การกระทำเกี่ยวเนื่องกับการประมาทครั้งแรก ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

การกระทำเกี่ยวเนื่องกับการประมาทครั้งแรก ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2532 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์ ภู่ภักดี มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ โจทก์ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถเก็บขยะ จำเลยที่ 2 เป็นเพื่อนของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 จำเลยที่ 1 ได้ใช้ให้จำเลยที่ 2ขับรถขนขยะหมายเลขทะเบียน 7น-2523 ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาทของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถขนขยะชนท้ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 6ข-3103 ของร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์ที่ขับขี่มาได้รับความเสียหายแล้วจำเลยที่ 2 ได้ขับรถขนขยหลบหนี ร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์ขับรถติดตามไปทันขณะรถขนขยะที่จำเลยที่ 2 ขับจอดติดสัญญาณไฟแดงอยู่ ร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์จึงจอดรถและลงไปยังรถขนขยะบอกให้จำเลยที่ 2 มาตกลงเรื่องค่าเสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงจากรถมาตกลงด้วย กลับจะขับรถหลบหนีไปอีก ร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์จึงกระโดดเกาะรถขนขยะที่บริเวณประตูด้านขวา จำเลยที่ 2 ได้ขับรถขนขยะกระชากเพื่อให้ร้อยตำรวจเอกทรงศักดิ์หลุดพ้นจากการที่เกาะรถขนขยะที่จำเลยที่ 2 ขับอยู่...

ลูกจ้างขับรถนอกเวลาราชการแต่มีการขออนุญาต นายจ้างต้องรับผิดหรือไม่

0

ลูกจ้างขับรถนอกเวลาราชการแต่มีการขออนุญาต นายจ้างต้องรับผิดหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15199 - 15200/2558 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างพนักงานของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ ก.ท.ม. 6861 ของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาท ชนรถยนต์ ก.ท.ง. 6534 ของโจทก์เสียหายใช้การไม่ได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การว่า รถ ก.ท.ม. 6861 เป็นของจำเลยที่ 2 จริงแต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์ มีหน้าที่ส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ให้แก่ประชาชนไม่ใช่พนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 รถ ก.ท.ม 6861 ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขจัดเป็นรถรับส่งข้าราชการของจำเลยที่ 2 เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนเกี่ยวกับการเดินทางไปและกลับจากทำงาน โดยเก็บเงินจากผู้โดยสารเป็นรายเดือน เพื่อเป็นเงินค่าจ้างจำเลยที่ 1ให้เป็นคนขับนอกเวลาราชการ ไม่ใช่การปฏิบัติราชการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 การจัดรถรับส่งผู้โดยสารเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์20,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะใช้เงินเสร็จ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา ฎีกาที่ว่า การจัดสวัสดิการ จัดรถรับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข...

โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างได้หรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างได้หรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15199 - 15200/2558 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาและพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 296/2551 เข้ากับคดีหมายเลขดำที่ 2089/2550 โดยให้เรียกโจทก์ในสำนวนแรกซึ่งเป็นผู้ร้องในสำนวนหลังว่าโจทก์ เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในสำนวนแรกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ตามลำดับ และให้เรียกจำเลยในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 6 โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2,845,039 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งหกขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 6 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 547,447.89 บาท โดยให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดในวงเงิน 113,354 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่...

อำนาจยึดรถของเจ้าพนักงานกรณีหลบหนีหรือไม่แสดงตัวหลังเกิดเหตุ

0

อำนาจยึดรถของเจ้าพนักงานกรณีหลบหนีหรือไม่แสดงตัวหลังเกิดเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารปรับอากาศประเภททัวร์คันหมายเลขทะเบียน 10-0805นครสวรรค์ จำเลยที่ 1 เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นกรมในรัฐบาลจำเลยที่ 2 ในฐานะดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ตำรวจทางหลวงประตูน้ำพระอินทร์ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองและบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสืบสวนและสอบสวนคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ของตนที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งกับทั้งมีอำนาจปกครองดูแลเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาตลอดจนปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎข้อบังคับและตัวบทกฎหมายในหน่วยงานหรือส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย เมื่อคืนวันที่ 1 มกราคม2526 คนขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศประเภททัวร์คันหมายเลขทะเบียน 10-0805 นครสวรรค์ ของโจทก์บรรทุกผู้โดยสารออกจากสถานีเดินรถขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าจะไปส่งผู้โดยสารที่จังหวัดลำปางไปตามถนนสายเอเซีย เมื่อขับไปอีกประมาณ 3-4 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา รถของโจทก์ได้แซงรถยนต์บรรทุกคันที่แล่นอยู่ข้างหน้าจนพ้นแล้วแล่นเข้าอยู่ในช่องทางเดินรถปกติ มีรถยนต์บรรทุกแก๊สคันหมายเลขทะเบียน 70-0209 กรุงเทพมหานคร (ที่ถูกหมายเลขทะเบียน70-0221 กาญจนบุรี) แล่นสวนมาด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและแล่นเดินทางเข้ามาเฉี่ยวตอนท้ายรถของโจทก์ เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกแก๊สเสียหลักพุ่งเข้าชนรถยนต์บรรทุกคันหมายเลขทะเบียน 10-1281 กรุงเทพมหานคร (ที่ถูกเป็นรถยนต์โดยสารปรับอากาศประเภททัวร์หมายเลขทะเบียน 10-1281 กรุงเทพมหานคร) ซึ่งแล่นตามหลังรถของโจทก์มา จำเลยที่ 2 ในฐานะสารวัตรใหญ่ตำรวจทางหลวงประตูน้ำพระอินทร์ไปนำเอารถยนต์ที่ชนกันรวมทั้งรถของโจทก์ไปเก็บไว้ที่สถานีตำรวจทางหลวงประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์มีหนังสือขอรถของโจทก์คืน จำเลยที่ 2 ไม่ยอมคืนอ้างว่าโจทก์ยังมิได้มีการตกลงเรื่องค่าเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ยึดหน่วงรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจจะกระทำได้ เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำละเมิดต่อกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย...

คำฟ้องไมได้บรรยายว่าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส ครบองค์ประกอบหรือไม่

0

คำฟ้องไมได้บรรยายว่าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7514/2541 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91, 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157, 160ความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 3 เดือน ความผิดฐานหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้เสียหายและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้เคียงทันทีให้จำคุก 3 เดือน รวมให้จำคุก 6 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4), 157 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2538 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา นายอนุชิต...

หน้าที่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

  หน้าที่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7514/2541 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91, 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157, 160ความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 3 เดือน ความผิดฐานหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้เสียหายและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้เคียงทันทีให้จำคุก 3 เดือน รวมให้จำคุก 6 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4), 157 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2538 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา...

ผู้ขับขี่เสพฝิ่น ผิดตามพรบ.จรจรทางบกหรือไม่

0

  ผู้ขับขี่เสพฝิ่น ผิดตามพรบ.จรจรทางบกหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 58, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 58, 91 จำคุก 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี และให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...

สิทธิเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันที่ขับ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

สิทธิเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันที่ขับ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 103,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 65,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 14 กันยายน 2550 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบุตรของนายมณเฑียร ผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน ษจ 2568 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 3...

ความผิดและความประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างช่วงหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ความผิดและความประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างช่วงหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2564 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 980,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 980,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดเป็นเงิน 600,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 รับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 25,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค...

คำขอเอาประกันภัย ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยหรือไม่

0

คำขอเอาประกันภัย ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2564 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 6,352,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 ) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับยกเว้นนั้นให้จำเลยที่ 2 นำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยทุกประเภท โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่...