ของกลางที่ตำรวจยึดไว้สูญหาย ตำรวจต้องรับผิดหรือไม่

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์มาเก็บรักษาไว้เป็นของกลาง ย่อมมีหน้าที่เก็บรักษารถยนต์ดังกล่าวพร้อมอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัย ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้รถยนต์ดังกล่าวและอุปกรณ์ต้องสูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ดังกล่าวไปจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา แม้จะมีระเบียบกรมตำรวจระบุให้ผู้บังคับกองหรือหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นผู้เก็บรักษาของกลาง ก็เป็นระเบียบภายในกรมตำรวจทั้งไม่มีข้อความระบุให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียวดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รถยนต์ดังกล่าวหายไปจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ คำพิพากษาฎีกาที่ 21/2540 จำเลยที่ 2 กับที่ 3 ต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 ได้ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 มิให้เกิดความเสียหายส่วนจำเลยที่ 2 กับที่ 3 มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเมื่อประมาทเลินเล่อไม่ได้ดูแลรักษาตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 กับที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดชอบของตนไม่ได้ สรุป ตำรวจต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดที่ทรัพย์สินของกลางสูญหาย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป...

สมัครใจเข้าวิวาทจะอ้างป้องกันหรือบันดาลโทสะได้หรือไม่

0

มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควร แก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้น ไม่มีความผิด มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 8347/2554 ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีเรื่องทะเลาะโต้เถียงกับจำเลยซึ่งนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านใกล้ที่เกิดเหตุ จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก ในวันเกิดเหตุเมื่อผู้เสียหายออกจากร้านไปแล้ว ผู้เสียหายร้องตะโกนท้าทายจำเลยให้ออกไป จะฟังให้คอขาด จำเลยจึงรีบวิ่งไปหาผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหาย และเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าสู้ภัยทั้งที่ยังไม่มีภยันตรายมาถึงตน จึงเป็นการกระทำโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยก่อน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้เสียหายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และแม้จำเลยมีความไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้เสียหายเองก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายมาตรา 68 และไม่เป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะมาตรา 72 สรุป จำเลยไม่อาจอ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อยกเว้นความผิด หรืออ้างเหตุบันดาลโทสะเพื่อให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

แอบบันทึกเสียงขณะมีการสนทนาศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

0

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1 บัญญัติว่า “ในกรณีความปรากฏแก่ศาลว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน…..” คำพิพากษาฎีกาที่ 2281/2555 เทปบันทึกเสียงที่แอบบันทึกขณะมีการสนทนาระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อนเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 28)ฯ บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 226/1 ใน ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในการรับพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าวแม้จะได้มาโดยมิชอบ แต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าวได้ความว่าโจทก์ร่วมไม่สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวจำเลยที่ 2 จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ร่วมและ ก. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมได้ชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 ผิดตัวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง สรุป ดังนั้น...

ข้อความที่ว่า “จะเคลียร์กับประกันเอง” เป็นการสละสิทธิเรียกร้องทำให้ประกันภัยมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยได้หรือไม่

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2558 ข้อตกลงที่ระบุไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความสรุปว่า ความเสียหายของรถยนต์พิพาทนั้น พ. ผู้ครอบครองรถยนต์จะใช้สิทธิการซ่อมตามประกันภัยของตน ส่วนความเสียหายจากเหตุประมาทได้เรียกร้องจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 15,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ พ. แล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีกับฝ่ายจำเลยที่ 1 แสดงว่า พ. ผู้ครอบครองรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ประสงค์ที่จะให้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบค่าซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีดังเดิมตามสัญญาประกันภัย ส่วนความเสียหายจากเหตุประมาทที่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 15,000 บาทนั้น เป็นกรณีที่ พ. เรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ นอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทนในการซ่อมรถยนต์ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิในการเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลงอันเป็นการระงับข้อพิพาทตามลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์พิพาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หมายเหตุ 1.คดีนี้ จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 2 เฉี่ยวชนรถยนต์ของ พ.ซึ่งมีโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยไว้ ในการเจรจาค่าเสียหายกันที่สถานีตำรวจ พ.แจ้งว่าจะให้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมแซม และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 15,000 บาท แล้วจะไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1...

บัตรเครดิตถูกขโมยไปใช้ผู้ถือบัตรต้องรับผิดหรือไม่

0

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2550 ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตร ระบุว่า บัตรเครดิตนี้ธนาคารได้ออกให้และสงวนไว้เฉพาะผู้ถือบัตรเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ถือบัตรยินยอมอนุญาต หรือนำบัตรเครดิตไปให้บุคคลอื่นใช้ ดังนั้นกรณีที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ที่ออกให้แก่จำเลยไปใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการแก่สถานประกอบกิจการและร้านค้าเป็นการใช้บัตรเครดิตซึ่งมิได้เป็นไปโดยถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติและ/หรือเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชำระหนี้อันเกิดจากการที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกคนร้ายลักไปย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ที่บุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ ***ต่อมาทางสถาบันการเงินต่างๆ จึงเพิ่มข้อสัญญาในการเปิดใช้บัตรเครดิต ว่าเจ้าของบัตรจะต้องรับผิดชดใช้แม้ว่าบัตรนั้นจะสูญหายหรือถูกลักไปใช้ก็ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552 ข้อสัญญานั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เจ้าของบัตรไม่ต้องรับผิดอยู่ดี โดยเหตุผลว่า...เป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควร และเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม สรุปก็คือกรณีที่บัตรถูกลักไปใช้ เจ้าของบัตรไม่ต้องรับผิดชอบชำระเงินให้แก่ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต ศาลฎีกาได้พิจารณาเงื่อนไขและข้อกำหนดการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ว่าเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมหรือไม่ โดยศาลฎีกาได้พิจารณาเห็นว่าข้อกำหนดข้อ 8 ที่ให้จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีบัตรสูญหายหรือถูกโจรกรรมก่อนที่จะแจ้งอายัดบัตรกับธนาคารนั้น ขัดแย้งกันเองกับข้อกำหนดในข้อ 6 ที่บอกไว้ว่า ธนาคารจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้ถือบัตร หากผู้ถือบัตรปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้รับบริการ อีกทั้งโจทก์ยังมีช่องทางอื่นในการแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้ เนื่องจากหากโจทก์ทำการตรวจสอบว่าลายมือชื่อของผู้ใช้บัตรในเซลล์สลิปไม่ตรงกับลายมือที่แท้จริงของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตร โจทก์ก็สามารถไปไล่เบี้ยเอากับร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บหนี้จากจำเลยได้ ร้านเจมาร์ทเองก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อในเซลล์สลิปก่อน ซึ่งหากลายมือชื่อไม่ตรงก็มีสิทธิปฏิเสธไม่รับบัตรเครดิตได้อยู่แล้ว ศาลฎีกาจึงตัดสินให้จำเลยไม่มีความผิดไม่ต้องชำระหนี้ให้กับโจทก์ เนื่องจากข้อตกลงเงื่อนไขการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 นั้นไม่เป็นธรรม แนะนำ ทันทีที่ทราบว่าบัตรเครดิตหายหรือถูกขโมยไป ให้โทรแจ้งอายัดบัตรเครดิตกับธนาคารผู้ออกบัตรทันทีเพื่อให้ธนาคารระงับการใช้บัตรเครดิตก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น และเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดเพื่อเป็นหลักฐานไว้ด้วย สรุป บัตรเครดิตสูญหายผู้ถือบัตรไม่ต้องรับผิดชอบในจำนวนหนี้ที่เราไม่ได้ก่อขึ้น ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

อัพภาพโซเชียลกับเด็กนั่งดริ้งอวดเพื่อนเมียฟ้องหย่าได้หรือไม่

0

การหย่าร้าง คือ การหย่าเป็นการกระทำเพื่อสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางการสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีการแจ้งการสมรสเป็นหลักฐาน ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการตกลงกันหรือโดยการตัดสินของศาล ดังนั้นการหย่ามีอยู่ 2 กรณีคือ 1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย 2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่า (ตามมาตรา 1516) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป คำพิพากษาฎีกาที่ 5989/2538 จำเลยเป็นข้าราชการระดับ ๓ มีโจทก์เป็นภริยาอยู่แล้ว การเที่ยวเตร่กับหญิงบริการทั่วไปจึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวังในลักษณะที่เหมาะสมมิดชิด ฉะนั้นการที่จำเลยเที่ยวเตร่ในลักษณะลวนลามก่อลามกอนาจารที่จำเลยกับหญิงบริการไว้จำเลยย่อมเล็งเห็นว่าเมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไปนอกจจากจะทำให้คนเห็นภาพนี้แล้วดูถูกเหยียดหยามตัวจำเลยเองแล้ว ยังทำให้คนที่เห็นภาพนี้นึกถึงโจทก์ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่น่าอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงและถูกดูถูกเกลียดชังด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ (๒) (ก)และ(ข) สรุป การอัพโซเชียลรูปนัวเนียกับเด็กนั่งดริ้งนั้นเป็นเหตุให้เมียฟ้องหย่าได้ ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

สามีถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว

0

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส การที่สามีใช้เงินซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อนสมรสกับภรรยา และสลากกินแบ่งฯ ได้ออกรางวัลหลังจากที่สามีและภรรยาสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่สามีได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรส จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1474(1) คำพิพากษาศาลฎีกา 1053/2537 จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์ สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1) ป.พ.พ.มาตรา 1485 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด สรุป สลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลภายหลังสมรส เป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส (ภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย) ภรรยามีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่ง ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป 061-939-9935 ทนายเบส 091-939-4249 ทนายหนึ่ง 084-444-8952 ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

ผู้เสียหายในคดีอาญาหมายถึงใครบ้าง

0

“ผู้เสียหายในคดีอาญา” ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2(4) หมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดทางอาญาฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงหรือแท้จริง 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยตรงหรือแท้จริง โดยผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงหรือแท้จริง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ (1) ต้องมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น (2) ต้องมีฐานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ...

