ผิดสัญญาด้วยเหตุอย่างอื่นในคดีประกันภัย ศาลฎีกาวางอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2565 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชําระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จําเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2...
บริษัทประกันภัยสามารถเขียนสัญญาให้รับผิดโดยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างเดียวได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2565 กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 3.1.7 มีข้อความว่า กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยและเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยจะอ้างข้อสัญญาดังกล่าวเพื่อจำกัดความรับผิดของตนเองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นจึงมีได้เพียงสองกรณีคือ (1) ผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือ (2) ไม่มีผู้ใดต้องรับผิดต่อผู้ขับขี่ในอุบัติเหตุนั้น เมื่อพิจารณาคู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหน้า 8 ข้อ 3.3 ใน2) ได้ยกตัวอย่างอธิบายความหมายของข้อความที่ว่า “ไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่นั้น เช่น ถูกรถอื่นชนเป็นเหตุให้ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่รถที่มาชนนั้นหลบหนีไปไม่สามารถติดตามหรือทราบได้ว่าผู้ใดเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย” ทำให้เห็นว่าข้อความดังกล่าวมุ่งเฉพาะกรณีไม่ทราบตัวผู้ที่ต้องรับผิด แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าท. ผู้ตายและเป็นผู้ประสบภัยซึ่งขับรถจักรยานยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยมิได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และมีผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ตายคือ น. ผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย เพียงแต่ น.ถึงแก่ความตายไปก่อนถูกดำเนินคดีอาญา หาใช่เป็นกรณีไม่มีผู้ใดต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัยดังที่จำเลยอ้างไม่ จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะรับผิดเพียงไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.1.7
เมาแล้วขับ และขับรถหวาดเสียวมีโอกาสก่อให้เกิดอันตราย ศาลมีโอกาสไม่รอการลงโทษหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2542 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90, 91, 138 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43, 157, 160 และนับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 29/2541 ของศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(2)(4), 157 ให้เรียงกระทงลงโทษฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน จำคุก 4 เดือน ฐานขับรถในขณะเมาสุราปรับ 500 บาท ฐานขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียว ปรับ 500 บาทรวมจำคุก 4 เดือน...
ความผิดตามพรบ.จราจรทางบก ผู้เสียหายสามารถอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2565 ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรงจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับพิจารณาในข้อหานี้โดยกำหนดโทษใหม่เป็นจำคุก 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43...
ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอร์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ มีความผิดฐานใดบ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2565 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291, 368 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 142, 157, 160 ตรี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291, 368 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) (4), 142 (2) วรรคสี่ (ที่ถูก 142 วรรคสอง, 154 (3)), 157, 160 ตรี วรรคหนึ่ง...
ต่างฝ่ายต่างประมาท ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือไม่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยที่ 1 ขอให้หมายเรียกนาย ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การขอให้ยกคำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 654,631 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่...
ความผิดตามพรบ.จราจรทางบก สามารถยื่นคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2555 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 39, 40, 43, 151, 157 จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณานายวีระพันธุ์ เจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต 999 บุรีรัมย์ ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 57,550 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 จนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 39, 40, 43...
ผู้เสียหายโดยนิตินัย ในคดีละเมิด ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นายเปิมและนางทิพวัลย์ บิดาและมารดาของนางสาวยุพาพร ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และให้เรียกนายเปิมว่า โจทก์ร่วมที่ 1 กับเรียกนางทิพวัลย์ว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จำคุก 2 ปี และปรับ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 คุมความประพฤติของจำเลย โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 4 เดือน ภายในกำหนด 1 ปีแรก ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่จำเลยและพนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด...
ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2523 โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด โดยจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถโดยความประมาทด้วยกันให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 3,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 250 บาท ซึ่งเป็นกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมด ส่วนโจทก์ที่ 1กับจำเลยที่ 2 เจ้าของรถไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ยกฟ้องโจทก์ที่ 1กับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2มีส่วนประมาทด้วย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับโจทก์ที่...
ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของนายจ้าง ในพฤติการณ์ไม่ขาดตอนไว้อย่างไร ความรับผิดของนายจ้างในการที่ลูกจ้างกระทำละเมิด ประเด็นหลัก: ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดที่เกิดจากลูกจ้าง หากเราพูดถึงความรับผิดในสถานการณ์ที่ลูกจ้างกระทำละเมิด ไม่ว่าจะเป็นกระทำที่ผิดกฎหมายหรือเสียหายต่อบุคคลภายนอก เรื่องของความรับผิดของนายจ้างก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องความรับผิดของนายจ้างในการที่ลูกจ้างกระทำละเมิดกัน หลักความรับผิดของนายจ้างตามกฎหมาย ในกฎหมายของบางประเทศ นายจ้างอาจต้องรับผิดชอบต่อความผิดที่ลูกจ้างกระทำในระหว่างการปฏิบัติงาน นายจ้างอาจถูกถือว่ามีความผิดก็ต่อเมื่อมีหลักฐานแสดงว่านายจ้างเป็นผู้สนับสนุนหรือยินยอมให้ลูกจ้างกระทำความผิด ในกรณีนี้ นายจ้างจะต้องรับผิดชอบตามความผิดของลูกจ้าง ความรับผิดตามหลักการของ "วิกฤติการณ์ที่ควบคุมได้" นายจ้างอาจต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของลูกจ้างในกรณีที่เกิดวิกฤติการณ์ที่ควบคุมได้ หากนายจ้างไม่ได้ให้คำแนะนำ ควบคุม ศาลฎีกาวางหลักในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2563 โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสอง 1,190,000 บาท และชำระค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 47,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 500,000 บาท และค่าปลงศพกับค่ารักษาพยาบาลรวม...