ฟ้องเคลือบคลุมในคดีละเมิด ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ฟ้องเคลือบคลุมในคดีละเมิด ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2524 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถเก๋งคันหมายเลขทะเบียนบ.ร.01501 ในฐานะผู้เช่าซื้อรถคันดังกล่าว โจทก์ใช้เป็นรถรับจ้างรับส่งคนโดยสารโดยนายเขียว เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารคันหมายเลขทะเบียน ข.ก.03560 ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2521 ขณะที่นายเขียวขับรถโจทก์ไปตามทางหลวงสายนครราชสีมา - โชคชัย มุ่งหน้าไปทางจังหวัดนครราชสีมา ด้วยความระมัดระวังครั้นถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 6-7 จำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถของจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังที่นักขับขี่รถอาชีพจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังได้แต่ก็หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้รถจำเลยที่ 2 ชนรถโจทก์จนตกถนนพลิกคว่ำหลายทอด รถโจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 108,500 บาท และค่าเสียหายวันละ 100 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะซ่อมรถโจทก์เสร็จและใช้การได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากเงินค่าเสียหาย 108,500 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ   จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 และขณะเกิดเหตุมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 รถคันหมายเลขทะเบียน...

จำนวนเงินที่ฟ้องรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันเรียกเกินกว่าจำนวนที่รับผิดได้หรือไม่

0

จำนวนเงินที่ฟ้องรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันเรียกเกินกว่าจำนวนที่รับผิดได้หรือไม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ขับรถชนรถของนายทานตะวัน หุยากรณ์ ซึ่งนายดำ เป็นผู้ขับรถของนายทานตะวันเสียหาย รถคันนี้นายทานตะวันได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ ๖๐,๐๐๐ บาท โจทก์จ่ายเงินให้นายทานตะวันแล้ว ๕๕,๐๐๐ บาท โดยนายทานตะวันลดให้ ๕,๐๐๐ บาท โจทก์ต้องซ่อมแซมและขายไปเสื่อมราคาลง รวมโจทก์เสียหาย ๓๐,๐๐๐ บาท จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ๖,๐๐๐ บาท โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้เงิน ๖,๓๐๐ บาท โจทก์จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยได้ขับรถชนรถนายทานตะวันจริง ส่วนเรื่องค่าเสียหายนั้นโจทก์จะเอาเงินค่าประกันมาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายแก่จำเลยไม่ได้ จำเลยทำละเมิดต่อนายทานตะวันเท่าใดก็ต้องรับผิดเท่าที่การละเมิดบังเกิดขึ้นเท่านั้น คดีปรากฎว่าราคารถเหลือ ๔๖,๐๐๐ บาท เมื่อซ่อมแล้วขายได้ ๔๐,๐๐๐ บาท ราคาต่ำไป ๖๐๑๐ บาท กับโจทก์ต้องเสียค่าซ่อมอีก ๖,๓๐๐ บาท จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ๑๒,๓๐๐ บาท

ต้องถูกออกจากราชการ ก่อนกำหนดเพราะ ถูกอุบัติเหตุรถชน ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

0

ต้องถูกออกจากราชการ ก่อนกำหนดเพราะ ถูกอุบัติเหตุรถชน ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2509 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1, 2 ประกอบกิจการค้าในประเภทอุตสาหกรรมทำน้ำอัดลมฯ และเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกสำหรับใช้บรรทุกน้ำอัดลมในกิจการค้าของบริษัทจำเลย จำเลยที่ 3 ในฐานะลูกจ้างและตามทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังอันควรเป็นวิสัยของปกติชน และด้วยความเร็วสูงไม่หยุดรถตามสัญญาณของเจ้าพนักงานตำรวจจราจร เป็นเหตุให้ชนรถสามล้อเครื่องซึ่งหยุดอยู่ตามสัญญาณของเจ้าพนักงานจราจร รถสามล้อเครื่องได้พุ่งเข้าชนโจทก์โดยแรงในขณะที่โจทก์เตรียมตัวจะเดินข้ามถนนในทางข้าม เป็นเหตุให้โจทก์ล้มพาดได้รับบาดเจ็บถึงอันตรายสาหัสและทุพพลภาพ และถูกออกจากราชการ การกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์เสียหายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 270,810 บาท 16 สตางค์ขอให้ศาล บังคับให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ย   จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิด เพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้รับบาดเจ็บจริง มิได้เสียหายตามฟ้องการออกจากงานเป็นเรื่องของโจทก์เอง   จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 1 และสู้ว่าจำเลยเป็นแต่กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว   จำเลยที่ 3 รับว่าขับรถชนสามล้อเครื่องจริง แต่ไม่ได้ถูกตัวโจทก์ โจทก์ล้มไปเอง โจทก์ถูกออกจากราชการ เพราะโจทก์อ่อนแอไม่แข็งแรงอยู่ก่อน ถึงไม่ถูกรถชนก็ต้องออกเพราะลาป่วยบ่อย ๆ โจทก์ไม่ได้รับบาดเจ็บดังฟ้อง และไม่ได้เสียหายจริงดังฟ้อง   ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า โจทก์ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรถที่จำเลยที่ 3 ขับชนรถสามล้อเครื่องจริง แต่โจทก์ไม่พิการทุพพลภาพไปตลอดชีวิตโจทก์ออกจากราชการเพราะโจทก์อ่อนแอไม่แข็งแรงไม่ใช่เพราะการละเมิดของจำเลย ให้จำเลยที่...

การตกลงระงับข้อพิพาทรถชนในบันทึกประจำวัน สามารถทำได้หรือไม่

0

การตกลงระงับข้อพิพาทรถชนในบันทึกประจำวัน สามารถทำได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2540 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขับรถโดยสารประจำทางไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถยนต์ที่โจทก์ขับมาเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 11,308.16 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 10,550 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ   จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์เสียหายไม่เกิน 5,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ตามสำเนาบันทึกประจำวันสถานีตำรวจนครบาลพญาไท เป็นผลให้มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ขอให้ยกฟ้อง   จำเลยที่ 3 ให้การว่า โจทก์เสียหายไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 7,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   จำเลยที่ 2...

หลักประกันภัย ต้องอาศัยความสุจริตของคู่สัญญาหรือไม่

0

หลักประกันภัย ต้องอาศัยความสุจริตของคู่สัญญาหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246-3250/2559 คดีทั้งห้าสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ทุกสำนวนว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และเรียกจำเลยทุกสำนวนว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เรียงตามลำดับ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งห้าสำนวนฟ้องรวมความว่าขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 5,000,000 บาท จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 5,250,000 บาท จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามกรมธรรม์เลขที่ 0/70/04/000719 จำนวน 3,000,000 บาท และจำเลยที่ 5 ชำระเงินตามกรมธรรม์เลขที่ P 701762760 จำนวน 400,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามกรมธรรม์เลขที่ 0/7A/05/000481 จำนวน 500,000 บาท กับตามกรมธรรม์เลขที่ 0/7I/05/000947...

เปลี่ยนช่องทางเดินรถ กระชั้นชิดและขับเร็วถือว่าประมาทหรือไม่

0

เปลี่ยนช่องทางเดินรถ กระชั้นชิดและขับเร็วถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐, ๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๔๖, ๑๕๗ จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ นางส้มรณายื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ ๒ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ แต่เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท ลงบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑จำคุก ๕ ปี ยกฟ้องจำเลยที่ ๑ โจทก์และจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่นางส้มรณาร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกับนายมะพลับผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยที่ ๑ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๔๖, ๑๕๗ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๑ ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก ๕ ปี...

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถ ถือว่าประมาทหรือไม่

0

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถ ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 รวม 1 กระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก จำคุก 2 เดือนและปรับ 2,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือนและปรับ1,000 บาท รอการลงโทษจำคุก 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้เรียงกระทงลงโทษและไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160อีกกระทงหนึ่งจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 เดือนสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา...

นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ไม่แจ้งเหตุ มีความผิดหรือไม่

0

นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ไม่แจ้งเหตุ มีความผิดหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2532 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยสารประจำทางด้วยความประมาท โดยขับด้วยความเร็วสูงและไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยขับเฉี่ยวชนนายเทียนกิ่ง ซึ่งเดินข้ามถนนล้มลงและได้รับอันตรายสาหัสถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เมื่อจำเลยได้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางก่อให้เกิดอันตรายความเสียหายแก่นายเทียนกิ่ง แล้ว จำเลยไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีกลับหลบหนีไปเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเหตุให้นายเทียนกิ่ง ได้รับอันตรายถึงตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑, ๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๔), ๗๘, ๑๖๐, ๑๖๒ และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๔), ๑๕๗ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา ๙๐ ให้จำคุก ๔ ปี และลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๗๘, ๑๖๐ อีกกระทงหนึ่งให้จำคุก ๒ เดือน รวมโทษจำคุก...

ขับรถโดยไม่เว้นช่องระยะห่าง เกิดอุบัติเหตุถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่

0

ขับรถโดยไม่เว้นช่องระยะห่าง เกิดอุบัติเหตุถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2539 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300, 91 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 54, 57, 148, 157, 160 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 27, 30 จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 160 ปรับ 1,200 บาทไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา...

ขับรถล้ำช่องทางจราจร หากเกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่

0

ขับรถล้ำช่องทางจราจร หากเกิดอุบัติเหตุถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2529 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากราชการให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-ภูเก็ต และเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์โดยสารปรับอากาศในธุรกิจรับส่งคนโดยสาร ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 และที่ 1ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์โดยสารในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และในธุรกิจของจำเลยที่ 3 ขับล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้าไปชนรถยนต์ตู้ของโจทก์ที่แล่นสวนทางมาขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มิได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะจำเลยที่ 2 มองเห็นก้อนหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุตเศษขวางถนนอยู่ในระยะกระชั้นชิดจึงหักหลบก้อนหินล้ำเข้ามาในช่องเดินรถของโจทก์ในระยะไกล คนขับรถของโจทก์สามารถชลอความเร็วของรถลง และขับรถหลบไปทางซ้ายมือซึ่งมีไหล่ถนนกว้างถึง 2 เมตร แต่ไม่กระทำจึงเกิดเหตุขึ้น ค่าซ่อมรถของโจทก์ไม่เกิน 20,000 บาท คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 3ให้การด้วยว่ามิได้เป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ตามฟ้องในธุรกิจของจำเลยที่ 3 หรือยินยอมให้รถดังกล่าเข้ามาวิ่งร่วมกับจำเลยขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 111,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ทั้งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ1,500 บาทแทนโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิด ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เสีย โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงิน60,000 บาทแก่โจทก์...