ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยในคดีประกันภัย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือไม่

0

ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยในคดีประกันภัย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2564 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 42,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 40,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 40,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561) ต้องไม่เกิน 1,500 บาท ตามที่โจทก์ขอ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า โจทก์รับประกันภัยการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 5 กอ กรุงเทพมหานคร 2061 ไว้จากบริษัท ก. และ/หรือนางสาววรรณศิลป์ ผู้เอาประกันภัย ระยะเวลาเริ่มต้นวันที่ 27 ตุลาคม 2559 เวลา 12 นาฬิกา สิ้นสุดวันที่ 27 ตุลาคม...

ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย ในความผิดคดีอาญาที่เกิดจากการฉ้อโกง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย ในความผิดคดีอาญาที่เกิดจากการฉ้อโกง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 290,862 บาท และร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์นับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือชดใช้ราคาแทน จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเงินจำนวน 141,024 บาท แก่จำเลยที่ 1โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง ก่อนสืบพยาน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งเรียกบริษัท อ. เข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 280,000 บาท ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองและยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างคู่ความทุกฝ่ายให้เป็นพับ จำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 220,000 บาท แก่โจทก์ โดยไม่ต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่...

ความหมายของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ความหมายของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2565 ข้อตกลงในสัญญาใดจะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม ว่าเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงจะคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาใบสมัครเอาประกันภัยที่โจทก์ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอสมัครเอาประกันภัยไว้ทุกแผ่น จะเห็นได้ว่ามีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรไว้หลายที่ โดยเฉพาะในแผ่นที่ 2 จะมีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่าทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรพิมพ์อยู่เหนือบริเวณโจทก์ลงลายมือชื่อและโจทก์ไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าโจทก์ไม่ทราบข้อความดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า โจทก์ทราบถึงเงื่อนไขความรับผิดของจำเลยในกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพในระหว่างอายุสัญญาประกันชีวิตแล้ว หากโจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวทำให้เสียเปรียบเกินสมควรโจทก์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่เข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยและเลือกทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยที่โจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยเป็นประโยชน์แก่โจทก์สูงสุด โจทก์จึงไม่ได้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือจำยอมก่อนที่จะเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลย เมื่อโจทก์สมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยก็เท่ากับโจทก์ตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของจำเลยจากกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพตามสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่โจทก์ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่จะตกเป็นโมฆะสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกัน ให้คำจำกัดความของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวร หมายถึง ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้หรือกรณีดังต่อไปนี้ ตาบอดทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือข้างใดข้างหนึ่งและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ตาบอดข้างใดข้างหนึ่งและการตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อได้ความตามใบรับรองแพทย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2560 นายแพทย์ ว. แพทย์ผู้ทำการรักษาโจทก์บันทึกไว้ในใบรับรองแพทย์ว่า โจทก์ต้องพักฟื้นรักษาตัวมีกำหนดสามเดือน นับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้น ยังต้องทำกายภาพบำบัดและรอเวลาใส่ขาเทียม อีก 3 ถึง 6 เดือน เห็นได้ว่าเป็นกรณีโจทก์ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ...

ค่าขาดไร้อุปการะศาลสามารถกำหนดให้ชำระเป็นรายเดือนได้หรือไม่

0

ค่าขาดไร้อุปการะศาลสามารถกำหนดให้ชำระเป็นรายเดือนได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยที่ 1 ขอให้หมายเรียกนาย ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การขอให้ยกคำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 654,631 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 55,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและระยะเวลาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นมารดานางสาวณัฐรัตน์ ผู้ตาย เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งหมด จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์...

นิยามความหมายของสัญญาประกันภัย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

นิยามความหมายของสัญญาประกันภัย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2565 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชําระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จําเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจําเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งจําเลยที่ 2 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น จึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัยซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ในลักษณะ 20 หมวด 2 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง คือ...

อายุความฟ้องคดีประกันวินาศภัย มีอายุความกี่ปี

0

อายุความฟ้องคดีประกันวินาศภัย มีอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2565 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,070,684.93 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษตามกฎหมายและค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน 1,000,000 บาท จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ จำเลยฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 โจทก์ทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับจำเลย โดยมีจำเลยเป็นผู้รับประกันภัย และมีโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย ระยะเวลาเอาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 5 มิถุนายน 2556 สิ้นสุดวันที่ 5 มิถุนายน 2557 มีเงื่อนไขในการคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือสายตาโดยถาวรสิ้นเชิง หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุทั่วไป เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลาประมาณ 3 นาฬิกา โจทก์ลื่นล้มในห้องน้ำเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ วันที่ 23 ธันวาคม 2558...