จุดประสงค์ของการบังคับคดี คืออะไร

0

กระบวนการบังคับคดี EXECUTION PROCEEDING หลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตัดสินคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยปกติในคำิพิพากษาของศาลนั้น ก็จะมีการกำหนดให้ฝ่ายจำเลย หรือฝ่ายที่แพ้คดี ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ เช่น ให้จำเลยคืนเงิน หรือให้ชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ ให้จำเลยออกไปจากบ้าน หรือรื้อถอนสิ่งต่างๆ ออกไปจากที่ดินของคนอื่น เป็นต้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย โดยเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เหตุที่ต้องทำการบังคับคดี ก็เนื่องมาจากการที่จำเลย หรือฝ่ายที่แพ้คดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในเวลาที่กำหนดนั้นเอง ดังนั้นจุดประสงค์ของการบังคับคดี ก็คือการบังคับ หรือการทำให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลนั้นเอง การบังคับคดีนั้น มีขั้นตอนและมีวิธีการที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้วอย่างชัดเจน ดังนั้นฝ่ายที่ชนะคดีจะเข้าไปบังคับให้ฝ่ายที่แพ้คดี ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลด้วยตัวเองไม่ได้ การดำเนินการต่างๆ นั้นจะต้องดำเนินการผ่านเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ซึ่งก็คือ “เจ้าพนักงานบังคับคดี” เท่านั้น การบังคับคดีกับฝ่ายที่แพ้คดีนั้น สามารถทำได้หลายอย่าง แต่จะทำได้อย่างไร แค่ไหนนั้น ก็ต้องกลับไปดูคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นหลักว่า ได้ให้ฝ่ายที่แพ้คดีทำอะไรบ้าง เช่น หากศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้หนี้เป็นเงินให้กับฝ่ายที่ชนะคดี หากปรากฏว่าภายหลังฝ่ายที่แพ้คดีไม่ยอมทำตามที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเอาไว้ การบังคับคดีนั้นก็จะเป็นการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินต่างๆ ของฝ่ายที่แพ้คดี เช่น การอายัดเงินเดือน การอายัดเงินฝากในธนาคาร การยึดเอาที่ดิน...

หนี้สินระหว่างสามีภริยามีอะไรบ้าง

0

เมื่อชายหญิงจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นอกจากเรื่องของการจัดการสินสมรสร่วมกัน , เรื่องสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายแล้ว ยังมีเรื่องของหนี้สินที่หากสามีหรือภริยาไปก่อให้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้นโดยพลการหรือเป็นการส่วนตัว กฎหมายจึงได้ตีกรอบและกำหนดประเภทของหนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งว่าหนี้ชนิดใดที่ถือว่าเป็น "หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา" ที่จะต้องรับผิดร่วมกัน แต่ถ้าไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะนำหลักเรื่องหนี้ร่วมของสามีภริยามาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้ 1.หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ขอให้สังเกตนะครับว่า หนี้ร่วมทั้ง 5 ประการตามข้อนี้ เน้นบุคคลที่อยู่ในครอบครัว เป็นหลัก และจำนวนหนี้ต้องพอสมควรแก่อัตภาพ ฉะนั้น ไม่ว่าสามีหรือภริยาเป็นผู้ไปก่อขึ้นแม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน 2.หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส (สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือซึ่งพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว) เช่น หนี้ค่าจ้างต่อเติมซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส หนี้เงินกู้ยืมมาเพื่อไถ่ถอนบ้านหรือที่ดินที่เป็นสินสมรส ฯลฯ 3.หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน เช่น การเปิดร้านหรือกิจการค้าด้วยกัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในกิจการค้า เช่น ค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เป็นต้น หนี้ตามข้อนี้อาจเกิดขึ้นจากฝ่ายสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ไปก่อขึ้นก็ได้ 4.หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน ถ้าว่ากันตามหลักเบื้องต้นฝ่ายใดไปก่อหนี้ขึ้นโดยลำพังเพื่อประโยชน์ตนเพียงฝ่ายเดียว ก็น่าจะผูกพันเฉพาะฝ่ายที่ไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้น แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (ฎ.๗๖๓๑/๒๕๕๒) คือยอมรับว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ของตนด้วย จึงถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เช่น การลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ที่คู่สมรสของตนเป็นผู้กู้ หรือการให้ความยินยอมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือในการที่คู่สมรสเป็นผู้กู้ในสัญญากู้ เป็นต้น เมื่อเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา กฎหมายได้กำหนดว่า ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน...