กลับรถขณะที่มีรถอื่นตามมาในระยะน้อยกว่า ๑๐๐ เมตร ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2542 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณานายกาหลง ช้อยเชื้อดี กับนายยมหินผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้เรียกนายกาหลงเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 นายยมหินเป็นโจทก์ร่วมที่ 2 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 157 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...
แซงรถในที่ขับคัน ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2541 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 46(4), 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นายม่วง ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 46(4), 78, 157, 160 (ที่ถูก 160 วรรคแรก)เป็นความผิดหลายกรรม เรียงกระทงลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 300อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 1 ปี...
เปลี่ยนช่องทางเดินรถกระชั้นชิด ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐, ๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๔๖, ๑๕๗ จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ นางส้มรณายื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ ๒ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ แต่เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท ลงบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑จำคุก ๕ ปี ยกฟ้องจำเลยที่ ๑ โจทก์และจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่นางส้มรณาร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกับนายมะพลับผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้...
ขับแซงมาแล้วถูกเฉี่ยวชน รถที่ถูกแซงถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2511 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงตายและบาดเจ็บสาหัส ทั้งนี้ โดยจำเลยที่ 1 และ 2 ขับรถแทรกเตอร์และรถยนต์เก๋งมาคนละทางตรงข้ามโดยไม่ขับชิดขอบทางถนนและด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้เกิดการเฉี่ยวชนกันขณะแล่นสวนกันซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมาถึงด้วยความเร็วสูง จึงแล่นเข้าชนรถแทรกเตอร์ซึ่งกำลังเสียหลักขวางถนนอยู่ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในรถแทรกเตอร์ตกจากรถถึงแก่ความตาย 2 คน และบาดเจ็บสาหัส1 คน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 28, 66 และสั่งถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่า พยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และ 2ประมาทส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นประมาท เพราะเป็นเหตุกระทันหัน...
ศาลมีสิทธิสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2544 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 57, 91 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 102, 102(3) ทวิ, 127 ทวิ วรรคสอง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ วรรคสอง และพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย   จำเลยให้การรับสารภาพ   ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57, 91 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ทวิ),...
แจ้งเลขตัวถัง และเลขเครื่องยนต์ผิดพลาก มีผลทำให้สัญญาประกันเป็นโมฆะหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2543 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียนย - 1388 นนทบุรีของโจทก์มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อกลางเดือนกันยายน 2535 นายอัญชัน พนักงานขับรถของโจทก์ได้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันกลับจากจังหวัดอุตรดิตถ์มีสุนัขวิ่งตัดหน้า รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำได้รับความเสียหายโจทก์นำรถยนต์ไปซ่อมโดยจำเลยเป็นผู้ตกลงค่าซ่อมกับผู้ซ่อมเป็นเงิน 80,000บาท แต่เมื่อช่างซ่อมเสร็จแล้ว จำเลยไม่ชำระค่าซ่อมอ้างว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์ซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน ย - 1388 นนทบุรีจากบริษัทโตโยต้านนทบุรีผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แต่ผู้ขายแจ้งหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังแก่ผู้รับประกันภัยรายแรกคลาดเคลื่อนโดยแจ้งหมายเลขของรถคันอื่น เมื่อโจทก์นำรถยนต์มาเอาประกันภัยต่อจำเลยได้นำหลักฐานเดิมมามอบให้จำเลยเป็นเหตุให้ตัวเลขในตารางกรมธรรม์คลาดเคลื่อน โจทก์เพิ่งทราบว่าหมายเลขเครื่องยนต์หมายเลขตัวถังและตัวอักษรนำหน้าหมายเลขทะเบียนคลาดเคลื่อนไปต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5...
การคิดค่าขาดประโยชน์ เริ่มนับจากวันไหน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2540 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียนน-9090 เชียงราย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงินประกัน 80,000 บาท ต่อมาในระหว่างอายุประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-6107 ชุมพร โดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และเจ้าของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-6107 ชุมพร ได้ชำระเงิน50,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนตกลงนำรถยนต์ของโจทก์ไปซ่อมที่อู่ณรงค์การช่างเมื่อซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าซ่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่อาจนำรถยนต์ของโจทก์ออกจากอู่ได้โจทก์ต้องไปเช่ารถยนต์ของบุคคลอื่นมาใช้ระหว่างนั้นด้วยอัตราค่าเช่าวันละ 800 บาท เป็นเวลา 11 เดือน 2 วัน...