รถเกิดอุบัติเหตุผู้เช่าซื้อมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือไม่

0

รถเกิดอุบัติเหตุผู้เช่าซื้อมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9489/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังนี้ ก. ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องนำรถโดยสารไปซ่อมคิดเป็นเงินทั้งสิ้นตามบัญชีใบประเมินราคาการซ่อม 284,862.14 บาท ซึ่งปรากฏตามภาพถ่ายความเสียหายของรถท้ายฟ้องหมายเลข 2 และใบประเมินราคา ข. ค่าขาดรายได้จากการขับรถโดยสารเดือนละ 12,000 บาท กับค่าเช่าซื้อรถโดยสารเดือนละ 7,300 บาท นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องขอคิดเพียง 15 เดือน คิดเป็นเงิน 289,500 บาท และ ค. ค่าเสื่อมราคารถโดยสาร 80,000 บาท รวม 654,362.14 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 654,362 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัทอาร์.เอส.ที. อินเตอร์ทรานส์จำกัด และบริษัทคูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เข้าเป็นจำเลยร่วม โดยแสดงเหตุว่าบริษัทอาร์.เอส.ที.อินเตอร์ทรานส์ จำกัด เป็นนายจ้างของจำเลยซึ่งขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้าง และบริษัทคูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต โดยให้เรียกว่าจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยร่วมที่ 1...

ตัวแทนบริษัทยักยอกเบี้ยประกัน บริษัทต้องรับผิดด้วยหรือไม่

0

ตัวแทนบริษัทยักยอกเบี้ยประกัน บริษัทต้องรับผิดด้วยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2565 จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปติดต่อกับครอบครัวของโจทก์ทั้งสอง จนครอบครัวโจทก์ทั้งสองทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รวม 9 ฉบับ โดยจำเลยที่ 2 กับสมาชิกในทีมดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองกับครอบครัวทำใบคำขอเอาประกันชีวิตยื่นต่อจำเลยที่ 1 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ออกใบรับเงินชั่วคราวแทนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้นำกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 9 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ออกให้ มามอบให้แก่โจทก์ทั้งสองและครอบครัว เมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งแก่โจทก์ทั้งสองว่า สามารถเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ใหม่ ทุนประกันเท่าเดิม แต่จะได้รับความคุ้มครองที่ดีกว่าเดิม ย่อมเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ทั้งสองเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และถือได้ว่าเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจตัวแทนประกันชีวิตที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย แม้การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว พนักงานอัยการจะฟ้องเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความด้วย ทั้งการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวในฐานะที่เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 หรือไม่...

ใบคำขอเอาประกันภัยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยหรือไม่

0

ใบคำขอเอาประกันภัยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2565 โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 10,850,770 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 10,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น นาง ก. ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ส. ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 10,850,770 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 10,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องสอด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 นำเงินค่าสินไหมทดแทน 10,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 วางไว้ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยที่ 2 มาวางต่อศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การแก้คำร้องสอด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 10,850,770 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน...

ข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ในสัญญาประกันภัย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือไม่

0

ข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ในสัญญาประกันภัย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2565 ข้อตกลงในสัญญาใดจะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม ว่าเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงจะคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาใบสมัครเอาประกันภัยที่โจทก์ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอสมัครเอาประกันภัยไว้ทุกแผ่น จะเห็นได้ว่ามีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรไว้หลายที่ โดยเฉพาะในแผ่นที่ 2 จะมีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่าทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรพิมพ์อยู่เหนือบริเวณโจทก์ลงลายมือชื่อและโจทก์ไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าโจทก์ไม่ทราบข้อความดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า โจทก์ทราบถึงเงื่อนไขความรับผิดของจำเลยในกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพในระหว่างอายุสัญญาประกันชีวิตแล้ว หากโจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวทำให้เสียเปรียบเกินสมควรโจทก์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่เข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยและเลือกทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยที่โจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยเป็นประโยชน์แก่โจทก์สูงสุด โจทก์จึงไม่ได้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือจำยอมก่อนที่จะเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลย เมื่อโจทก์สมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยก็เท่ากับโจทก์ตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของจำเลยจากกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพตามสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่โจทก์ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่จะตกเป็นโมฆะสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกัน ให้คำจำกัดความของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวร หมายถึง ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้หรือกรณีดังต่อไปนี้ ตาบอดทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือข้างใดข้างหนึ่งและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ตาบอดข้างใดข้างหนึ่งและการตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อได้ความตามใบรับรองแพทย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2560 นายแพทย์ ว. แพทย์ผู้ทำการรักษาโจทก์บันทึกไว้ในใบรับรองแพทย์ว่า โจทก์ต้องพักฟื้นรักษาตัวมีกำหนดสามเดือน นับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้น ยังต้องทำกายภาพบำบัดและรอเวลาใส่ขาเทียม อีก 3 ถึง 6 เดือน เห็นได้ว่าเป็นกรณีโจทก์ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด...