เลี้ยวโดยไม่รอสัญญาณไฟจราจร ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่

0

เลี้ยวโดยไม่รอสัญญาณไฟจราจร ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2535 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 ข้อหาขับรถประมาทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 4 ปี ข้อหาหลบหนีไม่ช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำคุก 2 เดือนเรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 4 ปี 2 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ไปตามถนนพระรามที่ 3 จากสะพานกรุงเทพมุ่งหน้ามาที่สี่แยกสาธุประดิษฐ์และมาจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงอยู่ที่สี่แยกดังกล่าวและตามคำเบิกความของนายยี่หุบ หากผู้ตายขับรถตรงไปก็สามารถทำได้และจะไม่เกิดเหตุชนกันกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยขับเมื่อได้รับสัญญาณไฟจราจรสีเขียว และนายยี่หุบเบิกความยืนยันว่ารถจะเลี้ยวขวาต้องจอดรอสัญญาณไฟจราจรซึ่งเป็นลูกศรสีเขียวก่อนจึงจะเลี้ยวได้การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาในทันทีโดยไม่รอสัญญาณไฟจราจรให้เลี้ยวขวาได้ในขณะที่ทางด้านรถยนต์โดยสารแล่นมามีสัญญาณไฟจราจรสีเขียว จึงเป็นความผิดของผู้ตายเอง จำเลยหาได้ขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทไม่ พิพากษายืน

ขับรถฝ่าฝืนไฟสีเหลืองอำพัน มีความผิดฐานประมาทหรือไม่

0

ขับรถฝ่าฝืนไฟสีเหลืองอำพัน มีความผิดฐานประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2534 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์สาธารณรับจ้างด้วยความเร็วสูงเข้าสู่สี่แยกฝ่า สัญญาณไฟแดงโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับขี่ มีนายดาวเรืองนั่งซ้อนท้ายทำให้นางยี่โถ ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส จำเลยที่ 2ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ 2 ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและขับขี่โดยประมาทฝ่า สัญญาณไฟแดงเจ้าสู่สี่แยกเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ทำให้นางยี่โถ ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300, 91 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43, 157 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 64 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพฐานขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปฏิเสธข้อหาขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 157 ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา...

ขับรถฝ่าฝืนป้ายสัญญาณจราจร ถือว่าประมาทหรือไม่

0

ขับรถฝ่าฝืนป้ายสัญญาณจราจร ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2534 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ซึ่งเอาประกันภัยค้ำจุน ไว้กับบริษัทจำเลยที่ 3 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาท ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ใกล้ถึงทางตัดผ่านทางรถไฟบริเวณที่หยุดรถ จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่กำหนดไว้ให้จำเลยต้องระวังและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเพื่อดูว่ามีรถไฟผ่านหรือไม่ก่อนทั้ง ๆ ที่มีรถยนต์คันอื่นหยุดรถรออยู่ก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 กลับคืนรถยนต์แซงรถยนต์คันที่จอดรอ ข้ามทางรถไฟซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ขบวนรถไฟของโจทก์ลากจูงโดยรถจักรดีเซลกำลังแล่นผ่านทางตอนนั้นพอดี สุดความสามารถที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์จะหยุดขบวนรถไฟได้ทัน จึงชนกับรถยนต์คันดังกล่าว ทำให้รถยนต์ตกไปข้างทางรถไฟ รถจักรดีเซลตกราง 2 ล้อ และได้รับความเสียหาย ทางรถไฟชำรุดเสียหายรถไฟที่ตกรางกีดขวางการเดินรถทำให้ขบวนรถอื่น ๆ เสียเวลา โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันและแทนกันชำระค่าเสียหาย 112,186 บาท ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การว่า ความเสียหายของรถไฟขบวนที่ 349ไม่ได้เกินจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว เป็นเพราะความประมาทของโจทก์ด้วยบริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนกว้างมีทางแยกทางโค้ง โจทก์มีเพียงเครื่องหมายวงกลมบอกให้หยุดรถ โดยไม่มีที่กั้นไม่ให้รถยนต์ผ่านทางรถไฟขณะที่มีรถไฟแล่นผ่าน โจทก์ไม่มีพนักงานคอยดูแลความปลอดภัยและให้สัญญาณว่า เวลาใดรถยนต์แล่นผ่านได้หรือไม่ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ถึงที่เกิดเหตุเป็นทางโค้งมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบไม่อาจมองเห็นสัญญาณหรือรางรถไฟได้ว่าบริเวณดังกล่าวมีรถไฟผ่าน พนักงานของโจทก์เห็นจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุในระยะไกลไม่ได้ให้ความระมัดระวังดูแลความปลอดภัยตามสมควร ไม่หยุดรถไฟทำให้รถไฟชนกับรถยนต์คันที่จำเลยที่...

