรงบริเวณที่พบผู้เสียหายที่ 2 นั้นเอง เท่ากับว่าผู้เสียหายที่ 2 มาหาจำเลยเองด้วยความเต็มใจ จำเลยมิได้พาผู้เสียหายที่ 2 มา อีกทั้งมิได้เหนี่ยวรั้งผู้เสียหายที่ 2 ไว้ เช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีการกระทำประการใดอันเข้าลักษณะเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม และย่อมไม่มีความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 2 เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารด้วย ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี...

การฟ้องถอนคืนการให้โดยเสน่หามีหลักเกณฑ์อย่างไร

0

การฟ้องถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 513 ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้ใน 3 กรณีต่อไปนี้คือ 1.ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น การที่มารดาให้ที่ดินบุตร ต่อมาบุตรทำร้ายร่างกายมารดาตนเองได้รับอันตรายแก่กายมารดาย่อมฟ้องถอนคืนการให้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกา 412 / 2528 การที่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กายย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยขาดความกตัญญูอยู่แม้โจทก์จะได้รับบาดเจ็บไม่สาหัสก็ถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 (1) แล้วโจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ 2.ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง คำพิพากษาฎีกาที่ 1078 / 2553 ถ้อยคำที่จำเลยดาว่าโจทก์ว่า อีแก่ไม่ยุติธรรมมึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยกกูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทย์ว่าอีแก่ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 4037 / 2546 ด่าโจทก์ว่าข้าวปลาอาหารที่เหลือเทให้หมากินดีกว่าจากไปให้อีแก่กิน ข้อสังเกต เหตุถอนคืนการให้ตามอนุมาตรานี้ไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็นการหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาแต่เพียงแค่คำ ด่าทอในลักษณะดูหมิ่นใช้คำหยาบคายเหยียดหยามหรือคำไม่สุภาพเท่านั้นก็ถือเป็นเหตุประพฤติเนรคุณตามอนุมาตรานี้แล้ว แต่หากเป็นการโต้ตอบทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกันต่างคนต่างด่ากันเพราะผู้ให้เป็นฝ่ายก่อเหตุจะถือเป็นเหตุประพฤติเนรคุณไม่ได้ คำพิพากษาฎีกา 1953 / 2537 โจทก์มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้นการที่โจทก์และจำเลยทะเลาะกันและต่างคนต่างด่ากันเป็นเพราะโจทก์เป็นฝ่ายกอและจำเลยด่าโต้ตอบเพราะถูกจอดคมเฮงน้ำใจ อย่างรุนแรงเช่น นี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่ แต่หากเป็นเพียงคำพูดจากระทบกระเทียบที่จำเลยไม่สมควรใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีเท่านั้นโดยกล่าวกับโจทย์ว่าหัวหงอกหัวขาวตายนานนั้น ถ้อยคำไม่ใช่คำด่าไม่เป็นเหตุประพฤติเนรคุณฎีกาที่ 1527 / 2534 3.ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ข้อแนะนำเพิ่มเติม 1.หากผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้บุคคลอื่นโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน และมิใช่โดยเสน่หา ก่อนที่จะมีเหตุให้ผู้ให้ถอนคืนการให้ การคืนที่ดินย่อมตกเป็นพ้นพิสัย ผูัรับต้องรับผิดชอบคืนดอกผลของที่ดินและต้องใช้ราคาที่ดินเต็มราคาแก่ผู้ให้ 2.การถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ ได้เฉพาะผู้ให้เท่านั้น...