โต้เถียงเรื่องค่าเสียหายสูงขึ้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8651/2547 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ตู้ยี่ห้อโตโยต้าไปจากโจทก์ในราคา 419,040 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้องวดละเดือน รวม 36 งวด โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์เพียง 6 งวด แล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมา โจทก์ทวงถามและติดตามยึดรถยนต์คืนมาได้โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 3,000 บาท และนำออกประมูลขายได้ราคา 236,363.64 บาท ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คิดเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์คืนเป็นเวลา 6 เดือน เป็นเงินจำนวน 69,840 บาท ค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่...
ความหมายของอุบัติเหตุตามสัญญาประกันชีวิต ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2505 โจทก์ฟ้องว่า นายทับทิม ได้ประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลยแบบคุ้มครองอุบัติเหตุ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมานายทับทิมถูกงูพิษกัดโดยบังเอิญถึงแก่ความตาย โจทก์ถือว่าเป็นอุบัติเหตุซึ่งจำเลยจะต้องใช้เงินค่าประกันให้โจทก์ซึ่งเป็นภริยาและบุตรขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การว่า การถูกงูพิษกัดตายไม่ใช่อุบัติเหตุตามความหมายในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิต ศาลชั้นต้นเห็นว่า การตายของนายทับทิมเป็นอุบัติเหตุ ให้บริษัทจำเลยใช้เงิน บริษัทจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน บริษัทจำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาข้อ ๖ แห่งสัญญาซึ่งบรรยายความหมายของคำว่าอุบัติเหตุไว้ว่า "ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญ และปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" แล้ว เห็นว่า การที่นายทับทิมถูกงูพิษกัดถึงตายนั้น นายทับทิมได้ตายโดยถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญ และไม่มีผู้ใดมีเจตนากระทำขึ้น จึงนับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของเงื่อนไขการประกันแล้ว ข้อที่จำเลยฎีกา คำว่า "และปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" หมายความว่าต้องมีบุคคลกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา ถ้าไม่มีบุคคลใดกระทำ ก็ไม่ใช่อุบัติเหตุตามความหมายของข้อนี้ นั้นศาลฎีกาเห็นว่า จะแปลเช่นนั้นไม่ได้ เพราะเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีผู้ใดกระทำเลยก็ได้ ซึ่งนับว่าเป็นอุบัติเหตุเหมือนกัน เช่น มีสิ่งใดพลัดตกถูกศีรษะผู้เอาประกันโดยบังเอิญ ทำให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถ้าจะแปลตามที่จำเลยอ้างก็ไม่เป็นอุบัติเหตุ เพราะไม่มีผู้ใดทำให้สิ่งนั้นตกลงมา จึงเห็นได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะมีบุคคลใดกระทำหรือไม่...
ระยะเวลาบอกล้าง โมฆียะกรรมในคดีประกันภัย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2521 ผู้เอาประกันชีวิตระหว่างเดินทางเอาประกันไว้กับบริษัทหนึ่งแล้วขอเลื่อนวันเดินทาง บริษัทยังไม่อนุมัติ กับได้ขอเอาประกันกับอีกบริษัทซึ่งยังไม่ตอบรับ ผู้นั้นเอาประกันกับบริษัทจำเลยอีก ข้อความที่ว่าไม่เคยประกันภัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุกับบริษัทอื่นก่อนเป็นข้อสำคัญที่จำเลยอาจบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา แต่การประกันภัยครั้งนี้เป็นคนละระยะเวลากับครั้งก่อนที่ยังไม่อนุมัติเลื่อนการเดินทางจึงถือไม่ได้ว่าได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทอื่นก่อน การบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 ต้องทำภายใน 1 เดือนหลังจากบริษัททราบเหตุที่ปกปิดข้อความจริง การบอกล้างหลังจากนั้นไม่มีผล สัญญาประกันอุบัติเหตุระหว่างเดินทางโดยเครื่องบินมีเงื่อนไขให้จ่ายเงินในกรณีตายรวมทั้งบาดเจ็บนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้เงินอันอาศัยความมรณะ เป็นประกันชีวิตตาม มาตรา 889 ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน ไม่มีการจ่ายเงินตามลำดับผู้รับประกันภัยก่อนหลัง ตาม มาตรา 870 โจทก์ขวนขวายออกเงินให้ผู้อื่นเอาประกันชีวิตโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ยังไม่พอเป็นข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันชีวิตของผู้อื่นนั้น ถือเป็นการที่ผู้เอาประกันซึ่งมีส่วนได้เสียเอาประกันชีวิตตนเอง