ขับรถบรรทุกอ้อยล้นท้ายรถ ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่

0

ขับรถบรรทุกอ้อยล้นท้ายรถ ถือว่ากระทำโดยประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2544 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๔), ๗๘, ๑๕๗, ๑๖๐ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑, ๓๐๐ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๔), ๑๕๗ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๐ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ จำคุก ๔ เดือน กับมีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๗๘ (ที่ถูก ๗๘ วรรคหนึ่ง) , ๑๖๐ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่ง จำคุก ๑ เดือน รวมจำคุก ๕ เดือน ข้อหาอื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว...

ขับรถที่ท่อยางเบรคอ่อน ถือว่าประมาทหรือไม่

0

ขับรถที่ท่อยางเบรคอ่อน ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2530 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 6, 43, 78, 148, 157,160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา291, 300 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฏหมายหลายบท ลงโทษบทหนัก จำคุก 4 ปีและมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 6, 43, 78,148, 157, 160 จำคุก 2 เดือน รวม จำคุก 4 ปี 2 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยมีหน้าที่ขับรถประจำรถบรรทุกเทท้ายคันที่เกิดเหตุ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์2525 เวลาประมาณ 16.30 นาฬิกา จำเลยขับรถคันดังกล่าว มีนายชมนาด ลือยศ และคนอื่นอีกหลายคนนั่งมาด้วย เมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางโค้ง รถได้พลิกคว่ำเป็นเหตุให้นายชมนาดถึงแก่ความตายและเด็กชายชบาได้รับอันตรายสาหัส ปัญหามีว่าจำเลยได้ขับรถโดยประมาทหรือไม่...

ประกันวางเงินค่าเสียหายเต็มกรมธรรม์ หลุดพ้นความรับผิดได้หรือไม่

0

ประกันวางเงินค่าเสียหายเต็มกรมธรรม์ หลุดพ้นความรับผิดได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นลูกน้องของจำเลยที่ ๓ กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๓ฝ่ายหนึ่ง ขับรถยนต์ชนกันโดยประมาทเป็นเหตุให้กระบะรถคันที่จำเลยที่ ๑ ขับรถฟาดรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ ๑ ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๔ ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่จำเลยที่ ๑ ขับต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันและแทนกันชดใช้เงินให้โจทก์ ๓๐,๖๗๓.๒๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินจำนวน ๒๘,๗๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ ๑ ฝ่ายเดียว จำเลยที่ ๒ ไม่ใช่ลูกจ้างหรือรับจ้างวานจากจำเลยที่ ๓ จำเลยที่ ๒ ขอยืมรถยนต์ของจำเลยที่ ๓ ไปทำธุรกิจส่วนตัวจำเลยที่ ๓ ไม่ได้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวขณะเกิดเหตุ จึงไม่ต้องรับผิดขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๔ ให้การว่า จำเลยที่ ๔ เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ขณะเกิดเหตุจริง แต่จำเลยที่...

ความหมายของการเกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ความหมายของการเกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2528 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่จำเลย และได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลขับขี่ไม่ระบุนามจำนวน ๑ ที่นั่ง ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้ถึงแก่มรณกรรมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่ได้เกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาประกันภัย รถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้ถูกคนร้ายชิงไป พร้อมทั้งฆ่าผู้ขับขี่ขณะรถยนต์บรรทุกมันเม็ดเพื่อนำส่งที่กรุงเทพมหานคร จำเลยไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้พิพากษาและบังคับจำเลย จำเลยให้การว่า มรณกรรมของผู้ขับขี่รถยนต์โจทก์ที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุตามความหมายแห่งสัญญา แต่เกิดจากการประทุษร้ายจากบุคคลอื่นซึ่งเป็นการฆาตกรรม การที่รถยนต์คันดังกล่าวถูกคนร้ายชิงเอาไปมิใช่เป็นอุบัติเหตุ แต่เป็นการกระทำโดยทุจริตจากคนร้ายที่จะเอารถยนต์คันที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงยังไม่ผิดสัญญาและไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายเรื่องความหมายของกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอกสารหมาย จ.๓ มีข้อความว่า จะใช้บังคับเฉพาะเมื่อผู้ขับขี่ที่ได้รับอนุญาตจากผู้เอาประกันภัยที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ ได้รับอุบัติเหตุในขณะที่กำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้นหรือลงจากรถยนต์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้นซึ่งหมายความว่าผู้ขับขี่ที่ได้รับอุบัติเหตุและมีผลให้ถึงแก่ความตาย ต้องเป็นผู้ที่กำลังขับขี่อยู่บนรถยนต์ในฐานะผู้ขับขี่ และต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์นั้น ข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมามีว่า นายทองหลางผู้ขับขี่รถยนต์ได้ขับรถยนต์โจทก์บรรทุกของจะไปส่งที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างทางที่อำเภอคงได้ถูกคนร้ายชิงรถยนต์ไป โดยคนร้ายได้ฆ่านายทองหลางคนขับถึงแก่ความตายด้วย นายทองหลางถูกฆ่าตายเนื่องจากคนร้ายมีเจตนาลักทรัพย์รถยนต์ของโจทก์ คนร้ายมิได้มีเจตนาฆ่านายทองหลางมาแต่ต้น และนายทองหลางถูกคนร้ายทำร้ายถึงตาย พบศพห่างถนนประมาณ ๗ เส้นตามข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นแก่นายทองหลางเป็นผลโดยตรงหรือเนื่องมาจากลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์นั่นเอง และได้เกิดขึ้นขณะกำลังขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ การที่นายทองหลางผู้ขับขี่รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้ถูกคนร้ายฆ่าชิงเอารถนั้นไปถือเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์หรือไม่ ตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุเอกสารหมาย จ.๓ มิได้ให้คำจำกัดความคำว่า "อุบัติเหตุ" ไว้ จึงต้องถือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งให้ความหมายไว้ว่า เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือความบังเอิญเป็น ดังนี้ การที่รถยนต์ถูกคนร้ายชิงไปดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นอุบัติเหตุซึ่งเกิดขึ้นแก่รถยนต์ของโจทก์ พิพากษายืน. สรุป โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่จำเลย...

ขับรถโดยไม่มีไฟหน้าและไฟเลี้ยว ถูกชนถือว่าประมาทหรือไม่

0

ขับรถโดยไม่มีไฟหน้าและไฟเลี้ยว ถูกชนถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์กระบะด้วยความประมาท จนเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่แล่นสวนทางมา ทำให้นายขาว ผู้ขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว เด็กชายมะหาด ผู้นั่งซ้อนท้ายได้รับอันตรายสาหัส นายมะม่วงผู้นั่งซ้อนท้ายอีกคนหนึ่งได้รับอัตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300, 390, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157   จำเลยให้การปฏิเสธ   ระหว่างพิจารณาเด็กชายมะหาด ผู้เสียหายโดยนายใบเตยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต (ที่ถูกเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390)   ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง   โจทก์ร่วมอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง   ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4), 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี และปรับ 6,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30   โจทก์ร่วมและจำเลยฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...

จอดรถหันหัวย้อนศรแล้วถูกชน ถือว่ามีส่วนประมาทหรือไม่

0

จอดรถหันหัวย้อนศรแล้วถูกชน ถือว่ามีส่วนประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒มาตรา ๕๔,๑๔๘ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔, ๑๔๘ ให้ปรับจำเลย๒๐๐ บาท ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคสอง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้นำรถยนต์หมายเลขทะเบียน ๒ ค -๔๗๒๓ กรุงเทพมหานคร ไปจอดไว้ในซอยกว้างประมาณ ๕ เมตร ทางด้านขวาของทางเดินรถของจำเลย โดยไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางในระยะห่างไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร และวินิจฉัยว่าที่จำเลยฎีกาว่าบริเวณที่จอดรถ คันเกิดเหตุไม่มีขอบทางเพราะริมทางเดินรถมีรั้วสังกะสี และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดโดยฟังหรืออาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์แล้วมิได้พิจารณาพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบแก้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณานั้นเห็นว่า ฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และวินิจฉัยต่อมาว่าความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคสอง บัญญัติว่า ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ด้านซ้ายสุุด ของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องทางเดินรถประจำทางนั้นเห็นว่า การที่จำเลยจอดรถชิดของทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอยที่เกิดเหตุ เป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรจึงเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การตีความและปรับบทลงโทษของศาลล่างทั้งต้องตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย...

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถคันอื่น ถือว่าประมาทหรือไม่

0

เลี้ยวขวาตัดหน้ารถคันอื่น ถือว่าประมาทหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531ฃ45 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 รวม 1 กระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก จำคุก 2 เดือนและปรับ 2,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือนและปรับ1,000 บาท รอการลงโทษจำคุก 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้เรียงกระทงลงโทษและไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160อีกกระทงหนึ่งจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 เดือนสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา...